พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 ล่าสุด

workpointTODAY สรุปอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปีภาษี 2565 ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆ และที่ดินว่างเปล่า มาให้อ่านกันแบบง่ายๆ ในบทความเดียว

โดยอันดับแรก เราไปดูวิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันก่อน

  1. มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ราคาประเมิน) – ฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น = ฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
  2. ฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องเสีย

ทั้งนี้ workpointTODAY ได้คำนวณเป็นตัวเลขกลมๆ มาให้ผู้อ่านแล้วด้านล่าง

ประเภทที่ 1 ที่อยู่อาศัย

1.1 ที่อยู่อาศัย หลังที่หนึ่ง : เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับอยู่อาศัย และต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน ในวันที่ 1 ม.ค. ของปีภาษีนั้น จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 ล่าสุด

1.2 ที่อยู่อาศัย หลังที่หนึ่ง : เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว และต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน ในวันที่ 1 ม.ค. ของปีภาษีนั้น จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 ล่าสุด

1.3 ที่อยู่อาศัย หลังที่สองขึ้นไป : เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับอยู่อาศัย

พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 ล่าสุด

กรณี บ้านเช่า – ห้องเช่า หากปล่อยเช่าเป็นรายเดือนหรือรายปี ถือว่าเป็นการใช้เพื่ออยู่อาศัย เริ่มคำนวณภาษีที่อัตรา 0.02% เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้เช่ามากเกินไป แต่หากเป็นการเช่าแบบรายวัน ถือว่าเป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์ จะเริ่มคำนวณภาษีที่อัตรา 0.30% (อ้างอิง ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย) โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายคือ เจ้าของบ้านเช่า – ห้องเช่านั้น ส่วนคนที่มาเช่าอยู่ไม่ได้มีหน้าที่เสียภาษีแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติเจ้าของบ้านเช่า – ห้องเช่า อาจผลักภาระให้ผู้เช่า เช่น เพิ่มค่าเช่า เป็นต้น

ประเภทที่ 2 ที่ดินเกษตรกรรม

2.1 ที่ดินเกษตรกรรม ของบุคคลธรรมดา : ต้องขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

แต่ในปี 2565 เจ้าของที่ดินประเภทดังกล่าว ยังไม่ต้องเสียภาษี เพราะ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ยกเว้นภาษี 3 ปีแรก ให้บุคคลธรรมดาที่ใช้ประโยชน์ที่ดินทำเกษตรกรรม ดังนั้น บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้ทำเกษตรกรรมจะเริ่มเสียภาษีจริงๆ ในปี 2566

พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 ล่าสุด

2.2 ที่ดินเกษตรกรรม ไม่ใช่ของบุคคลธรรมดา : เช่น บริษัท ต้องขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทที่ทำเกษตรกรรม จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 ล่าสุด

ประเภทที่ 3 ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆ

เช่น ใช้เชิงพาณิชย์ จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 ล่าสุด

ประเภทที่ 4 ที่ดินว่างเปล่า

ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้ และหากเจ้าของไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินว่างเปล่านั้นติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี จะถูกเรียกเก็บภาษีในปีที่ 4 เพิ่มขึ้นจากอัตราเดิม 0.30% และเพิ่มขึ้นอีก 0.30% ทุกๆ 3 ปี หากยังไม่มีการใช้ประโยชน์ โดยอัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 3%

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการตามร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. …. (ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ) สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ปี 2565 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยยังคงอัตราจัดเก็บไว้เท่าเดิม

โดยเหตุที่ต้องเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาฯ เนื่องจากพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ) ได้กำหนดอัตราเพดานของภาษีไว้ตามมาตรา 37 และกำหนดอัตราภาษีที่จะจัดเก็บไว้ในบทเฉพาะกาล มาตรา 94 แต่ให้ใช้อัตราตามบทเฉพาะกาลได้เพียง 2 ปี (ปี 2563 – 2564) ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และเมื่อพ้นระยะเวลาจะต้องประกาศอัตราภาษีที่จะจัดเก็บโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแทน

ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ ยังคงกำหนดอัตราภาษีที่จะจัดเก็บไว้คงเดิม กล่าวคือ

การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2565เป็นต้นไป ให้ใช้อัตราภาษีตามประเภทการใช้ประโยชน์และจัดเก็บภาษีตามมูลค่าที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างในลักษณะขั้นบันได (อัตราก้าวหน้า) ได้แก่

ที่ดินเกษตรกรรม

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.01% หรือล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 – 500 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 500 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.07% หรือล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

ที่อยู่อาศัย

1. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
• ที่ดินมูลค่าไม่ถึง 25 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
• ที่ดินมูลค่า 25 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
• ที่ดินมูลค่า 50 ล้านขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท
2. สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
• ที่ดินมูลค่า ไม่ถึง 40 ล้านบาท อัตรา 0.02% หรือล้านละ 200 บาท
• ที่ดินมูลค่า 40 – 65 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
• ที่ดินมูลค่า 65 – 90 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
• ที่ดินมูลค่า 90 ล้านขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท
3. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยกรณีอื่นนอกจากการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2
• ที่ดินมูลค่า ไม่ถึง 50 ล้านบาท อัตรา 0.02% หรือล้านละ 200 บาท
• ที่ดินมูลค่า 50 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
• ที่ดินมูลค่า 75 – 100 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
• ที่ดินมูลค่า 100 ล้านขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

ที่ดินกลุ่มพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม

• ที่ดินมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 50 – 200 ล้านบาท อัตรา 0.4% หรือล้านละ 4,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 200 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.5% หรือล้านละ 5,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตรา 0.6% หรือล้านละ 6,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.7% หรือล้านละ 7,000 บาท

ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

• ที่ดินมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 50 – 200 ล้านบาท อัตรา 0.4% หรือล้านละ 4,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 200 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.5% หรือล้านละ 5,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตรา 0.6% หรือล้านละ 6,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.7% หรือล้านละ 7,000 บาท

ที่ดินที่ปล่อยร้างไม่ได้ทำประโยชน์ มีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 1.2% แต่จะปรับเพิ่มอัตรา 0.3% ทุก 3 ปี แต่อัตรารวมไม่เกิน 3%