ดนตรีในวัฒนธรรมพม่า ประวัติ

ประเทศไทยกับประเทศพม่า หรือเมียนมาในปัจจุบัน เป็นเพื่อนบ้านกันมาช้านาน ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่เราส่วนใหญ่รับรู้กันมักเป็นเรื่องของ “การศึกสงคราม” แต่ในส่วนน้อยที่ไม่ค่อยมีผู้กล่าวถึงนัก ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมด้วย ยิ่งจำแนกลึกลงไปในส่วนของ “นาฏกรรม” ก็จะพบว่ามีส่วนคล้ายกันเลยทีเดียว

สิทธิพร เนตรนิยม นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย มหาวิทยาลัยมหิดล ค้นคว้าเอกสารไทยและพม่าเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว แล้วเรียบเรียงเป็น บทความ “ความสัมพันธ์ทางนาฏกรรมไทย-พม่า ระหว่างช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 25” (ศิลปวัฒนธรรม, มกราคม 2561) ซึ่งขอเก็บความบางส่วนมานำเสนอ

ในพระนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพม่าของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่าประวัติศาสตร์การสงครามเป็นเหตุนำมาซึ่งความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ความว่า

“…ยิ่งพิจารณาก็ยิ่งพิศวง ด้วยธรรมเนียมในราชสำนักพม่า ดูคล้ายกันกับขนบธรรมเนียมไทยแต่โบราณมาก พม่ากับไทยได้แบบวัฒนธรรมมาจากอินเดียด้วยกันแต่ดึกดำบรรพ์ก็จริง แต่ข้อนี้จะทำให้เหมือนกันได้เพียงโครงการ ส่วนรายการที่มาเพิ่มขึ้นหรือมาแก้ไขในเมืองไทยกับเมืองพม่าจะเผอิญเหมือนกันด้วยต่างคิดไปโดนกันเข้า ยากที่จะเป็นได้ มิใครก็ใครคงเอาอย่างกันจึงจะเหมือนกัน…

เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองตีได้กรุงศรีอยุธยาปรากฏว่าข้าราชการไทยไปเมือง หงสาวดีด้วยมาก และต่อมาเมื่อถึงครั้งพระเจ้ามังระครองกรุงอังวะ พม่าได้ตีพระนครศรีอยุธยาก็กวาดต้อนเอาไทยทุกชั้นบรรดาศักดิ์ไปเป็นอันมากอีกครั้งหนึ่ง น่าจะได้ขนบธรรมเนียมไทยไปใน 2 ยุคนี้ เลือกเอาไปเพิ่มใช้เป็นธรรมเนียมพม่า จึงละม้ายคล้ายคลึงกันนักแม้จนทุกวันนี้พม่าก็ยังนับถือแบบอย่างต่างๆ ของไทยอยู่แพร่หลาย เรียกกันว่า ‘แบบโยเดีย’…”

ขณะที่เอกสารฝ่ายพม่า ก็มีมุมมองในลักษณะเดียวกัน พงศาวดารฉบับหอแก้ว (หม่านนานยาซะวิน) เขียนขึ้นในช่วง พ.ศ. 2372 ได้กล่าวถึงการกวาดต้อนช่างฝีมือและศิลปินชาวอยุธยาไปยังพม่าในสมัยพระเจ้าบุเรงนองว่า “ในเมืองอยุธยามี…ช่างทองเหลือง ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างสลัก…นักดนตรี นักแสดง…ทรงเลือกเอาผู้ชำนาญงานพิเศษเหล่านั้น พร้อมทั้งครอบครัวส่งไปยังกรุงหงสาวดีพร้อมทั้งพระราชทานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสมให้ในราชธานีของพระองค์”

พงศาวดารฉบับราชวงศ์คองบอง (กุนภองแซะก์มหายาซะวิน) เขียนขึ้นในช่วง พ.ศ. 2448 ก็ได้กล่าวถึงผลของสงครามในสมัยพระเจ้ามังระที่พม่าได้นำเข้ามาซึ่งศิลปินจากอยุธยา ความว่า “…พระมเหสี โอรส ธิดา พระราชวงศ์ เหล่าเสนาอำมาตย์ คหบดี ผู้ชำนาญการแสดง ฟ้อนรำบรรเลง สถาปนิก ช่างไม้ ช่างแกะ ช่างทอง…”

เอกสารพม่าทั้ง 2 ฉบับยังเป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการพม่ารุ่นหลังๆ ที่ศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับพม่าที่ตั้งอยู่บนปรากฏการณ์ของสงครามอยู่ตลอดมา และพอจะประมวลได้ว่า แนวคิดข้างต้นจากเอกสารไทย-พม่า เป็นมูลเหตุของความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมระหว่างไทยและพม่าที่ปรากฏในงานนาฏกรรมของกันและกันอยู่ตลอดมา

ยุคแรกแห่งความสัมพันธ์ทางนาฏกรรมจากสงครามเสียกรุงฯ ครั้งสุดท้าย พ.ศ. 2310 ปรากฏหลักฐานในเอกสารพม่ากล่าวถึงเชลยสงคราม ได้แก่ พระราชวงศ์ ข้าราชการ และศิลปินสาขาต่างๆ ที่ถูกกวาดต้อนไปยังกรุงอังวะ และการแสดงมหรสพซึ่งนักแสดงจากอยุธยาก็ได้เข้าร่วมในการฉลองชัยชนะครั้งนี้ให้กับกองทัพพม่าด้วย ความว่า

“…เมื่อกษัตริย์กับทั้งข้าราชบริพารได้ชัยชนะต่อแผ่นดินโยธยาอันกว้างใหญ่อันเป็นรัฐโยนกะ อยุชจยะแล้ว กองทัพอันยกมาแต่ทวายรวมห้าสิบแปดทัพ กองทัพอันยกมาแต่เชียงใหม่รวมเจ็ดสิบเอ็ดทัพ รวมสองทัพได้หนึ่งร้อยยี่สิบเก้า ทั้งหมดล้วนอึงอลไปด้วยการร้องรำของพม่า การร้องรำของมอญ การร้องรำของทวาย การร้องรำของตะนาวศรี การร้องรำของไท

วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏกรรมของชาวโยธยาที่พม่าเรียกว่า “โยดะยาซายง์”ได้ปรากฏหลักฐานภาพวาดอยู่ในสมุดข่อยสมัยราชวงศ์คองบองตอนปลาย ซึ่งให้ภาพที่สอดคล้องกับ “โลกมหรสพเมียนม่า” บันทึกของเจ้ากรมมหรสพอูนุกล่าวว่าประกอบด้วยเครื่องดนตรี 7 ชิ้น ได้แก่ “…ฆ้องวงวางราบ ลูกฆ้อง 12 ลูก กลองบงเด้าก์ ตะโพน กลองสี่ญ์โต่ ฉิ่ง ไม้ตะขาบ ปี่หกรูไม่มีลำโพงเลาปี่ป่องกลางดั่งกลองพราหมณ์…”

ข้อมูลข้างต้นแสดงถึงร่องรอยการผสมวงปี่พาทย์ตามแบบแผนอยุธยาตอนปลายได้ เช่น ลักษณะของฆ้องวงที่กำหนดจำนวนไว้ที่ 12 ลูก สอดคล้องกับภาพจำหลักบนฝาตู้พระธรรมสมัยอยุธยา ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และภาพฆ้องวงที่ปรากฏอยู่ในบึนทึกของลาลูแบร์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

นอกจากนี้ตะโพน ฉิ่ง และปี่หกรูตัวเลาป่องกลางซึ่งน่าจะได้แก่ปี่นอกหรือปี่ใน ทั้งหมดยังคงปรากฏอยู่ในวงปี่พาทย์ของไทยมาจนปัจจุบันนี้ ส่วนกลอง “สี่ญ์โต่” คือกลองสองหน้าที่มีรูปทรงอย่างกลองตะโพนของไทยกับกลอง “บงเด้าก์” มีหุ่นกลองทรงกระบอกสั้นๆ นั้นน่าจะเป็นร่องรอยของกลองทัดที่ใช้ในวงปี่พาทย์ของไทย

เมียนจี (2542) กล่าวว่าความต้องการของราชสำนักในเรื่องความหมายของการแสดงตามแบบโยธยาได้สำเร็จผลขึ้นในรัชกาลพระเจ้าปะดุงช่วง พ.ศ. 2332 นี้เอง ด้วยการแปลคำร้องเหล่านั้นออกเป็นภาษาพม่าโดยใช้ทำนองเพลงสำเนียงไทยที่พม่าเรียกว่า “เพลงโยธยา”

เพลงสำเนียงไทยที่เรียกว่า “เพลงโยธยา” ในวัฒนธรรมการดนตรีแบบประเพณีของพม่านั้นมีเพลงหลักจำนวน 8-12 เพลง ได้แก่ 1. พหยั่นติ่ง 2. ค่ะโหม่น 3. ค่ะเมง 4. ท่ะหน่าวก์ 5. พยิงชา 6. ท่ะโต้น 7. ชูด ชหยั่น 8. งุงิ๊ด 9. ฉู่ฉหย่า 10. ก่ะบี่ 11. อะเลเมะ 12. มโห่ตี ซึ่งทั้งหมดพม่ากล่าวว่าเป็นภาษาไทย ชื่อทำนองเพลงเหล่านี้ได้ถูกกลบเกลื่อนโดยใช้ประโยคขึ้นต้นของบทประพันธ์ภาษาพม่าใส่แทน เช่น เพลงค่ะเมง ก็กลายเป็น ตอต่าวง์ซเวย์ ซึ่งแปลว่า หนทางข้างหน้าเป็นป่าเขา เป็นต้น

ช่วงเวลาแห่งความเจริญทางด้านการดนตรีและนาฏศิลป์ของราชสำนักพม่าที่กล่าวมาข้างต้นเป็นช่วงระยะเวลาที่ร่วมสมัยกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2325-67) ต่อเนื่องไปถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-94) ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาที่ศิลปะการดนตรีและการแสดงของไทยมีการปรับปรุงและพัฒนาเช่นเดียวกัน เช่น มีการประดิษฐ์กลองสองหน้าขึ้นเพื่อใช้กำกับจังหวะในวงดนตรีดังกล่าว ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปลักษณ์และซุ่มเสียงของกลองสองหน้าแล้ว ก็ดูจะมีความคล้ายคลึงกับลักษณะของลูกเปิงที่นิยมใช้กัน ในวัฒนธรรมการดนตรีของมอญ-พม่าที่เรียกว่า “พอม” และ “โบง” อยู่มาก

กลองดังกล่าวอาจตามติดเข้ามากับกลุ่มชาวมอญที่อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาในพระราชอาณาเขตอยู่เนืองๆ ติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 2 ดังนั้น เครื่องดนตรีของกลุ่มชนในวัฒนธรรมมอญ-พม่าจึงได้เข้ามามีความสัมพันธ์อยู่ในวัฒนธรรมการดนตรีของไทยด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีขึ้นมาใหม่ 2 ชนิด ได้แก่ ระนาดทุ้ม และฆ้องวงเล็ก (ธนิต อยู่โพธิ์ 2520 : 16, 26) การเกิดขึ้นของเครื่องดนตรีทั้งสองทำให้เกิดการประสมวงปี่พาทย์ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “ปี่พาทย์เครื่องคู่” เกิดขึ้น ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในวัฒนธรรมการดนตรีของไทย

เครื่องดนตรีชนิดใหม่ที่เรียกว่า “ระนาดทุ้ม” นั้นบรรเลงด้วยการใช้มือที่โลดโผนเป็นพิเศษแตกต่างไปจากการบรรเลงฆ้องวง และระนาดเอกอย่างชัดเจน คล้ายคลึงกับวิธีการบรรเลงระนาดในวัฒนธรรมการดนตรีมอญ-พม่าที่เรียกว่า “ปัตตาหล่า” อย่างมากซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าวิธีการใช้มือของระนาดทุ้มในวัฒนธรรมการดนตรีของไทยอาจมีพัฒนาการมาจากวัฒนธรรมการดนตรีของมอญ-พม่าก็เป็นได้

มีหลักฐานมากมายในรัชกาลที่ 3 ว่าทรงนำเข้าไพร่ ทาสชาวมอญ-พม่าเข้ามาไว้ในกรุงเทพมหานครฯ เป็นจำนวนมาก จากการทำสงคราม การอพยพ และลักพาเข้ามาจากชายแดน นำมาสังกัดเป็นไพร่ และขายเป็นทาส ดังรายงานของชาวตะวันตกที่เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่า “ชาวสยามมีนิสัยชอบลอบจับชาวพม่าไปเป็นทาส ถึงแม้ภายหลังอังกฤษจะเข้ามาแทรกแซงประเทศพม่าแล้วก็ตาม ชาวสยามก็ยังทำสิ่งชั่วร้ายนี้อยู่ ชาวพม่าหลายพันคนที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ถูกจับมาเป็นทาสด้วยวิธีนี้…” (ออกัสตัส ฟรีดริค กุตสลาฟฟ์ 2539 : 78)

การเข้ามาของประชากรชาวพม่า-มอญได้นำเข้าวัฒนธรรมการดนตรีของตนเข้ามาผสมกับการดนตรีของไทยอยู่ด้วย

นี่ก็แค่ตัวอย่างส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นได้ว่าไทยกับพม่าต่างมีความสัมพันธ์ร่วมกันในทางวัฒนธรรมที่งดงามกันมายาวนาน

ดนตรีในวัฒนธรรมพม่า มีอะไรบ้าง

ดนตรีในวัฒนธรรมพม่า ซายวาย สามารถเรียกได้ทั้ง 2 อย่าง 1. เครื่องดนตรีคือ เปิงมางคอก 2. วงดนตรีซายวาย คือวงดนตรีเปิงมาง และอาจเรียกวงปี่พาทย์ชนิดนี้ว่า ปัตซาย ส่วนตัวเปิงมางคอกนั้น จะเรียกว่า ปัตวาย

วงดนตรีใด คือวัฒนธรรมดนตรีของเมียนมา (พม่า)

วงดนตรีซายวายเป็นวงดนตรีประจําชาติของพม่า ที่ใช้ในงานพิธีและงานบันเทิง มีเล่นทั้งใน งานหลวง งานวัด และงานราษฎร์ ปัจจุบันพม่ายังคงมีความนิยมนําวงซายวายมาเล่นในงานพิธีต่างๆ เช่น งานบวช งานเจาะหู งานทรงเจ้า งานรับปริญญา และงานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เสียงดนตรีที่ บรรเลงจากวงซายวายนั้นมีลีลาเคร่งขรึม แต่นุ่มนวล ให้ทั้ง ...

เครื่องดนตรีของพม่าคืออะไร

ปี่เนเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงซายวายพม่า วงดนตรีสำคัญที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงบนเวที พิธีกรรมทางศาสนา ตลอดจนงานเทศกาล และพิธีการต่างๆ รวมถึงการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เล่นคู่กับฆ้องปัตวาย หรือพาทวาย ฆ้องมองซาย และกลองชอก ลอน บัต

เครื่องดนตรีชนิดใดที่ไทยนำมาจากพม่า

กลองยาว เป็นเครื่องดนตรีสำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้ มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลาย ชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง เชื่อกันว่ากลอง ยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วม มี ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า “เถิดเทิง” หรือ “เทิงกลอง ...