ลักษณะงานนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล data scientists

ทุกวันนี้โลกของเราเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิตอลแบบเต็มตัว ส่งผลให้หลายบริษัทมีความต้องการปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้องค์กรเกิดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงเพื่อให้เกิดความทัดเทียมกับคู่แข่ง ซึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรเกิดความได้เปรียบคือบุคลากรในองค์กรโดยในปัจจุบันสายอาชีพที่เป็นที่ต้องการมากของหลายบริษัทคือ “นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล” หรือ “Data Scientist” ทำให้หลายคนเกิดความสนใจที่อยากจะเปลี่ยนสายงานมาทำอาชีพนี้กันมากขึ้น แต่หลายคนก็ยังไม่รู้จักอาชีพนี้ดีพอ 

ดังนั้นวันนี้ DIGI จะพาคุณไปค้นหากันว่า 7 ลักษณะนิสัยของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้างที่ส่งผลให้เราเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่เก่งกาจ

7 ลักษณะนิสัยของ “นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล” ที่ดี (Data Scientist) มีอะไรบ้าง ?  

1. มีกรอบแนวความคิดเชิงสถิติ

สำหรับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลนั้นลักษณะนิสัยที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ คือการมีกรอบแนวคิดในเชิงสถิติเนื่องจากการมีแนวคิดในเชิงสถิตินี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลสามารถจัดระเบียบกับข้อมูลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเริ่มจากการวางแผนว่าเราจะจัดการข้อมูลเพื่อหาคำตอบให้กับปัญหาที่เราต้องการจะแก้ รวมไปถึงแนวคิดที่ว่าจะใช้วิธีการใดในการจัดการกับข้อมูล ถัดมาคือกระบวนการรวบรวมข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์โดยต้องออกแบบวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ดีและมีประสิทธิภาพ ต่อมาคือกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งต้องใช้วิธีการคัดเลือกข้อมูลที่ดีเพื่อนำมาสร้างโมเดลที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด สุดท้ายคือการสรุปข้อมูลเพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการกับปัญหา 

2. ความอยากรู้อยากเห็น

ความอยากรู้อยากเห็นเป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับคนที่ต้องการจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเนื่องจากพื้นฐานของสายงานก็บ่งบอกอยู่ในตัวอยู่แล้วว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งการที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งกาจได้นั้นจำเป็นจะต้องมีความสงสัยในสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเพื่อที่เมื่อเกิดคำถามแล้วจะได้เกิดกระบวนการแปลงสภาพข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ รวมไปถึงการที่นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเป็นคนที่มีความอยากรู้อยากเห็นจะช่วยให้เกิดการหาคำตอบจากข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเป็นไปอย่างต่อเนื่องเพราะยิ่งเกิดกระบวนการในการทดลองเพื่อหาคำตอบก็จะยิ่งพบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่

3. เป็นคนช่างสังเกต

เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจำเป็นจะต้องทำงานกับข้อมูลจำนวนมหาศาล ดังนั้นความสามารถในการจำแนกข้อมูลว่าข้อมูลไหนเป็นข้อมูลที่ดีเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการสร้างโมเดลในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อนำไปใช้ในการทำนายผลลัพธ์ ซึ่งถ้าขาดทักษะในเรื่องของการสังเกตบางครั้งอาจจะเกิดข้อผิดพลาดในการนำเอาข้อมูลที่ไม่คุณภาพมาใช้ในการสร้างโมเดลส่งให้ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นเป็นโมเดลที่ไม่มีคุณภาพตามคำกล่าวที่ว่า “Trash in Trash out” รวมไปถึงทักษะในการสังเกตจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในชุดข้อมูล ง่ายต่อการสร้างโมเดลที่มีคุณภาพ

ลักษณะงานนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล data scientists

4. มีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

เนื่องจากเทคโนโลยีทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างตลอดเวลาทั้งในด้านการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่าง ๆ รวมไปถึงการเรียนรู้เทคนิคใหม่ที่ช่วยให้การจัดการข้อมูลทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น สามารถมองเห็นภาพรวมของปัญหาและลงลึกไปยังสาเหตุที่แท้จริง ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีทักษะในด้านการพัฒนาตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตนเองตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทันส่งผลให้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

5. มีความคิดสร้างสรรค์

บางคนอาจจะคิดว่าการเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลนั้นการใช้แค่เพียงความคิดในเชิงตรรกะกับการเขียนโปรแกรมรวมไปถึงวิธีการทางสถิตินั้นเพียงพอต่อการเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล แต่ในความเป็นจริงแล้วนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจำเป็นที่จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยเนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของการทำกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบที่จะไปช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้คิดหาทางแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างตรงจุด รวมไปถึงสามารถวิธีการหรือรูปแบบของโมเดลใหม่ ๆ ที่จะช่วยตอบคำถามให้กับปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์

6.มีความอดทน

ความอดทนเป็นหนึ่งในลักษณะนิสัยที่สำคัญสำหรับคนที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเนื่องจากต้องอาศัยทักษะในการเรียนรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม วิชาที่เกี่ยวข้องกับสถิติ รวมไปถึงความรู้หลักที่จะนำโมเดลไปประยุกต์เพื่อแก้ปัญหา อีกทั้งข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลที่จะต้องทำการคัดเลือกเพื่อหาตัวแปรที่ดีเพื่อนำไปสร้างโมเดลที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงขั้นตอนการสร้างโมเดลและการทดสอบโมเดลจำเป็นต้องใช้ความอดทนสูงเนื่องจากการทดสอบนั้นจะพบข้อผิดพลาดได้เสมอจากปัจจัยหลายอย่างทั้งจากด้านกาารเขียนโปรแกรมหรือจากตัวข้อมูลเอง ดังนั้นความอดทนจึงเป็นนิสัยที่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลมีจิตใจที่เข้มแข็งไม่ย่อท้อต่อการทำโมเดลใหม่เรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 

7.ความสามารถในการสื่อสาร 

เนื่องจากหน้าที่หลักของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลคือการนำข้อมูลที่มีอยู่มหาศาลมาหาความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรเพื่อให้เกิดโมเดลที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าเนื้องานส่วนใหญ่จะเป็นการเขียนโปรแกรมอยู่กับข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ดังนั้นทักษะในการสื่อสารอาจจะไม่จำเป็น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทักษะในการสื่อสารหรือลักษณะนิสัยในเรื่องของการสื่อสารที่ดีเข้าใจได้ง่ายมีส่วนสำคัญในส่วนของการนำเอาโมเดลไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา หรือนำเอาไปพัฒนาธุรกิจต่าง ๆ เพราะในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นมีเทคนิคและการจัดการที่มีความซับซ้อนยากที่คนทั่วไปที่ไมไ่ด้เป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะเข้าใจได้ส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจำเป็นต้องมีทักษะในการเปลี่ยนความเข้าใจที่มีความยากซับซ้อนแปลงให้เป็นข้อมูลที่ง่ายและสื่อสารไปยังบุคคลที่จะนำเอาโมเดลไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทางด้านต่าง ๆ

สรุป

โดยสรุปแล้วการจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลหรือ “Data scientist” นั้นจะมีลักษณะนิสัยที่สำคัญอยู่หลากหลายแบบโดยหลักแล้วจะเป็นนิสัยที่ทำให้การทำงานทั้งในด้านการเขียนโปรแกรม การนำเอาความรู้ทางสถิติมาปรับใช้กับข้อมูล รวมไปถึงการนำเอาองค์ความรู้ที่เป็นแก่นหลักเอามาประยุกต์เข้ากับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดโมเดลที่ดีมีประสิทธิภาพ โดยนิสัยเหล่านั้นช่วยเสริมให้ทักษะทั้ง 3 ด้านที่กล่าวมาเกิดความโดดเด่น สามารถนำเอาทักษะเหล่านั้นมาวิเคราะห์ข้อมูลและนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้จริง สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับตัวข้อมูลที่ได้รับมา