ลาออกจากกองทุน สำรอง เลี้ยงชีพ ได้ กี่ ครั้ง

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

บลจ.กสิกรไทย ได้รวบรวมข้อมูลภาษีและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนเพื่อความสะดวกในการศึกษาเกี่ยวกับภาษีในเบื้องต้นเท่านั้น กรุณาศึกษารายละเอียดภาษีเพิ่มเติมด้วยตัวเองอีกครั้ง


สมาชิกกองทุนหน้าที่ของสมาชิกสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ลูกจ้าง จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน ลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ไม่เกินปีละ 500,000 บาท*
นายจ้าง จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน หักเป็นค่าใช้จ่ายตามจริงได้ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างปีนั้น ๆ

หมายเหตุ​

*เงินสะสมที่ส่งเข้าในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง สามารถนำมาหักลดหย่อนในการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกินปีละ 490,000 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี

เงินกองทุนที่สมาชิกจะได้รับเมื่อพ้นสมาชิกภาพก่อนเกษียณ

  • กรณีลาออกจากงานและอายุงานน้อยกว่า 5 ปี / ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน สมาชิกจะต้องนำส่วนของเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสมทบ มารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี
  • กรณีลาออกจากงานและมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป สมาชิกสามารถเลือกเสียภาษีโดยนำไปรวมกับเงินได้อื่น หรือเลือกที่จะแยกเสียภาษีจากเงินได้อื่นได้ หากเลือกแยกเสียภาษีจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับ 7,000 คูณจำนวนปีที่ทำงาน เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายได้อีกครึ่งหนึ่ง

เงินกองทุนที่สมาชิกจะได้รับเมื่อพ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุออกจากงานเมื่อมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์

  • กรณีสมาชิกมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินที่ได้รับจากกองทุน ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีทั้งจำนวน

ข่าวดีของคนกำลังจะลาออก: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีทางเลือกแล้ว!

ลาออกจากกองทุน สำรอง เลี้ยงชีพ ได้ กี่ ครั้ง

ลาออกจากกองทุน สำรอง เลี้ยงชีพ ได้ กี่ ครั้ง

ลาออกจากกองทุน สำรอง เลี้ยงชีพ ได้ กี่ ครั้ง

คุณเป็นคนหนึ่งหรือไม่? ที่ลาออกจากงานก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับเงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

บางคนลาออกไปไม่กี่เดือน ก็นำเงินไปใช้จ่ายจนเกือบหมดสิ้น

แล้วแบบนี้เราจะทำอย่างไรกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถ้าเราลาออกจากบริษัท?

มาดู 3 ทางเลือก ถ้าคุณลาออก คุณจะจัดการกับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างไรบ้าง?

1. ยังคงไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างต่อได้อีก 1 ปี

คุณยังได้รับเงินผลประโยชน์ในการลงทุนต่อ แต่จะไม่มีเงินสมทบ แล้วรอจนกระทั่งคุณพร้อมกับการทำงานที่ใหม่ซึ่งคุณอาจจะโอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างใหม่ได้

2. โอนย้ายไปยังกองทุนรวม RMF

ข้อดีคือ เพื่อช่วยให้ลูกจ้างสามารถออมเงินต่อเนื่องได้เท่าที่ต้องการ สามารถที่จะเลือกนโยบายการลงทุนได้เอง และช่วยเรื่องภาษีอีกด้วยคือ ใช้ลดหย่อนภาษีได้

Update: นักลงทุนสามารถซื้อกองทุน SSF-RMF กับ FINNOMENA ได้แล้ว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ https://finno.me/tax-saving-fund1452

3. นำเงินไปลงทุนต่อเอง

ถ้าเป็นทางเลือกนี้จะต้องดูว่าท่านเสียภาษีอย่างไรและเท่าไร และที่สำคัญ คุณต้องสามารถลงทุนได้ผลตอบแทนที่ชนะทั้งผลตอบแทนของ SET Index  และ กองทุนประเภทหุ้น แบบ Active Fund

3.1) อายุงานน้อยกว่า 5 ปี ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี จะต้องยื่นรวมไปกับเงินได้ประจำปีภาษี

โดยเงินที่จะต้องคำนวณการเสียภาษี คือ เงินที่นายจ้างสมทบและผลประโยชน์จากการลงทุน

เช่น ทำงานมา 4 ปี ได้รับเงินจากกองทุน 150,000 บาท โดยมีเงินสะสมของตัวเอง 70,000 บาท

และมีเงินสมทบจากนายจ้าง 70,000 บาท พร้อมผลประโยชน์จากการลงทุน 10,000 บาท

ดังนั้น เงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษี คือ เงินสมทบจากนายจ้าง 70,000  + ผลประโยชน์ 10,000 = 80,000

จะเสียเงินสำหรับภาษีเท่าไร ก็ให้คำนวณจากฐานการเสียภาษีอีกครั้ง

3.2) อายุงาน 5 ปีขึ้นไป แต่อายุไม่เกิน 55 ปี จะต้องยื่นแยกในการเสียภาษี

ดังนั้น เงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษี  คือ

[(เงินสมทบจากนายจ้าง+เงินผลประโยชน์การลงทุน)(7,000 x อายุงาน)] / 2

โดยเงินก้อนนี้นำไปแยกยื่นได้ ไม่ต้องไปรวมกับ เงินได้ประจำปีภาษี

เช่น ทำงานมาแล้ว 6 ปี  ได้รับเงินจากกองทุน  250,000 โดยเป็นเงินสะสมของตัวเอง 100,000

และมีเงินสมทบจากนายจ้าง 100,000 พร้อมผลประโยชน์จากการลงทุน 50,000

ดังนั้น เงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษี คือ 150,000  = เงินสมทบจากนายจ้าง 100,000  + ผลประโยชน์ 50,000 = 150,000

เงินที่จะต้องนำไปคิดเสียภาษี  คือ [ (150,000 – (6×7,000)]/2 = 54,000 บาท

จะเสียเงินสำหรับภาษีเท่าไร ก็ให้คำนวณจากฐานการเสียภาษีอีกครั้ง

3.3) อายุสมาชิกของกองทุน 5 ปีขึ้นไป และ อายุ 55 ปีขึ้นไป ไม่ต้องเสียภาษี

แม้จะมีหลายทางเลือก  แต่ทางเลือกที่ดี คือ ทางเลือกที่จะทำให้คุณมีออมต่อเนื่อง และเลือกนโยบายการลงทุนเองได้ คือ โอนย้ายไปยัง กองทุนรวม RMF หรือ โอนไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่

สมพจน์ พัดสุวรรณ
WealthGuru

ลาออกจากกองทุน สำรอง เลี้ยงชีพ ได้ กี่ ครั้ง

ผู้เขียน

ลาออกจากกองทุน สำรอง เลี้ยงชีพ ได้ กี่ ครั้ง

WealthGuru

คุณ สมพจน์ พัดสุวรรณ CEO BMK Wealth Management ผู้ก่อตั้งเพจ WealthGuru