โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน

สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ โดย นายประสิทธิ์ พิเศษ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนระดับประถมศึกษา      ให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ หอประชุมพิมานพรหม สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑

เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๕  นายประสิทธิ์ พิเศษ รอง ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบูรณาการกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา เข้ากับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) พัฒนาครูระดับประถมศึกษาให้สามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงปฏิบัติการ (Hands-on) ตามปรัชญาการเรียนรู้ของโครงการซึ่งได้แก่การเรียนรู้ร่วมกัน (CO-Construction) และการรู้คิด (Meta-Cognition) สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา วิทยากรผู้ให้ความรู้ นางจุติมาพร เชียงกา ศึกษานิเทศก์ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network : LN) นางระเบียบ เกตุชาติ ครูโรงเรียนบ้านยาง “คุรุราษฎร์รังสรรค์” วิทยากรท้องถิ่น (Local Trainer : LT) และทีมวิทยากรผู้ช่วยจากโรงเรียนบ้านยาง “คุรุราษฎร์รังสรรค์” ณ หอประชุมพิมานพรหม สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กในระดับชั้นประถมศึกษา ได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร ส่งเสริมพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ ของเด็กประถมศึกษา ได้ฝึกการสังเกต รู้จัดคิด ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้อำนวยการ การเรียนรู้และจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ภายใต้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทดลองนำร่องขยายโครงการสู่ระดับประถมศึกษากับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๘๓ เขตพื้นที่การศึกษา ในปี ๒๕๖๑-๒๕๖๔  ใช้รูปแบบการบริหารโครงการเช่นเดียวกับโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ระดับปฐมวัย พบว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย สามารถส่งเสริมกระบวนการคิดให้กับนักเรียน พัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๑ เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จนถึงปัจจุบัน มีโรงเรียนในโครงการทั้งสิ้น จำนวน ๒๐ โรงเรียน โดยมีโรงเรียนบ้านยาง “คุรุราษฎร์รังสรรค์” ซึ่งเป็นโรงเรียนแกนนำของโครงการ

โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” โรงเรียนบ้านห้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ทางสถานศึกษาจัดกิจกรรมการทดลอง 20 กิจกรรม และโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนปฐมวัย โดยโครงงานดังกล่าว นำเสนอผลงานในรูปแบบของ VTR โดยโครงงานมีชื่อว่า "ฟองสบู่พาเพลิน" ดำเนินกิจกรรมโดย นักเรียนชั้นอนุบาล 2 และ อนุบาล 3

��ٺ�ҹ�͡�ͷ��� ���䫵�ͧ��ٵ������ ��˹�� �����ѧ��§ ���繪�ͧ�ҧ㹡��������� �š����¹ �����ٹ������� ������������ ���ѹ���µ���˵ء�ó���س��� ��黯Ժѵԧҹ㹷ء��鹷��ͧ������� ���ͤ�����ԭ�͡���㹻ѭ�� �����ԭ����˹����ԪҪվ

��纹���͡��Դ����� 5 ���Ҥ� 2548

Email : [email protected]
Tel : 081-3431047

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียน

วันที่ 29 กันยายน 2565 โรงเรียนราษฎร์บำรุงศิลป์ ได้จัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยให้กับนักเรียนชั้น ป.1 จุดประสงค์หลักของโครงการคือการส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และบ่มเพาะความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม เด็ก ๆ ไม่ควรได้เรียนรู้และสร้างคำอธิบายที่ “ถูกต้อง” สำหรับปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพียงเท่านั้น พวกเขาควรได้มีส่วนร่วมในกระบวนการค้นคว้าด้วยการสืบเสาะเป็นฐาน ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการนี้ประกอบด้วย การสังเกต การเปรียบเทียบ และการจำแนกประเภทที่เด็ก ๆ ใช้ในการสำรวจโลกรอบตัว

         วิทยาศาสตร์มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในประจำวันของมนุษย์ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้เกิดการพัฒนาความคิดให้เป็นคนที่มีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักการคิดวิเคราะห์และสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ ทางโรงเรียนบ้านเขาตะเภาทอง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ต่อการพัฒนานักเรียนระดับปฐมวัยโดยเฉพาะด้านสติปัญญา ที่เป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ การอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง วัยแห่งการตั้งคำถามสงสัยใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว    เพื่อเป็นการพัฒนานักเรียนให้รู้จักตั้งคำถามอย่างมีเหตุมีผลใช้ทักษะที่เหมาะสมกับวัย รู้จักใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเป็นระบบ ทางโรงเรียนบ้านเขาตะเภาทองจึงจัดทำโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์นี้ขึ้น