ซื้อบ้านหลังแรกต้องทํายังไงบ้าง

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ และเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ถ้าคุณยังใช้งานต่อไป ทางบริษัทฯ จะเก็บคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ได้ที่

  • รับซื้อที่ดิน

  • เกี่ยวกับพฤกษา

9 ก.พ. 2022

บริการพฤกษา

โอกาสทางธุรกิจ

เกี่ยวกับพฤกษา

ติดตามข่าวสาร

บริการพฤกษา

โอกาสทางธุรกิจ

เกี่ยวกับพฤกษา

© Copyright Pruksa 2021. All Rights Reserved.

ซื้อบ้านหลังแรกต้องทํายังไงบ้าง
ซื้อบ้านหลังแรกต้องทํายังไงบ้าง

การตัดสินใจซื้อบ้านในแต่ละครั้งนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตของเรามาก เพราะเป็นการซื้อทรัพย์สินครั้งใหญ่และคงไม่ได้มีโอกาสซื้อบ่อยๆ หลายๆคนก็อาจจะยังไม่มีประสบการณ์มาก่อน จึงเกิดความกังวลว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้เราสามารถกู้เงินได้อย่างไม่มีปัญหา มาดูขั้นตอนง่ายๆ ในการซื้อบ้านว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

1. เตรียมเอกสารการกู้เงิน


โดยปกติแล้วธนาคารจะขอข้อมูลและเอกสารต่างๆเพื่อดูว่าเราเป็นใคร ทำงานอาชีพอะไร มีรายได้เท่าไหร่ มีความสามารถในการกู้มากน้อยแค่ใหน และต้องการกู้เงินเพื่อซื้อบ้านที่ไหน มูลค่าเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นแล้วเอกสารที่เราจะต้องเตรียมให้ครบนั้นจึงประกอบด้วย สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สลิปเงินเดือนและบัญชีเงินฝากย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน และข้อมูลบ้านที่เราจะซื้อ ไม่ว่าจะเป็นแผนที่ โฉนดที่ดิน สัญญาจะซื้อจะขายหรือมัดจำ

2. หาอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเปรียบเทียบของแต่ละธนาคาร


แน่นอนว่าในแต่ละธนาคารนั้นให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน เราควรจะต้องตรวจสอบและคำนวณความคุ้มค่าของแต่ละข้อเสนอของธนาคาร เช่น เปอร์เซ็นต์วงเงินกู้ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่างๆที่เราต้องจ่าย ระยะเวลาในการกู้ ค่างวดผ่อนชำระเป็นต้น ในเบื้องต้นเราควรคำนวณดูว่าข้อเสนอลักษณะไหนที่เหมาะสมกับความต้องการของเรา และทำการยื่นขอกู้อย่างน้อย 3 ธนาคาร

3. ยื่นเอกสาร รอฟังผลกับทางธนาคารและเลือกธนาคารที่ตรงกับความต้องการ


หลังจากที่เรายื่นเอกสารเพื่อขอกู้เงินกับทางธนาคารแล้ว ธนาคารจะทำการพิจารณาดอกเบี้ยและวงเงินตามความเสี่ยงและภาระของเรา หากเราเป็นลูกค้าชั้นดี มีภาระหนี้สินในชีวิตไม่มาก แถมเป็นคนหาเงินเก่งมีเงินเข้าอยู่ตลอดเวลา มีที่มาของรายได้ที่ชัดเจนและมีความมั่นคงธนาคารก็สามารถอนุมัติวงเงินกู้ได้มาก รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าได้ ในทางกลับกันหากธนาคารมองเห็นความเสี่ยงทางการเงินเพราะมีรายได้ที่ไม่มั่นคง ไม่พร้อมที่จะเป็นหนี้ ธนาคารก็อาจจะปฏิเสธคำขอกู้เงินหรืออาจจะไม่ได้ให้วงเงินและดอกเบี้ยตามที่เราต้องการได้

  เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งที่สำคัญมากๆในการวางแผนก็คือเราจะต้องรักษาประวัติและสร้างเครดิตที่ดีและเตรียมเอกสารที่แสดงถึงความสามารถในการหารายได้ของเราให้ได้พร้อมที่สุด ทั้งนี้เมื่อได้ผลอนุมัติการกู้เงินจากธนาคารต่างๆแล้ว ลองเปรียบเทียบกันดูอีกครั้งว่าข้อเสนอของแต่ละแห่งนั้นมีรายละเอียดแตกต่างอย่างไรบ้างและเราเหมาะสมกับแผนไหน แล้วจึงเลือกใช้บริการธนาคารที่เราเห็นว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

4. ตรวจรับโอนบ้านและจดจำนอง


เมื่อเงินกู้ได้รับการอนุมัติแล้วอย่าลืมนัดกับผู้ขายในการเข้าไปตรวจบ้านให้อยู่ในสภาพที่พร้อมโอน เมื่อทุกอย่างลงตัวแล้วก็ทำการนัดกันระหว่างเราในฐานะผู้ซื้อ ผู้ขายทรัพย์สิน และธนาคารที่เรากู้เงิน ไปทำเรื่องการซื้อขายและจดจำนองที่สำนักงานที่ดินอำเภอ ทุกอย่างจะดำเนินการต่อหน้าเจ้าหน้าที่ โดยธนาคารจะมอบเช็คเพื่อชำระเงินให้กับผู้ขาย ผู้ขายจะทำการโอนกรรมสิทธิ์บ้าน โดยที่เราจะต้องทำการจดจำนองว่าธนาคารเป็นผู้ชำระเงินและเราเป็นลูกหนี้ธนาคารที่จะต้องชำระเงินกู้ตามสัญญา โฉนดฉบับจริงนั้นธนาคารจะเป็นผู้เก็บไว้จนกว่าเราจะผ่อนทรัพย์สินได้ทั้งหมด แล้วเราค่อยมาขอคืนในภายหลัง สิ่งที่เราจะได้รับคือกุญแจบ้านในการเข้าไปพักอาศัยได้

เห็นไหมว่าการกู้เงินซื้อบ้านเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยากอะไรเลย เพียงแค่เราจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมในการกู้ ตั้งแต่การเตรียมเอกสารเพื่อขอกู้ การเปรียบเทียบรายละเอียดของอัตราดอกเบี้ยและข้อมูลต่างๆที่สำคัญเพื่อให้เราสามารถกู้เงินได้ตรงตามความต้องการมากที่สุดเมื่อได้รับวงเงินกู้แล้วก็ทำการนัดผู้ขายและธนาคารมาทำเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนอง หลังจากนั้นเราก็จะมีบ้านเป็นของตัวเองได้ อย่าลืมสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับการกู้เงินก็คือเราจะต้องรักษาประวัติทางการเงินของเราให้ดี

บทความโดย
ปริตา ธิติปรีชาพล
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

First Jobber เริ่มต้นกู้ซื้อบ้านหลังแรก ต้องรู้อะไรบ้าง

คำถามสำคัญของการกู้ซื้อบ้านหลังแรก

  • เงินเดือนเท่าไรถึงจะกู้ซื้อบ้านหลังแรกได้
  • ทำงานนานเท่าไรถึงจะกู้ซื้อบ้านได้
  • อายุเท่าไรถึงเหมาะจะกู้ซื้อบ้าน

คำตอบภาพรวมของคุณสมบัติผู้กู้นี้ คือ เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ อายุ 20 ปีขึ้นไป ทำงานประจำอย่างน้อย 6 เดือน และผ่านการทดลองงานแล้ว ควรมีรายได้อย่างน้อย 10,000 - 15,000 บาท ต่อเดือน ไม่ควรมีภาระหนี้สินที่ต้องจ่ายต่อเดือนเกิน 60% ของรายได้ หากกังวลว่าจะกู้ไม่ผ่าน ควรเตรียมหาผู้กู้ร่วมแต่เนิ่นๆ

บ้านหลังแรกกู้ได้เท่าไร? อยากรู้ต้องคำนวณเป็น

สูตรการคำนวณความสามารถในการกู้ซื้อบ้านหลังแรกนั้นง่ายมาก จากหลักการของธนาคารทั่วไปที่ปล่อยกู้เริ่มต้นที่ 40% ของเงินรายได้ ดังนั้นจึงคำนวณด้วยการนำเงินเดือนมาคูณด้วย 40% ถ้าอยากทราบว่า กู้บ้านหลังแรกได้เท่าไร ดูตัวอย่างการคำนวณที่คิดจาก เงินเดือน 30,000 บาท ดังนี้

ระยะเวลาผ่อนชำระ / วงเงินกู้บ้านหลังแรกสูงสุด

  • 15 ปี / 2,160,000 บาท
  • 20 ปี / 2,880,000 บาท
  • 25 ปี / 3,600,000 บาท
  • 30 ปี / 4,320,000 บาท
  • 35 ปี / 5,040,000 บาท

5 เอกสารสำหรับกู้บ้านหลังแรกที่สำคัญ

ธนาคารส่วนใหญ่ต้องการเอกสารสำคัญ 5 หมวดหมู่นี้ สำหรับยื่นกู้บ้าน ได้แก่

1. เอกสารส่วนตัว

ธนาคารต้องการทราบข้อมูลเบื้องต้นของว่าที่ลูกหนี้ว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน มีประวัติพื้นฐานเป็นอย่างไร เพื่อยืนยันว่าลูกหนี้มีตัวตนจริง ได้แก่

- บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรที่ทางราชการออกให้
- ใบเปลี่ยนชื่อ สกุล ถ้ามี
- หากสมรสแล้วจะขอดูเอกสารสำเนาทะเบียนสมรส พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรส

กรณีสมรสแล้ว ก็ต้องมีหนังสือยินยอมถามความสมัครใจจากคู่สมรสแนบอยู่ในสัญญาด้วย

2. เอกสารทางการเงิน

ธนาคารจะออกสินเชื่อกู้บ้านหลังแรกให้แก่ผู้ที่มีรายได้แน่นอนเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ หรือเจ้าของกิจการ ก็จะกำหนดรายละเอียดไว้อย่างชัดเจน เอกสารการขอสินเชื่อกู้บ้านที่ใช้แสดงสถานภาพทางการเงิน ได้แก่

- กรณีเป็นพนักงานประจำ ใช้หนังสือรับรองเงินเดือน, สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน, สำเนาเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน

- กรณีเจ้าของกิจการ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ใช้เอกสารสำเนาเดินบัญชีย้อนหลัง 12 เดือน และหลักฐานการเงินอื่นๆ ฉบับจริงเท่านั้น หากจดทะเบียนต้องใช้สำเนาทะเบียนการค้า (ทะเบียนบริษัท หรือ ทะเบียนห้างหุ้นส่วน), หลักฐานการเสียภาษีเงินได้, รูปถ่ายกิจการ กรณีเป็นวิชาชีพเฉพาะ ใช้สำเนาใบประกอบวิชาชีพด้วย

นอกจากเอกสารแสดงสถานะทางการเงินในที่กล่าวมานี้ หากคุณเพิ่งเริ่มต้นกู้บ้าน แต่เคยกู้ซื้อทรัพย์สินอื่นๆ แต่ปิดปัญชีหมดแล้ว หรือเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สินอื่นๆ ก็สามารถยื่นเพิ่มเติมได้เพื่อเป็นหลักประกันว่ามีรายได้เพียงพอที่จะใช้หนี้ ส่วนใหญ่หากกู้ผ่านตัวแทน หรือโครงการบ้านเขาจะแนะนำให้แนบไปเพิ่มเติม

3. หนังสือให้ยินยอมตรวจสถานะประวัติค้างชำระหนี้ 

4. เอกสารหลักประกัน 

หนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย เอกสารการวางมัดจำ เป็นสิ่งที่ธนาคารจะใช้พิจารณาเบื้องต้น เพื่อจะเดินทางไปตรวจสอบประเมินมูลค่าสินทรัพย์ เมื่อกู้ผ่านธนาคารจะนำโฉนดเข้าชื่อเป็นของธนาคารก่อน แล้วหากเราผ่อนชำระกับธนาคารหมด ก็จะทำเรื่องเปลี่ยนชื่อมาเป็นของเราภายหลัง

5. เอกสารของผู้กู้ร่วม (ถ้ามี)

การเป็นผู้กู้ร่วม ไม่เหมือนการเป็นผู้ค้ำประกันของสินเชื่ออื่นๆ การกู้ร่วมคือผู้กู้ร่วมต้องยื่นเอกสารแสดงตัวตนและรายได้ รวมถึงเอกสารยินยอมให้ตรวจประวัติค้างชำระหนี้กับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) ด้วย ส่วนมากผู้กู้ร่วมจะเป็นญาติพี่น้อง คู่สมรส บิดามารดา

อย่าลืมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อซื้อบ้าน

เมื่อกู้ซื้อบ้านแล้ว เท่ากับว่าคุณก็จะมีภาระทางการเงินที่ต้องดูแลมากขึ้น จึงต้องนำรายจ่ายส่วนนี้มาประเมินกับยอดกู้ซื้อบ้านด้วย เช่น

  • ค่าใช้จ่ายวันโอน ได้แก่ ค่าจดจำนอง, อากรแสตมป์, ค่าประเมินพื้นที่ เป็นต้น
  • ค่าใช้จ่ายเมื่อเริ่มเข้าอยู่ ได้แก่ ค่าจดมิเตอร์น้ำประปาและไฟฟ้า, ค่าเฟอร์นิเจอร์, ค่าต่อเติมเพื่ออยู่อาศัย เป็นต้น
  • ค่าบำรุงรักษารายปี เช่น ค่าส่วนกลาง, ประกันอัคคีภัย, ค่าปรับปรุงบ้าน, ประกันชีวิต เป็นต้น

ไทยรัฐออนไลน์มีคำแนะนำเพิ่มเติมแก่ผู้ที่ต้องการกู้บ้านหลังแรก คือ อายุที่เหมาะสมกับการกู้อยู่ที่ 20 - 40 ปี เพราะธนาคารส่วนใหญ่ให้กู้กับบุคคลที่มีอายุ 20 - 70 ปี เมื่อรวมอายุกับระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 65 - 70 ปี เพราะฉะนั้น ในยามที่ยังมีความสามารถ คนที่เริ่มต้นเข้าสู่วัยทำงานก็ควรคิดเรื่องกู้บ้านไว้ เผื่ออนาคตจะได้กู้พร้อมกับคู่ชีวิต หรือยื่นกู้คนเดียวเพื่อเก็บเป็นทรัพย์สินยามเกษียณ