ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของ e-commerce platform

เว็บไซต์ E-Commerce ของตัวเอง กับการขายของบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น Shopee, Lazada หรือ JD Central แบบไหนโอเคกว่ากัน หลายคนคงเคยประสบปัญหาว่า หากเราจะขายของออนไลน์ เราจะเลือกทางไหนดี ทาง Digital Break Time เลยมาแบ่งหัวข้อ ว่าฝั่งไหนจะได้มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจอีกทางหนึ่ง

ค่าใช้จ่ายสำหรับการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของเราเอง และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ต่างไม่เท่ากัน เช่น

  • ทำเว็บไซต์ E-Commerce ของตัวเอง
    การทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของตัวเองนั้น มีค่าใช้จ่ายในช่วงแรกที่สูงมาก คือการจ้างคนภายนอก หรือเอเจนซี ในการทำเว็บไซต์ให้ (หรือถ้าคุณมีคนที่ทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซได้ ก็อาจจะลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ แต่ส่วนมากการจ้างทำมักจะได้ผลลัพธ์ที่เหมาะกว่า เพราะส่วนมากจะเป็นการขาดบุคลากร ยกเว้นบริษัทใหญ่ชั้นนำจริง ๆ ) ซึ่งราคาของการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซนั้นมีราคาตั้งแต่ หกหลักต้น ๆ จนทะลุเจ็ดหลักก็มี แล้วแต่ความพึงพอใจและการให้บริการ
  • ขายบน E-Commerce Platform
    ข้อดีของการขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำเร็จรูปคือแทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายในการแรกเข้าเลยด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าเป็นการประหยัดกว่ามาก แต่ช้าก่อน การขายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมีค่าคอมมิชชัน เป็นส่วนแบ่งหรือเปอร์เซ็นต์จากที่ร้านค้าขายได้ ซึ่งในแต่ละแพลตฟอร์มย่อมมีค่าคอมมิชชันที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนมากจะอยู่ที่ 3-10% ของแต่ละหมวดหมู่สินค้า ยังไม่พอยังมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเครดิตอีก ดังนั้นถ้าสินค้าของเราขายดีมาก ในระยะยาวก็อาจจะต้องจ่ายค่าคอมมิชันไปเรื่อย ๆ ตามสินค้าที่เราขายได้ ซึ่งในส่วนนี้ถ้าเป็นเว็บไซต์ของเราเองก็จะปราศจากค่าคอมมิชชัน ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บัตรหรือการจ่ายเงิน ถ้าเราใช้ Payment Gateway ก็จะมีค่าธรรมเนียมเช่นกัน

จำนวนทราฟิกที่เข้ามา

ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของ e-commerce platform
การมีเว็บไซต์ E-Commerce สิ่งสำคัญเป็นอย่างมากคือการมีทราฟิกที่เข้ามา ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ก็แตกต่างกัน

  • ทราฟิกของการทำเว็บไซต์ E-Commerce ตัวเอง
    การมีเว็บไซต์ E-Commerce ของเราเองนั้น ถ้าร้านค้าเราไม่ได้เป็นที่รู้จักตั้งแต่แรก จะเรียกได้ว่าทราฟิกที่เข้ามาช่วงแรกนั้นจะน้อยมาก เมื่อทราฟิกน้อย นั่นก็หมายความว่าโอกาสที่จะขายสินค้าก็ย่อมน้อยตามไปด้วย แล้วจะทำอย่างไรให้ทราฟิกมีจำนวนเยอะขึ้น ก็อาจจะเริ่มจากการทำคอนเทนต์ การทำ SEO, SEM หรือการสปอนเซอร์บน Social Media ต่าง ๆ เพื่อให้เว็บไซต์ของเราเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อมีเว็บไซต์แล้วก็จำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำการตลาดต่อ เพื่อให้เว็บไซต์มีชีวิตและขายของได้นั่นเอง แต่ก็มีข้อดีก็คือทราฟิกที่เข้ามาในเว็บไซต์ไม่ต้องแบ่งกับใคร เพราะเราขายอยู่เจ้าเดียว ต่างจากการขายของในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซนั่นเอง
  • ทราฟิกของการทำเว็บไซต์ E-Commerce ตัวเอง
    แทบไม่ต้องเป็นกังวลเลยสำหรับทราฟิก เมื่อเราขายของบนแพลตฟอร์ม E-Commerce ในแต่ละแพลตฟอร์มเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว มีการทำการตลาดอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้มีทราฟิกมหาศาล แต่มีข้อควรระวังนิดนึงคือทราฟิกที่เข้ามานั้นเราจำเป็นที่จะต้องแบ่งกับร้านอื่น ยิ่งถ้าสินค้าของเราเหมือน ๆ กับคนอื่น หรือร้านเราไม่ได้ร้านที่มียอดขายมากต่อเดือน หรือร้านอย่างเป็นทางการ โอกาสก็ที่จะได้ส่วนแบ่งทราฟิกก็จะลดลงด้วย

การทำการตลาด

ไม่ว่าจะอย่างไรก็จำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำการตลาดควบคู่กันไปด้วย แต่ลักษณะการทำการตลาดอาจแต่งต่างกันออกไป

  • ทำการตลาดเมื่อมีเว็บไซต์ E-Commerce ของตัวเอง
    ต้องทำการตลาดอย่างจัดเต็ม และจำเป็นที่จะต้องทำเองเกือบทั้งหมด เนื่องจากว่าเราขายสินค้าของเราเอง โดยเริ่มแรกอาจจะเน้น Digital Marketing เป็นหลัก เพราะสามารถวัดผลได้จริง ว่ามีคนซื้อหรือไม่จากช่องทางไหน การทำการตลาดแบบ Performance Marketing คือการทำแบบวัดผลเพื่อให้เกิดยอดขาย เช่นการวัดผลแบบ ROAS เพื่อให้รู้ว่าเงินที่เราลงไป สามารถสร้างยอดขายสินค้าได้เท่าไร หรือการลงโฆษณาในรูปแบบ Shopping Ads ของ Google Ads ที่จะช่วยได้เช่นกัน
  • ทำการตลาดเมื่อขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
    เจ้าของแพลตฟอร์ม E-Commerce นั้นมีการทำการตลาดอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าลืมว่ามักจะเป็นการโฆษณาเพื่อสนับสนุนและ Branding เป็นหลัก มีการทำการ Performance Marketing ด้วย ซึ่งเราก็สามารถทำโฆษณาเพื่อให้เกิดการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้ การโฆษณาแบบนี้เรียกว่า CPAS หรือ COLLABORATIVE ADS ซึ่งสามารถวัดผลแบบ ROAS ได้เช่นกัน

ระยะเวลาในการเปิดร้าน

ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของ e-commerce platform
การใช้เวลาในการเปิดร้าน นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความแตกต่างมาก

  • ระยะเวลาในการเปิดร้านสำหรับเว็บไซต์ตัวเอง
    การเปิดร้านในเว็บไซต์ของตัวเอง เรียกว่ามีระยะเวลาที่ยาวนาน เนื่องจากการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซนั้น จำเป็นที่จะต้องดูในเรื่องของการดีไซน์ การทดสอบระบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้กว่าจะเปิดร้านบนเว็บไซต์ได้นั้น มีระยะเวลายาวนาน โดยปกติการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ จะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน ซึ่งอาจจะล่าช้ากว่านี้ถ้าขาดข้อมูลสำคัญ
  • ระยะเวลาเปิดร้านในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
    แน่นอนว่าการเปิดร้านบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซนั้นทำได้ง่ายดายมาก เพียงแค่สมัครไม่กี่คลิก อัพโหลดรูปและลงรายละเอียดสินค้า กรอกข้อมูลทางด้านบัญชีนิดหน่อย แค่นี้ก็พร้อมที่จะขายสินค้าอยู่แล้ว เนื่องจากการเปิดให้ขายสินค้าได้อย่างง่ายดาย เพื่อเป็นการชักจูงให้กับผู้ค้าหน้าใหม่มาเปิดร้านมากยิ่งขึ้น

สรุปความแตกต่างระหว่างการทำเว็บไซต์ E-Commerce ของตัวเอง และขายของบน E-Commerce Platform

หัวข้อการวัดผลเว็บไซต์ E-Commerce ของตัวเองแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่มีอยู่แล้ว
ค่าใช้จ่าย มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการทำเว็บไซต์ แต่ไม่มีค่าคอมมิชชัน มีค่าคอมมิชชัน เป็นเปอร์เซ็นต์จากที่ขายได้
จำนวนและที่มาของทราฟิก ในเริ่มต้นทราฟิกน้อย จำเป็นต้องใช้วิธีการอื่น ๆ เพื่อเรียกทราฟิก ทราฟิกมหาศาล แต่ต้องแชร์กับร้านค้าอื่น ๆ
การทำการตลาด ต้องทำการตลาดเอง มีการทำการตลาดให้บ้าง
ระยะเวลาในการเปิดร้าน ขึ้นอยู่กับการทำเว็บ แต่ใช้ระยะเวลาประมาณ 4-6 เดือน เร็วมาก กรอกข้อมูลและรายการสินค้า พร้อมขายได้ทันที

ทั้งสองอย่างนั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ถ้าพร้อมทั้งทรัพยากรทางด้านเวลา เงินทุน และบุคลากร แนะนำให้ทำทั้งสองที่ แต่ถ้าคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีเงินทุนไม่มาก อาจเริ่มจากการเปิดขายของบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก่อน เพื่อเรียนรู้ระบบและการใช้งาน เมื่อใดที่คุณพร้อม คุณก็จะสามารถนำประสบการณ์ไปใช้กับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซได้เหมือนกัน

ใครที่มีคำถามเกี่ยวกับ Digital Marketing หรือเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ สามารถ Inbox สอบถามได้ที่ Facebook ของ Digital Break Time คำถามเด็ด ๆ ที่คิดว่ามีประโยชน์จะนำมาเขียนบอกเล่าให้กับคนอื่น ๆ ได้รู้ด้วย

ติดตามข่าวสาร บทความดี ๆ จาก Digital Break Time ได้ที่
Facebook, Twitter, Line Official Account, Instagram

ธนาคาร เลิศสุดวิชัย x Digital Break Time

ที่มาบางส่วนจาก [1]

Author: Thanakarn Lertsudwichai

เป็นทาสแมว เป็นนักเขียนคอนเทนต์ เป็นคนสอนและบรรยาย เป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว รักงาน Digital Marketing เคยผ่านงานด้าน Digital Agency โฆษณา ใครที่สนใจต้องการทำ Digital Marketing โทรเลย 082-245-4747 (เฉพาะเรื่องงานเท่านั้น)