ประสบการณ์ทํางาน เขียนอย่างไร

  • Career Path

ประวัติการทำงานใน Resume ต้องเขียนยังไงให้ดูเป็นมืออาชีพ ? วิธีเขียน Resume ที่ดีควรทำยังไง ?เมื่อพูดถึงประวัติการทำงาน หลายคนคงนึกถึงการเขียนประวัติลง Resume ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก การเขียนประวัติการทำงานที่ดี ก็เหมือนคุณมีใบผ่านทางที่ดี เพราะเจ้าประวัติการทำงานนี้จะเป็นสิ่งที่จะการันตีถึงประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละคน และสามารถทำให้คุณกลายเป็นคนที่น่าสนใจอย่างมากในสายตาผู้อ่าน

การเขียนแนะนำตัวก็ต้องเขียนประสบการณ์การทำงานของตัวเองลงไปไม่ใช่หรอ ? แล้วมันต่างกับประวัติการทำงานที่ Talance จะนำมาเล่าตรงไหน?

เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ วิธีเขียน Resume ที่ดีควรเริ่มจากการเขียนแนะนำตัวฉบับย่อ (Summary Statement) ซึ่งเป็นการแนะนำตัวเองคร่าว ๆ ให้คนอ่านรู้จักคุณ เพียงแค่บอกชื่อ – นามสกุล ตำแหน่งงาน และประสบการณ์ทั้งหมดที่คุณมี มาสรุปเป็นภาพรวมย่อ ๆ ให้อ่านเข้าใจภายใน 2 – 4 บรรทัด

ส่วนการเขียน ประวัติการทำงานใน Resume จะเป็นการอธิบายประสบการณ์การทำงานของคุณอีกที แต่เป็นการอธิบายโดยละเอียด คือคุณต้องนำประสบการณ์หรืองานโปรเจกต์ของคุณมาโชว์แยกเป็นรายการตรงส่วนนี้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อบริษัทที่เคยทำงานหรือทำงานให้อยู่ หรือโปรเจกต์ที่คุณรับผิดชอบ ถ้าสามารถบอกหน้าที่ในโปรเจกต์ หรือความสำเร็จทั้งที่วัดผลได้หรือจะวัดไม่ได้ด้วยจะถือว่าเป็นประวัติการทำงานที่น่าดึงดูดมาก

กระซิบนิดนึง…
สิ่งที่ HR หรือผู้ว่าจ้างอยากเห็น ประวัติการทำงานใน Resume ของ Developer คือ ข้อมูลโปรเจกต์ รายละเอียดงาน และทักษะที่ใช้ในแต่ละโปรเจกต์ เชื่อเถอะว่าชื่อบริษัทกับตำแหน่ง สำหรับผู้ว่าจ้างแล้วมันไม่ได้น่าสนใจเท่าประสบการณ์จริงของคุณหรอก

วิธีเขียน ประวัติการทำงานใน Resume ที่ดี ต้องใส่อะไรลงไปบ้าง?

1. ข้อมูลโปรเจกต์ คือภาพรวมโปรเจกต์หรืองานที่คุณเคยทำ มีส่วนช่วยให้คนที่อ่านสามารถรับรู้ว่าเคยผ่านงานแบบไหนมาบ้าง ยิ่งถ้าเป็นโปรเจกต์ที่มีลักษณะคล้ายกับสิ่งที่ทางผู้ว่าจ้างกำลังต้องการยิ่งทำให้คนอ่านสนใจในตัวคุณมากขึ้น ซึ่งรายละเอียดสำหรับข้อมูลโปรเจกต์ที่ควรใส่ใน Resume ประกอบไปด้วย

  • ชื่อโปรเจกต์
  • ตำแหน่งในโปรเจกต์
  • ผู้ว่าจ้าง / บริษัท
  • ประเภทอุตสาหกรรม
  • ตัวอย่างผลงาน / URL
  • ระยะเวลาที่ทำโปรเจกต์

2. รายละเอียดงาน คือ เนื้อหาของงานที่คุณรับผิดชอบในโปรเจกต์นั้น ๆ ว่าระหว่างปฏิบัติหน้าที่คุณได้มีส่วนร่วมอะไร และผลลัพธ์ของการทำงานนี้เป็นยังไง เรามักจะเห็นการเขียนรายละเอียดงานเป็นประโยคยาว ๆ โดย วิธีเขียน Resume สำหรับหัวข้อรายละเอียดงานนั้นเนื้อหาที่ปราฏใน Resume ควรประกอบไปด้วย 2 หัวข้อ ได้แก่

  • หน้าที่ / ความรับผิดชอบ
  • ความสำเร็จ

ยกตัวอย่างการเขียนรายละเอียดงาน เช่น

Refactored and upgraded the continuous integration code of our main repository and created a gem to make available to other projects.

3. (สำหรับ Developer) ทักษะ พวก Languages, Frameworks, Libraries หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ทำประกอบโปรเจกต์นั้น ๆ เป็นส่วนที่แสดงถึงความชำนาญของแต่ละคน เพราะยิ่งจำนวนโปรเจกต์ที่มีทักษะเดียวกันหลาย ๆ โปรเจกต์อยู่ในส่วนของประวัติการทำงานมีจำนวนมากเท่าไหร่ ก็สะท้อนกลับมาถึงความสามารถของคุณเอง ดีกว่าการเอาสกิลที่ชำนาญ ไปผสมรวมกับสกิลอื่น ๆ ที่คุณอาจจะใช้คำว่าทำได้ในส่วนของ Skill ที่หลาย ๆ คนมักชอบใส่ลงในเรซูเม่อย่างแน่นอน

สำหรับ Developer ที่สนใจเรียนรู้ วิธีเขียน Resume แบบมืออาชีพ สามารถดูตัวอย่างได้ที่ เทคนิคการทำ Resume สำหรับ Developer


สรุป
วิธีเขียน Resume ที่ดีนั้น เราควรใส่ประวัติการทำงานลงไปใน Resume ด้วย ซึ่งประวัติการทำงานเป็นส่วนสำคัญที่สำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนประสบการณ์ของผู้สมัครได้ตรงที่สุด เป็นเหมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดให้ผู้ว่าจ้างเข้ามาสนใจจากงานที่คุณเคยทำ การเขียนประวัติการทำงานให้ดีถึงเป็นเรื่องจำเป็นมาก Talance หวังว่าข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนประวัติการทำงานที่เราเอามาแบ่งปันจะช่วยให้คุณสร้างประวัติการทำงานเจ๋ง ๆ ของตัวเองขึ้นมาได้

  • 1. สร้างความโดดเด่นให้กับตัวเองด้วยทักษะ
        • Administrative Skill (ดูแลระบบ)
        • Customer Service Skill (ลูกค้าสัมพันธ์)
        • Problem Solving Skill (การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า)
  • 2. จับงานที่คล้ายกันเข้ามาไว้ด้วยกัน
  • 3. แสดงความก้าวหน้าในอาชีพ
    • ตัวอย่าง : Management Experience จากงานที่เคยทำมาก่อนหน้านี้
  • 4. ออกโรงด้วย COVER LETTER เสริมจุดเด่นเหนือคู่แข่ง
        • ตัวอย่าง: คุณเคยเป็นพนักงาน Call Center มาก่อน และอยากสมัครงานตำแหน่ง Human Resources Coordinator

ต่อเนื่องจากบทความ เกมส์ความคิด MULTIPOTENTIALITE” THE FEAR OF MAKING A CAREER SHIFT “Multipotentialite” หมายถึง คนที่มีความสนใจหลายศาสตร์ มีความสามารถรอบด้าน แต่บ่อยครั้งที่คนกลุ่มนี้ประสบกับความรู้สึกหลงทาง เหมือนตัวเองไม่ได้เก่งอะไรสักอย่าง จึงเป็นที่มาให้รู้สึกเหมือนค้นหาตัวเองไม่เจอ และเปลี่ยนงานบ่อย ซึ่งจริงๆ แล้วเชื่อว่าไม่มีใครอยากโดนตราหน้าว่าเป็น Jop Hopper การเขียน Resume ที่ดีเป็นวิธีที่จะทำให้คนกลุ่มนี้มีโอกาสได้งานมากขึ้น แต่ต้องเขียนเรซูเม่อย่างไร สำหรับคนที่ประสบการณ์ (ต่างสายงาน) เยอะ จะจับ Skill ที่เหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับงานเข้ามาอยู่ในเรซูเม่ยังไงให้เข้าตา?

ประสบการณ์ทํางาน เขียนอย่างไร

Skillsolved มี Resume Template ให้ Download ได้ฟรีนะคะ คลิกได้เลยค่ะ 🙂

1. สร้างความโดดเด่นให้กับตัวเองด้วยทักษะ

เปลี่ยนจากเรซูเม่แบบ Traditional (Chronological ที่ต้องเขียนประวัติการทำงานของคุณในรูปแบบ Timeline) มาเป็นลักษณะ Functional Resume ที่เน้นเรื่องทักษะมากกว่า

เริ่มต้นจากการ Create a Skill-Set List จับทักษะที่คล้ายคลึงกันมากรุ้ปกันก่อน โดยเลือกมาประมาณ 3-4 ทักษะที่เป็นทักษะหัวใจหรือจำเป็นสำหรับตำแหน่งงานที่คุณกำลังสมัคร พูดถึงประวัติการทำงานของคุณ ในส่วนล่างของทักษะ ตามด้วยประสบการณ์หรือรางวัลที่เกี่ยวข้องกับทักษะนั้นๆ โดยระบุชื่อตำแหน่งงาน วันที่การจ้างงานและชื่อบริษัทที่เคยทำงานด้วย

การเขียนเรซูเม่แบบนี้จะทำให้ Recruiter ที่กำลังมองหาทักษะมากกว่าประสบการณ์เข้าหาคุณได้ง่าย และเป็นการดึงจุดโฟกัสไปที่ทักษะที่คุณมี คนอ่านจะรู้สึกได้ถึงการที่คุณได้ใช้ทักษะต่างๆ นี้มาในมาอย่างสม่ำเสมอในการทำงาน มากกว่าการไปสนใจด้านประวัติการทำงานต่างสายงานของคุณ

ตัวอย่าง : สมัครงานตำแหน่ง IT Administrator

Administrative Skill (ดูแลระบบ)

ตัวแหน่งงาน : Administrator บริษัท : XXX
วันที่การจ้างงาน : XX/XX/XX – XX/XX/XX
เคยมีประสบการณ์เป็นแอดมินของบริษัท หน้าที่หลักต้องประสานงานด้านเอกสาร ตรวจสอบการชำระเงินของบริษัท เป็นจำนวนหลายร้อยรายการต่อเดือน และจัดส่งรายงานให้หัวหน้าทีมตามกำหนดเวลาอย่างเข้มงวด ตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการและค่าใช้จ่ายของสำนักงาน คอยดูแลไม่ให้บริษัทต้องจ้ายค่าธรรมเนียมที่ล่าช้า

Customer Service Skill (ลูกค้าสัมพันธ์)

ตัวแหน่งงาน : พนักงาน Call Center บริษัท : XXX
วันที่การจ้างงาน : XX/XX/XX – XX/XX/XX
เคยทำงานที่บริษัทที่ขายสินค้าออนไลน์ หน้าคือก็ต้องรับสายลูกค้าให้ได้ตาม Target ใน 1 เดือน สามารถขาย Promotion, Package ให้ได้ตามเป้า และต้องไม่มี Case Complaint จากลูกค้าในเดือนนั้นๆ  ได้ใช้ภาษาอังกฤษทุกวัน ได้ฝึกความอดทน

Problem Solving Skill (การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า)

จากการที่ได้เรียนรู้ระบบงานของ Call Center มา จึงรู้ถึงข้อดีข้อเสีย สามารถประยุกต์ใช้ได้ตามสถานการณ์และช่วยออกแบบ Solution มาแก้ปัญหาได้ ศึกษาเรื่อง IVR (ซอฟต์แวร์ Interactive Voice Respond) ว่าสายเข้ามาได้ยังไง สายมาจากไหน โอนสายอย่างไร และจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างไรถ้าสายเข้าบังเอิญเข้ามารวมกันกลายเป็นการประชุมสายไป

ประสบการณ์ทํางาน เขียนอย่างไร

2. จับงานที่คล้ายกันเข้ามาไว้ด้วยกัน

จัดเรียงประวัติการทำงานของคุณตามประเภทอุตสาหกรรม สามารถมีหลายกลุ่มได้ แต่ภายในกลุ่ม แต่ละตำแหน่งจะต้องมีความสอดคล้องกับหัวข้อ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเคยเป็นทั้งพนักงาน Call Center และพนักงานแคชเชียร์ในห้างดังมาก่อน ให้ตั้งหัวข้อว่า ‘Service Industry’ และบรรยายสั้นถึงๆ หน้าที่ความรับผิดชอบในช่วงที่ทำงานตำแหน่งนั้นๆ แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่งานก่อนหน้าของคุณมีเหมือนกัน เช่น การเป็น Call Center และพนักงานแคชเชียร์ สิ่งที่ต้องมีเหมือนกันคือ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ และความอดทนที่เป็นเลิศ สิ่งนี้ทำให้ Recruiter เห็นว่า คุณสามารถปรับตัวให้เข้ากับแต่ละตำแหน่งงานได้ ถึงแม้จะเป็นตำแหน่งงานที่ต่างกันก็ยังสามารถนำทักษะจากงานก่อนมาปรับใช้กับอีกงานได้

3. แสดงความก้าวหน้าในอาชีพ

สร้างชาร์ท Career Path ขึ้นมา ในที่นี้หมายถึง เส้นทางความก้าวหน้าสายอาชีพของตำแหน่งงานที่เราต้องการสมัคร อธิบายว่าเริ่มต้นทำงานในตำแหน่งใด จากตำแหน่งนั้นได้เติบโตไปเป็นอะไรได้บ้าง โดยอาจเริ่มจากตำแหน่งแรกสุดไว้ด้านล่างสุด ค่อยๆ ไล่ขึ้นไปด้านบนจนถึงตำแหน่งสูงสุดในปัจจุบัน จัดให้อยู่ในระนาบเดียวกัน โดยใช้ทักษะเป็นตัวตั้ง ชาร์ทนี้ทำขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการสั่งสมประสบการณ์และผลงาน ในแต่ละตำแหน่งที่เคยทำมา มันอาจมีน้ำหนักมากพอที่จะทำให้นายจ้างมองข้ามการทำงานต่างสายงานของคุณไปได้

ตัวอย่าง : Management Experience จากงานที่เคยทำมาก่อนหน้านี้

ประสบการณ์ทํางาน เขียนอย่างไร

คุณอาจใส่รายละเอียดเพิ่มเติมไปว่า ตอนที่ทำงานเป็นพนักงาน Call Center นั้นเริ่มมาจากการเป็นพนักงานฝึกหัด (Management Trainee) หลังจากเปลี่ยนสถานที่ทำงาน ไปเป็นพนักงานแคชเชียร์ในห้างสรรพสินค้า ได้เข้ารับในตำแหน่งหัวหน้าแคชเชียร์ (Group Leader) และกำลังอยากพัฒนาตัวเองให้ก้าวไปสู่ Division Leader ให้ได้ ซึ่งถ้าวางได้ไปจนถึงสูงสุดแล้วว่าเราอยากเป็นอะไรก็จะดีมาก เมื่อคนอ่านเห็นเส้นทางการวางแผนเส้นที่ชัดเจน เขาจะประเมินได้ว่าจากจุดที่คุณยืนวันนี้ และสิ่งที่บริษัทมองหา คุณสามารถโตได้ที่บริษัทของเขา หรือควรจะไปโตที่อื่นคือทางเลือกที่ดีกว่า

4. ออกโรงด้วย COVER LETTER เสริมจุดเด่นเหนือคู่แข่ง

นอกเหนือจาก 3 Tips ที่แนะนำไปด้านบน ในส่วนของ การศึกษา ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างที่จำเป็น ก็ควรใส่ลงไปด้วย เรียงลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง และที่ขาดไปไม่ได้คือ Cover Letter ไม่ใช่แค่จดหมายนำที่เอาไว้เกริ่น แต่เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้สมัครที่มีประสบการณ์ต่างสายเยอะ เป็นเหมือนบทนำให้กับคนที่จะมาดู Portfolio และ Resume คุณสนใจคุณได้

โครงสร้างของ Cover Letter ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ เกริ่นนำ, เนื้อความ และ บทสรุปส่งท้าย คุณควรเขียนแนะนำตัวให้กระชับ แต่บอกถึงความต้องการและสิ่งที่คุณคิดว่าตัวคุณสามารถช่วยบริษัทได้อย่างไรบ้าง

หากได้รับโอกาสเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่สมัครไป เอาสิ่งที่เขียนลงไปใน Resume ไม่ได้ มาเขียนใน Cover Letter แทน ดังนั้นภาษาที่คุณใช้ควรแสดงถึงความตั้งใจในการสมัคร และควรเป็นสำนวนทางการ

ตัวอย่าง: คุณเคยเป็นพนักงาน Call Center มาก่อน และอยากสมัครงานตำแหน่ง Human Resources Coordinator

คุณอาจเขียนว่า :
“My experience working for a call center, as a retail clerk and as a salesperson have helped me develop significant people skills that will help me work well with your employees in the role of human resources coordinator.”
“จากประสบการณ์การทำงานที่เคยเป็นพนักงาน Call Center ในส่วนขายปลีกและในฐานะพนักงานขาย ช่วยให้ผมสามารถพัฒนาทักษะทางสังคม และด้านลูกค้าสัมพันธ์เป็นอย่างมาก ซึ่งจุดนี้ผมเชื่อว่าจะช่วยต่อยอดให้ผมทำงานได้ดีกับบริษัทของคุณ ในบทบาทของผู้ประสานงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล”

About The Author

ประสบการณ์ทํางาน เขียนอย่างไร

Penny

You’ve heard the famous saying, “Choose a job you love, and you will never have to work a day in your life.” But what if you have yet to figure out what it is that makes your heart beat faster ? or, an even more common scenario ? I'm here to suggest how to turn what you love doing into a lucrative career path.

More from SkillSolved