ป้ายทะเบียนรถหาย ทํายังไง 2565

ป้ายทะเบียนรถหาย ทํายังไง 2565

เอกสารอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับรถย่อมมีความสำคัญเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การพกสำเนาทะเบียนรถในขณะขับขี่, การจ่ายภาษีรถประจำปี หรือการพกใบขับขี่เองก็ตาม ซึ่งในกรณีที่ใบขับขี่ของคุณหมดอายุคุณจะต้องรีบไปต่อใบขับขี่โดยเร็ว หรือในกรณีที่คุณลืมพกใบขับขี่ คุณสามารถใช้ใบขับขี่ดิจิตอลแทนได้ แต่ก็ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่คุณสำคัญมากเช่นกัน เพราะมันใช้ในการระบุรถของคุณ สิ่งนั้นก็คือ “ป้ายทะเบียนรถ” ค่ะ

คุณอาจจะไม่เคยมีประสบการณ์ป้ายทะเบียนรถหลุดหายระหว่างทาง ซึ่งนับว่าคุณเป็นผู้โชคดีมาก ๆ แต่ในบางครั้งก็ไม่มีอะไรแน่นอนเสมอไป ป้ายทะเบียนรถของคุณอาจจะหลุดหายจากการยึดติดป้ายที่ไม่แน่นพอ หรืออาจจะหลุดหายระหว่างขับรถลุยน้ำ แต่คุณไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ วันนี้เรามีถึง “วิธีขอรับป้ายทะเบียนรถจากกรมขนส่งทางบก” อย่างละเอียดมาบอกกัน ว่าคุณจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

ป้ายทะเบียนรถหาย / ป้ายทะเบียนรถชำรุด ทำอย่างไรดี ?

1. คุณจะต้องไปขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถทดแทน ที่ สำนักงานกรมขนส่ง ที่รถของคุณอยู่ในความรับผิดชอบ โดยไม่ต้องแจ้งความค่ะ

1.1 ในส่วนของภูมิภาค: ยื่นขอได้ที่สำนักงานกรมขนส่งจังหวัด หรือ สำนักงานขนส่ง สาขาที่รถอยู่ในความรับผิดชอบ

1.2 ในเขตกรุงเทพมหานคร: ยื่นขอได้ที่สำนักงานกรมขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-5 ตามที่รถอยู่ในความรับผิดชอบ

พื้นที่ 1 ที่อยู่ : ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 เขตรับผิดชอบ : เขตบางขุนเทียน บางคอแหลม จอมทอง ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ คลองสาน สาทร ทุ่งครุ บางบอน และยานนาวา
พื้นที่ 2 ที่อยู่ : 51 ม.5 ถนนสวนผัก ซอย 4 แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 เขตรับผิดชอบ : เขตตลิ่งชัน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ หนองแขม พระนคร บางแค และทวีวัฒนา
พื้นที่ 3 ที่อยู่ : 2479 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เขตรับผิดชอบ : เขตพระโขนง ประเวศ สวนหลวง คลองเตย บางนา วัฒนา และบางจาก
พื้นที่ 4 ที่อยู่ : 34 หมู่ 6 ถนนร่วมพัฒนา แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530 เขตรับผิดชอบ : เขตมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บึงกุ่ม สะพานสูง คันนายาว และคลองสามวา
พื้นที่ 5 ที่อยู่ : 1032 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจัตุจักร กรุงเทพฯ 10900 เขตรับผิดชอบ : ป้อมปราบศัตรูพ่าย ปทุมวัน ดุสิต บางซื่อ บางเขน ดินแดง จตุจักร ลาดพร้าว สายไหม สัมพันธวงศ์ บางรัก พญาไท ห้วยขวาง บางกะปิ ดอนเมือง ราชเทวี หลักสี่ และวังทองหลวง

2. เตรียมเอกสารให้พร้อม ได้แก่

2.1 คู่มือจดทะเบียนรถ ฉบับจริง
2.2 บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง ของเจ้าของรถ
2.3 ในกรณีที่เจ้าของรถไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตัวเองได้ คุณสามารถใช้หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

3. เตรียมเงิน สำหรับค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ 100 บาท และค่าคำขอ 5 บาท รวม 105 บาท

โดยจะได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถ ภายในระยะเวลา 15 วัน ในระหว่างนี้ ให้คุณใช้ใบเสร็จรับเงินแทนป้ายชั่วคร่าวไปก่อนได้ค่ะ

หมายเหตุ

  1. ในกรณีที่แผ่นป้ายทะเบียนรถชำรุด ให้ดำเนินการเหมือนกัน แต่ในวันที่รับแผ่นป้ายทะเบียนรถใหม่ จะต้องคืนแผ่นป้ายทะเบียนรถตัวเก่าที่ชำรุดด้วยนะคะ
  2. หากคุณยังผ่อนรถไม่หมดหรือรถยังติดไฟแนนซ์ ทำให้ไม่มีเล่มทะเบียนรถฉบับจริง ให้ไฟแนนซ์ให้ดำเนินการแทน หรือให้คุณวางมัดจำเพื่อยืมเล่มจดทะเบียนตัวจริงมาก่อนแล้วไปดำเนินการเอง ก็ได้ค่ะ
  3. หากป้ายหล่นหาย ห้ามทำแผ่นป้ายทะเบียนรถเองโดยเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
  4. สำหรับใครที่พบเจอแผ่นป้ายที่ตกหล่นระหว่างทางและฉวยโอกาสนำแผ่นป้ายทะเบียนรถไปใช้ คนผู้นั้นจะมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และความผิดอาญา ฐานปลอมแปลงเอกสารราชการปลอม มีโทษจำคุก 6 เดือน – 5 ปี ปรับตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือโทรสายด่วน 1584

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางบก

ป้ายทะเบียนรถหาย ทํายังไง 2565

I am a graduate of Department of Computer Engineering Prince of Songkla University. I really enjoy writing and reviewing technology and women's products.

ถาม : ป้ายทะเบียนรถหาย ชำรุด ทํายังไง มีค่าธรรมเนียม เท่าไหร่ ?

ตอบ : ประชาชนที่ทำ ป้ายทะเบียนรถชำรุด สูญหาย สามารถขอแผ่นป้ายทะเบียนรถทดแทนใหม่ได้ ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ 

**มีค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายละ 100 บาท ค่าคำขอ 5 บาท

  • รถที่จดทะเบียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถภายใน 5 วันทำการ
  • รถที่จดทะเบียนในพื้นที่ต่างจังหวัด จะได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถภายใน 10 วันทำการ

ระหว่างรอรับป้ายทะเบียนใหม่ สามารถใช้ใบเสร็จรับเงินแทนแผ่นป้ายทะเบียนรถเป็นการชั่วคราวได้

อ่านเพิ่มเติม>> ติดป้ายทะเบียนไม่ตรงกับรถ มีโทษยังไง ?

ที่มา : กรมการขนส่งทางบก PR.DLT.News