การปกครองแบบ “ธรรมราชา” เริ่มในสมัยใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระมหาธรรมราชาที่ 1
พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช

พระบรมรูปพระมหาธรรมราชาที่ 1

พระมหากษัตริย์ไทย(อาณาจักรสุโขทัย)
ครองราชย์พ.ศ. 1890 - 1911 (21 ปี)
ก่อนหน้าพระยางั่วนำถุม
ถัดไปพระมหาธรรมราชาที่ 2
อัครมเหสีสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา
พระราชบุตรพระมหาธรรมราชาที่ 2
ราชวงศ์พระร่วง
พระราชบิดาพระยาเลอไทย
พระราชสมภพพ.ศ. 1843
อาณาจักรสุโขทัย
สวรรคตพ.ศ. 1911 (68 พรรษา)
อาณาจักรสุโขทัย
ศาสนาพุทธ

พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช[1], พระบาทกมรเตงอัญฦๅไทยราช [1], พระยาฦๅไทย[2] หรือ พญาลิไทย[3] (พระราชสมภพ พ.ศ. 1843 สวรรคต พ.ศ. 1911) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์พระร่วง(อาณาจักรสุโขทัย) ทรงเป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทย และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระราชประวัติ[แก้]

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
การปกครองแบบ ธรรมราชา” เริ่มในสมัยใด
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
การปกครองแบบ ธรรมราชา” เริ่มในสมัยใด
พ่อขุนบานเมือง
การปกครองแบบ ธรรมราชา” เริ่มในสมัยใด
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
การปกครองแบบ ธรรมราชา” เริ่มในสมัยใด
พระยาเลอไทย
การปกครองแบบ ธรรมราชา” เริ่มในสมัยใด
พระยางั่วนำถุม
พระมหาธรรมราชาที่ 1
การปกครองแบบ ธรรมราชา” เริ่มในสมัยใด
พระมหาธรรมราชาที่ 2
การปกครองแบบ ธรรมราชา” เริ่มในสมัยใด
พระมหาธรรมราชาที่ 3
การปกครองแบบ ธรรมราชา” เริ่มในสมัยใด
พระมหาธรรมราชาที่ 4

เป็นหลานปู่ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชพระยาลิไทยเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรสุโขทัย มีพระนามเดิมว่าฦๅไทย (ลือไทย) ซึ่งภาษาบาลีสะกดว่า ลิเทยฺย[4] (ลิไทย) ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางั่วนำถุม เดิมทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะอุปราชหรือรัชทายาทเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1882

เมื่อพระยาเลอไทยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1884 พระยางั่วนำถุมได้ขึ้นครองราชย์จนเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1890 พระยาลิไทยโดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม พระยาลิไทยยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงษ์รามมหาธรรมราชาธิราช

พระองค์ทรงรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่แยกเป็นอิสระให้กลับมารวมตัวอีกครั้ง อาณาเขตในรัชสมัยของพระองค์ได้แก่ เมืองต่าง ๆ ระหว่างแม่น้ำปิง แม่น้ำน่านและแควป่าสัก มีเชียงทอง (ตาก) กำแพงเพชร พระบาง (นครสวรรค์) ปากยม (พิจิตร) สองแคว สระหลวง (พิษณุโลก) ขึ้นไปถึงกลุ่มเมืองราด เมืองสะค้า เมืองลุมบาจา เมืองน่านและเชาบุรี (หลวงพระบาง)[5]

พระราชกรณียกิจ[แก้]

ศาสนา[แก้]

พระยาลิไทยทรงเลื่อมใสในศาสนาพุทธเป็นอย่างมากนโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนา เป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ด้วยทรงดำริว่าการจะขยายอาณาเขตต่อไปเช่นเดียวกับในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง พระอัยกา ก็จักต้องนำไพร่พลไปล้มตายอีกเป็นอันมาก พระองค์จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะปกครองบ้านเมืองเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงปกครองอินเดียให้เจริญได้ด้วยการส่งเสริมพระพุทธศาสนา และสั่งสอนชาวเมืองให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันจะเป็นวิธีรักษาเมืองให้ยั่งยืนอยู่ได้

ทรงสร้างเจดีย์ที่เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) ผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่วัดป่ามะม่วงการที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน แม้แต่พญากือนาแห่งอาณาจักรล้านนาก็นิมนต์พระสุมณเถระจากสุโขทัยไปเพื่อเผยแพร่ธรรมที่อาณาจักรล้านนา

นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

พระยาลิไทย ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกภาษาบาลี พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา"

พระยาลิไท ได้สร้างและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระธาตุช่อแฮ (วัดพระธาตุช่อแฮปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 1902

นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยยังทรงอุปถัมภ์ศาสนาฮินดูด้วยโดยทรงสร้างเทวรูปขนาดใหญ่หลายองค์ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพิษณุโลก

ภาษาและวรรณคดี[แก้]

ด้านอักษรศาสตร์ทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงที่นับเป็นงานนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ด้วยทรงเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกจึงทรงนิพนธ์ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ประเพณีในพระพุทธศาสนา โลกมนุษย์ สวรรค์ และนรก

นอกจากพระเจ้าลิไทยจะทรงนิพนธ์วรรณคดีเล่มแรกของไทยแล้ว ยังทรงดัดแปลงการเขียนหนังสือไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงสร้างไว้ โดยกำหนดให้มีสระข้างบน ข้างล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง รวมทั้งแก้ไขรูปพยัญชนะให้อ่านเขียนสะดวกขึ้น

การสร้างเมือง[แก้]

ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม

ทรงสร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวงโดยการย้ายเมืองซึ่งเคยอยู่ที่สองแควซึ่งเดิมอยู่ทางใต้ (วัดจุฬามณีในปัจจุบัน) แต่ยังคงเรียกว่าเมืองสองแควตามเดิม

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้]

นับแต่พระยาลิไทยได้ครองราชย์มา 2 ปี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา ได้ให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1ยกทัพมาตีเมืองชัยนาท หัวเมืองชั้นในของกรุงสุโขทัยด้วยขณะนั้นกรุงสุโขทัยอ่อนแอจากทุพภิกขภัย ข้าวกล้าในนาเสียหาย ชาวเมืองอดอยาก

ต่อมาพระยาลิไทยได้ส่งทูตไปเจรจาให้กรุงศรีอยุธยาคืนเมืองชัยนาทแต่โดยดี และจะยินยอมให้เป็นประเทศอิสระและมีไมตรีกันเช่นเดียวกับขอมที่ครองเมืองลพบุรี กรุงศรีอยุธยาเห็นควรด้วยเกรงว่าขอมจะร่วมมือกับกรุงสุโขทัยจัดทัพกระหนาบมาตี กรุงศรีอยุธยาจึงคืนเมืองชัยนาทให้พระยาลิไทย

หลังจากสัมพันธไมตรีระหว่าง 2 กรุงดำเนินมาได้ราว 10 ปี เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคต ไมตรีระหว่างกรุงสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยาก็เริ่มตึงเครียดขึ้น และเมื่อขุนหลวงพระงั่ว (พระบรมราชาธิราช) ได้ราชสมบัติครองกรุงศรีอยุธยา ก็ได้กรีธาทัพไปตีกรุงสุโขทัย สงครามระหว่าง 2 กรุงดำเนินไปถึง 6 ปีเศษ ขุนหลวงพระงั่วก็ไม่อาจเอาชัยทัพพระยาลิไทย กรุงสุโขทัยได้

พงศาวลี[แก้]

พงศาวลีของพระมหาธรรมราชาที่ 1
8. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
4. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
9. นางเสือง
2. พระยาเลอไทย
1. พระมหาธรรมราชาที่ 1

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ

  1. ↑ 1.0 1.1 ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย (2549). จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) ด้านที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  2. ศานติ ภักดีคำ. "พระนามกษัตริย์สุโขทัย : ความสัมพันธ์กับเขมรโบราณ". ดำรงวิชาการ. 6:1 (มกราคม-มิถุนายน 2550), หน้า 92
  3. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 33
  4. พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย ไตรภูมิกถา, หน้า 3
  5. ศิริสาร เหมือนโพธิ์ทอง. "การกัลปานาในจารึกสุโขทัย อยุธยา และธนบุรี-รัตนโกสินทร์" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 29.

บรรณานุกรม

  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย (PDF). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. p. 33. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-04-30.
  • ราชบัณฑิตยสถาน (2554). พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย ไตรภูมิกถา. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. p. 3.

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย

“ธรรมราชา” มีรูปแบบการปกครองเป็นอย่างไร

2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรง ยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะสู่ประชาชนด้วยการ ปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่1 พระองค์ ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย

สมัยพระยาลิไท ปกครอง แบบไหน

พระยาลิไทยทรงเลื่อมใสในศาสนาพุทธเป็นอย่างมากนโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนา เป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ด้วยทรงดำริว่าการจะขยายอาณาเขตต่อไปเช่นเดียวกับในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง พระอัยกา ก็จักต้องนำไพร่พลไปล้มตายอีกเป็นอันมาก พระองค์จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะปกครองบ้านเมืองเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศก ...

การปกครองแบบพ่อปกครองลูกเกิดขึ้นในสมัยใด

1. การปกครองแบบ พ่อปกครองลูกหรือแบบ ปิตุลาธิปไตย - สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ - สมัยพ่อขุนบานเมือง - สมัยพ่อขุนรามคาแหง เป็นการปกครองแบบ ครอบครัว 2. การปกครองแบบธรรม ราชา - พระมหาธรรมราชาที่1 - 4 - ใช้หลักศาสนาคือ

การปกครองแบบธรรมราชาใช้หลักธรรมในศาสนาใดปกครอง

ปรัชญาฮินดูมีผู้ปกครองที่เรียกว่า “ธรรมราชา” เป็นวรรณะกษัตริย์ มีสถานะเป็น ทั้งธรรมราชาและเทวราชา ปกครองบ้านเมืองภายใต้หลักเทวาธิปไตย และมีเป้าหมายเพื่อให้ คนทุกวรรณะอยู่เป็นสุขในเทวรัฐ ส่วนตามพุทธปรัชญาเถรวาท ผู้ปกครองแบบธรรมราชาต้อง เป็นผู้มีคุณธรรมประจำตัว และมีหน้าที่ทางศีลธรรมต่อสังคม ปกครองบ้านเมืองโดยหลัก ...