ปัญหาวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน

ผลกระทบด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ จากการพัฒนาการท่องเที่ยว ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันตก เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

ผู้แต่ง

  • สยาม อรุณศรีมรกต มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยอนาคต (Futurism) โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technigue)  การจัดเวทีสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการจัดการท่องเที่ยวและผลกระทบ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จากการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดในภูมิภาคตะวันตก จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ข้าราชการในสังกัดกรมการปกครอง นักธุรกิจ และนักวิชาการ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ 4 จังหวัด ภาคตะวันตก  มีผลกระทบต่อสังคม  วัฒนธรรม  และเศรษฐกิจ ดังนี้

          ผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ พบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยว ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนใน 4 จังหวัดภาคตะวันตกดีขึ้น  เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชุมชน เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายทางชาติพันธุ์

          ส่วนผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์ พบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวก่อให้เกิดมลพิษ ป่าไม้ถูกทำลาย และมีขยะปริมาณมากมีผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน อาจก่อให้เกิดปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม และการค้ามนุษย์  เพิ่มปริมาณของแรงงานต่างด้าวอาจทำให้เกิดปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรม  และประชากรแฝงจากแรงงานที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย

          ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่พึงประสงค์  พบว่า คนในชุมชนได้ประกอบอาชีพมากขึ้น มีการลงทุนด้านการท่องเที่ยว ที่พัก การขนส่ง และ อาหารทะเล มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรีกับกลุ่มจังหวัดภาคตะวันตก เกิดการพัฒนาเส้นทางการขนส่งสินค้า เกิดการพัฒนาทางกายภาพเพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจ 

          ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ไม่พึงประสงค์พบว่า  ทำให้ค่าครองชีพในชุมชนสูงขึ้น กลุ่มทุนจะตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนมากเกินไป ทรัพยากรป่าไม้อาจถูกทำลายมากขึ้นและเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาอุตสาหกรรม  และการพัฒนาทางกายภาพ มีผลกระทบต่อการเวนคืนที่ดิน และการสูญเสียพื้นที่ภาคเกษตรกรรม   

          ส่วนมาตรการควบคุมป้องกันปัญหาจากการพัฒนาการท่องเที่ยว ควรมีการเตรียมการทั้งระดับรัฐและระดับชุมชน โดยจัดทำแผนพัฒนาที่ชัดเจน และดำเนินการพัฒนาโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม มีการประสานงานเกี่ยวกับการค้าชายแดนให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศไทย ควบคุมการทำลายสิ่งแวดล้อม และให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนให้รู้เท่าทันกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง รวมถึงสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนให้มีความรักในท้องถิ่น

          ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานราชการและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันตก ควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และการป้องกันปัญหาด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาการท่องเที่ยว

Downloads

Download data is not yet available.

References

กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ คอลัมน์ อสังหาฯ REAL ESTATE. (2556). สกัดทุนทิ้ง'บ้านพุน้ำร้อน'คุมเข้มผังชุมชนชายแดนห้ามพัฒนาเชิงพาณิชย์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=167095:2013-02-05-07-03-21&catid=128:-real-estate-&Itemid=478.

เกษม จันทร์แก้ว. (2554). การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นสูง (Advanced Environmental Impact Assessment). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เฉลียว ฤกษ์รุจิพิมล. (2542). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉลอง ขุนมนตรี. (2551). ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมในการก่อสร้างกระเช้าเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน กรณีศึกษาบ้านสบแพม บ้านตีนธาตุ และบ้านแพนกลาง ตำบลทุ่งยาง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณรงค์ เส็งประชา. (2544). วิถีไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ณัฐวุฒิ ปงเมฆ. (2547). ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นของไทย กรณีศึกษาเปรียบเทียบจังหวัดเชียงรายกับจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทวาย. (2556). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://daweidevelopment.com/index.php/us/thai-news/140-2012-03-02-04-46-13.

ธงชัย ประเทือง. (2555). ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากการสร้างปางช้างเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภัสสรกรณ์ ลังกาฟ้า. (2553). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ยศ สันตสมบัติ. (2547). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการจัดการทรัพยากร โครงการพัฒนาความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย. โครงการ BRT ชั้น 5 อาคารสำนักงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ.

วีรพล มณีพงษ์. (2531). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศึกษากรณีบ้านกุดรัง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.

ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2555). เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นการกำหนดขอบเขตและแนวทาง การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2556, จาก https://www.kbcku.ac.th/data/news/%. Final.pdf.

สุริชัย หวันแก้ว. (2537). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดกาญจนบุรี. (2555). โครงการวางผังชุมชนชายแดนบ้านพุน้ำร้อน ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.dpt.go.th/kanchanaburi/main/index.php?option=com_content&view=article&id=21&Itemid=15.

สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี. (ม.ป.ป.). (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง กลุ่มที่ 1 (4 จังหวัด). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.bb.go.th/bb/information/activity/ Xbit/chg_strg /chgstrg_menu.htm.

สำนักผังประเทศผังภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง. (ม.ป.ป.). (2556). โครงการวางและจัดทำผังอนุภาคกลุ่มจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.subregional-planning.mouchel.co.th/.

สำนักผังประเทศผังภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2556). แนวคิดการพัฒนาตามแนวรัศมีเมืองศูนย์กลางหลัก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.subregional-planning.mouchel.co.th/html/framework.html.

อธิฏฐาน พงศ์พิศาล. (2549). ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ กรณีศึกษา บ้านไทย-จังโหลน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนามัย (ธีรวิโรจน์) เทศกะทึก. (2555). การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

"บ้านพุน้ำร้อน”. (2556). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จากhttps://banphunamron-dawei.blogspot.com/2012/06/blog-post_03.html.

Arkhom Termpittayapaisith. (2012). Thailand's Labor, Infrastructure Capacity and Dawei Development Project. [Online]. Retrived July 17,2014, from https://www.boi.go.th/upload/content/Thailand's LaborInfrastructureCapacityandDaweiDevelopmentProject.pdf.

Becker,H.A. (1997). Social Impact assessment : method and the Developing World. London : UCL Press Limited.

Italian-Thai Development Public Co.Ltd. (2013). Dawei Development Company Limited. [Online]. Retrived July 17, 2014, from https:// daweidevelopment.com/index.php/en.

Kittiratt Na Ranong, H.E. (2013). The Roadmap to Real Opportunities for Thailand and ASEAN. [Online]. Retrived July 17,2014, from https://www.mof.go.th/home/Pr/fpo_roadmap.pdf

Kosum Saichan,Assoc.Prof.Dr., Atchareeya Saisin. (2014). Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project. [Online]. Retrived July 17,2014, from https://rcsd.soc.cmu.ac.th/InterConf/paper/paper23.pdf.

Mahesuan Kruewan. (2014). Thailand Development Policy for Neighboring Countries : Dawei Development Project Case Study. [Online]. Retrived July 17,2014, from https://www.mof.go.jp/pri/international_exchange/visiting_scholar_program/ws2014_a.pdf.

วัฒนธรรมไทยในปัจจุบันมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง

1.ปัญหาการแต่งกายไม่สุภาพ ส่อไปในทางยั่วยุของวัยรุ่น หรือดารา รูปแบบชุดนักเรียน-นักศึกษาที่ไม่เหมาะสม Page 3 2.ปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม การเสื่อมถอยของจิต สานึกที่ดีงาม ความ ซื่อสัตย์สุจริต 3.ปัญหาการขาดความกตัญํูไม่เชื่อฟังบิดามารดา ขาดความสารวมใน กิริยามารยาทและการสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ 4.ปัญหาการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ...

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม มีอะไรบ้าง

๒. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมคือ การเปลี่ยนแปลงใน ด้านต่างๆที่เกิดจากมนุษย์เป็นผู้สร้าง มีทั้งรูปธรรม นามธรรม โดยการเปลี่ยนนามธรรมยากกว่ารูปธรรม เช่น ด้านค่านิยม ระเบียบบรรทัดฐาน สัญลักษณ์ทางสังคม ฯลฯ และต้องใช้เวลา ยาวนานกว่าจะเปลี่ยนแปลงไป

วัฒนธรรมสามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ อย่างไร

การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาจเกิดมาจากสิ่งแวดล้อม การค้นพบ (และอิทธิพลภายในอื่น ๆ) และการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่น ตัวอย่างเช่น ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุดช่วยนำไปสู่การค้นพบการทำเกษตรกรรม และตัวเกษตรกรรมเองก็เป็นตัวก่อให้เกิดนวัตกรรมมากมายทางเกษตรกรรม ซึ่งนวัตกรรมนี้ก็ได้นำไปสู่นวัตกรรมอื่น ๆ ทางวัฒนธรรม

วัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไรบ้าง

วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อคนไทยและสังคมไทยหลายประการ ดังนี้ 1. เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญและเชิดชูเกียรติของบุคคลและประเทศชาติ 2. เป็นเครื่องที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะประจำชาติและดำรงความเป็นชาติไทย 3. เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข