แอร์ inverter ขนาด 9000 BTU กินไฟกี่วัตต์

คำถามยอดฮิตอันดับสองรองจากแอร์ยี่ห้อไหนดีของลูกค้าสยามเจริญแอร์เราคือ “แอร์ตัวนี้...กินไฟไหม” คำตอบของเราจะอ้างอิงค่าไฟรายปีจากฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ออกโดยกระทรวงพลังงาน เพราะฉนั้นหากท่านมีแอร์อยู่แล้ว แนะนำให้ดูค่าไฟจากฉลากประหยัดไฟบริเวณหน้ากากแอร์ของท่านได้เลยครับ ทั้งนี้ค่าไฟที่แสดงดังกล่าวมักจะอ้างอิงจากการใช้งานปกติโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8 ชั่วโมง/วันครับ หรือท่านสามารถกรอกค่าต่าง ๆ ผ่านเครื่องคำนวณด้านล่างเพื่อดูค่าไฟได้ทันที

แบบฟอร์มคำนวณค่าไฟแอร์

หากท่านต้องการคำนวณค่าไฟโดยคร่าวเองท่านสามารถลองเติมตัวเลขเข้าแบบฟอร์มคำนวณด้านล่างนี้ได้เลยครับ

หรือถ้าท่านอยากทราบที่มาว่าค่าไฟที่ระบบคำนวณนั้นมาอย่างไร ลองอ่านในหัวข้อถัดไปได้เลยครับ


สูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าแอร์

สำหรับที่มาของสูตร

ค่าที่ท่านต้องหามาเข้าสูตรมี 5 ค่าครับ

  1. BTU
  2. ค่า SEER
  3. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน
  4. จำนวนวันที่ใช้งาน
  5. ค่าไฟต่อหน่วยตามการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

แล้วนำไปเข้าสูตรด้านล่างนี้ครับ

BTU / ค่า SEER / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน x จำนวนวันที่ใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

เช่นค่าไฟแอร์ยี่ห้อแคเรียร์ รุ่น X-Inverter Plus รหัสรุ่น 42TVAB018/38TVAB018

  1. ขนาด 18,000 BTU  
  2. ค่า SEER 22.5 (หาดูได้จากแคตตาล็อกหรือหน้าสินค้าของเราครับ)
  3. ใช้วันละ 8 ชั่วโมง
  4. คำนวณต่อเดือนตีไป 30 วัน
  5. ค่าไฟฟ้าสมมุติหน่วยละ 3.2484 บาท (ใช้น้อยกว่า 150 หน่วยต่อเดือน)

ก็จะได้เป็น

18000 / 22.5 / 1000 x 8 x 30 x 3.2484 = 624 บาท

ค่าไฟแคเรียร์ รุ่น X-Inverter Plus ขนาด 18000 BTU ก็จะประมาณ 624 บาท/เดือนครับ ถ้าอยากทราบรายปีก็เอาไปคูณ 12 ก็จะได้เป็น 7,488 บาท/ปี

อย่างไรก็ตามหากท่านดูจากฉลากประหยัดไฟ ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะเป็นค่าเฉลี่ยคือ 3.96 ครับ เนื่องจากค่าไฟฟ้ามีการแปรผันตามอัตราก้าวหน้า ถ้าเราลองมาคำนวณตามค่าเฉลี่ย 3.96 ก็จะได้ดังนี้ครับ

18000 BTU / ค่า SEER 22.5 / ค่าคงที่ 1000 x 8 ชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย 3.96 = 9250.56 หรือปัดเศษ 9,251 บาท/ปี ตามฉลากเป๊ะๆเลยครับ

แอร์ inverter ขนาด 9000 BTU กินไฟกี่วัตต์


อัตราการคิดค่าไฟฟ้า

จากการไฟฟ้านครหลวง

หากท่านกำลังสงสัยว่าแล้วตัว "ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย" ของบ้านท่านมันหน่วยละกี่บาทกันแน่ ท่านสามารถดูตารางด้านล่างนี้ได้เลยครับ

1.1 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

จำนวนหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง)หน่วยละ (บาท)
15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1 – 15) 2.3488
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25) 2.9882
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35) 3.2405
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100) 3.6237
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150) 3.7171
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) 4.2218
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) 4.4217

1.2 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน

จำนวนหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง)หน่วยละ (บาท)
150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1 – 150) 3.2484
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) 4.2218
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) 4.4217

1.3 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff )

On PeakOff Peak
แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ 5.1135 2.6037
แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ 5.7982 2.6369

อ้างอิงตารางค่าไฟต่อหน่วยจาก การไฟฟ้านครหลวง

หากท่านมีคำถามใด ๆ เพิ่มเติม ที่สยามเจริญแอร์พอจะช่วยท่านได้ โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเราครับ

ขอบคุณครับ

มองหาแอร์ใหม่พร้อมติดตั้งราคาไม่แพง?

เราจำหน่ายแอร์พร้อมติดตั้งทุกยี่ห้อ ใหม่แกะกล่อง มีใบรับประกันจากผู้ผลิต รับประกันราคาคุ้มค่า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมหน้าสินค้าของเรา

           

ตารางเปรียบเทียบอัตรากินกระแสของเครื่องปรับอากาศ

แอร์ inverter ขนาด 9000 BTU กินไฟกี่วัตต์

ค่าโหลดของเครื่องปรับอากาศแบบ Split Type 1 เฟส 230 -240 V

ค่าโหลดของเครื่องปรับอากาศแบบ Split Type 3 เฟส 380 -400 V 

12000 BTU โหลด 1500 VA กินกระแสประมาณ 6.52 A (คิดที่ 230 V) 
18000 BTU โหลด 1700 VA กินกระแสประมาณ 7.39 A (คิดที่ 230 V) 
24000 BTU โหลด 2600 VA กินกระแสประมาณ 11.30 A (คิดที่ 230 V) 
36000 BTU โหลด 4200 VA กินกระแสประมาณ 18.26 A (คิดที่ 230 V) 

48000 BTU โหลด 6120 VA กินกระแสประมาณ 8.83 (คิดที่ 400 V) 
60000 BTU โหลด 7830 VA กินกระแสประมาณ 11.30 (คิดที่ 400 V) 
72000 BTU โหลด 9740 VA กินกระแสประมาณ 14.06 (คิดที่ 400 V) 
84000 BTU โหลด 12180 VA กินกระแสประมาณ 17.58 (คิดที่ 400 V) 
96000 BTU โหลด 12970 VA กินกระแสประมาณ 18.72 (คิดที่ 230 V) 
108000 BTU โหลด 14020 VA กินกระแสประมาณ 20.23 คิดที่ 400 V) 
120000 BTU โหลด 16450 VA กินกระแสประมาณ 23.74 คิดที่ 400 V) 
150000 BTU โหลด 18820 VA กินกระแสประมาณ 27.16 (คิดที่ 400 V)
180000 BTU โหลด 22900 VA กินกระแสประมาณ 33.05 คิดที่ 400 V) 
240000 BTU โหลด 35540 VA กินกระแสประมาณ 51.29 คิดที่ 400 V)


แอร์ ขนาด BTU, กินไฟ unit/year, กระแส

เรื่องแอร์รำคาญใจผมมานานแล้ว วันนี้เลยลงทุนอ่านอย่างจริงจัง (นิดหน่อย) จากอินเตอร์เนตหวังว่าคงเชื่อถือได้บ้างนะครับ ถ้าผมเข้าใจอะไรผิดก็ช่วยแนะนำด้วยนะครับหน่วยที่ใช้บอก
ขนาดความสามารถในการทำความเย็นของแอร์ คือ BTU/hour หรือ ที่เขาเรียกย่อๆว่า BTU โดย แอร์ขนาด 12,000 BTU/hour มักจะถูกเรียกว่า แอร์ 1 ตัน โดย 1 BTU/hour = 0.293
Watt (กำลังงานในการทำความเย็น) แอร์ 12,000 BTU/hr มีความสามารถในการทำความเย็น 3,517 Watt แต่นี่คือความสามารถในการทำความเย็น ไม่ใช่กำลังไฟที่จะปรากฎมาที่มิเตอร์
ที่เราต้องจ่ายการไฟฟ้านะครับ แอร์จะบอกค่า EER หรือประสิทธิภาพของแอร์มาด้วย EER (Energy Efficiency Ratio) = Output Cooling Energy in BTU/Input Electrical Energy in
        Wh. หรือพูดง่ายว่า พลังงานที่เราใช้ในการเปิดแอร์ 1 ชั่วโมง คิดได้จาก
         E = (ค่า BTU/hr ของแอร์)/EER
         เช่น เปิด แอร์ขนาด 12,000 BTU/hour ที่มีค่า EER = 11 ไป 1 ชั่วโมง ใช้ไฟเท่ากับ 12,000/11 = 1,091 Wh.
เรียกว่า แอร์ตัวนี้กินไฟเท่ากับ 1,091 W.
และถ้าอยากรู้กระแสที่ใช้ ซึ่งจริงๆแล้ว แอร์หลายๆเจ้าจะบอกมาใน spec. เช่น ของ Daikin (http://www.daikinac.com/commercial/docsSheets.asp)
จะบอกว่า:
        min. circuit amp. 8.3 A
        max. fusible amp. 15 A
        rated load amp. 6.1 A.
หรือ หมายความว่า สายไฟที่ใช้กับแอร์ตัวนี้ต้องทนไฟได้อย่างน้อย 8.3 A. เปิดใช้ทั่วๆไป จะใช้ไฟไม่เกิน 6.1 A แต่ถ้าขอไฟจาก การไฟฟ้ามา 5A ก็จะไม่พอใช้เพราะ มันจะใช้อยู่แถวๆ 6.1 A(ยังไม่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นเลย) ใช้งานปกติยังไงไม่เกิน 15 A เพราะงั้นถ้าซื้อ fuse/breaker ก็ซื้อ 15A.อีกนิดเรื่องไฟฟ้า

ถ้า กำลังงานไฟฟ้าที่ใช้คือ 1,091 W และเรารู้ว่าใช้ไฟ 220 V แปลว่ากระแส คือ 1,091/220 = 4.96 A หรือเปล่า?
คำตอบ: ไม่เชิง.

      เพราะว่า สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับแล้ว
      กำลังงาน (watt) = แรงดัน (V) x กระแสไฟฟ้า (A) x PF
      โดยตัวสุดท้ายคือ Power Factor ซึ่งโดยทั่วไป PF มีค่าราวๆ 0.6 - 0.8 ขึ้นอยู่กับเครื่องไฟฟ้า

ผมอ่านดูในเวปหลายๆที่เขาบอกว่า ถ้าไม่รู้ว่า PF เท่าไร ให้ใช้ค่า 0.6
เช่น ถ้า แอร์เรากินไฟ 1,091 W กะคร่าวๆ มันน่าจะกินกระแส 1091/(220 x 0.6) = 8.26 A ดังนั้น เราควรเตรียมไฟฟ้าให้พอจ่ายกระแส 8.26 A ถ้าจะเปิดแอร์ตัวนี้ครับ (เปิด 2 ตัวก็ 17 A) ถ้าจะขอไฟการไฟฟ้า บางคนบอกว่า ขอ 15 A แต่ โหลดไปได้ถึง 45 Aผมก็ไม่รู้ครับ แต่ถ้าเป็นผม จะติดแอร์แบบนี้ 2 ตัว ผมว่าผมขอไฟ 30 A (100A) จากการไฟฟ้ามาดีกว่าครับ เรื่องกินไฟ ตีง่ายๆว่า unit ละ 3.28 และ 1 unit = 1 kWh
ดังนั้น
แอร์กินไฟ 1,091 W ถ้าเปิด 1 ชั่วโมงจะใช้ไฟ 1.091 kWh
ถ้าเปิดเฉลี่ย 4 hours/day ทุกวันทั้งปี จะใช้ไฟเท่ากับ 1.091 x 4 x 365 = 1,554 kWh/year หรือ 1,554 units/year. เป็นเงินราวๆ 5,096 บาทต่อปี (คิดที่ 3.28B/unit) แล้วห้องขนาดนี้ใช้ แอร์ขนาดกี่บีทียู เวปไซต์นี้เลยครับ: Air Conditioner Calculator ใส่ขนาดห้อง, บอกสภาพฉนวนของห้อง (เยี่ยม ดีมาก ดี กลางๆ แย่), บอกระดับแดดที่ห้องโดน, ห้องเป็นห้องครัว? แล้วมันจะบอกขนาดแอร์เป็นบีทียูมาให้ (แต่อาจต้องบวกเพิ่มบ้างนะครับ มันเป็นเวปต่างประเทศ) ขอ ความสงบ ร่มเย็น เป็นสุข มีแก่ทุกท่านครับ ขอบคุณครับ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
* Wikipedia: EER, BTU, Air Conditioner
* http://www.powerknot.com/how-efficient-is-your-air-conditioning-system.html
* และอีกหลายๆที่

แอร์ 9000 btu กินไฟเท่าไร

อัตราการกินไฟ (จำนวนวัตต์) = 1040. ... .

แอร์ Inverter 9000 BTU กินกระแสกี่แอมป์

แอร์ 9,000 บีทียู = 3.5 แอมป์

แอร์9000 btu กินไฟกี่แอมป์

แอร์ขนาด 9,000 BTU ใช้สายไฟขนาด 2.5 ตร.มม. ก็จะใช้ เบรกเกอร์ขนาด 10-15(16) Amp ครับ .

แอร์ไดกิ้น 9000 btu กินไฟกี่วัตต์

9000 BTU มันประมาณ800 วัตต์ พอดีผมเห็นมัน 1,400 Watt เลยน่าจะ 4บาท