เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลาออก

ช่วงปี 2020 ถือว่าเป็นช่วงเวลาวิกฤตอีกครั้งหนึ่งของโลก จากการระบาดของ COVID-19 จนทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ถ้าหากเราย้อนดูตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจโดยเฉพาะของไทย ปี 2020 น่าจะเป็นอีกช่วงเวลาที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบสูงติดอันดับต้น ๆ อย่างแน่นอน

เมื่อเกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ สิ่งหนึ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ 'การจ้างงาน' ที่ลดลง ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีคนบางกลุ่มที่ตกงาน หรือมีการถูกหักโอที ปรับลดลงเงินเดือน ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือ การขาด 'สภาพคล่อง' ในการดำรงชีวิต เนื่องจากเมื่อรายได้หดหายไปแต่รายจ่ายไม่ได้ลดตามไปด้วย ทำให้บางคนมีกระแสเงินสดติดลบได้

เมื่อเวลาที่เราประสบกับเหตุการณ์ที่ขาดสภาพคล่องหลายคนมักจะมองหาแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่ม 'สภาพคล่อง' และ 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' ก็เป็นแหล่งที่ถูกหมายตามากที่สุดแหล่งหนึ่ง เนื่องจากมีจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับแหล่งเก็บเงินอื่น ๆ แต่รู้กันหรือไม่ว่าการถอนเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนอายุเกษียณนั้นมี 'ค่าใช้จ่ายแฝง' ที่ตามมา

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าวัตถุประสงค์หลักที่นายจ้างจัดตั้ง 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' นั้น เพื่อให้สมาชิกมีเงินเก็บไว้ใช้เมื่อเกษียณอายุ โดยต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 5 ปีและสามารถถอนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น แต่ถ้าสมาชิกถอนเงินออกจากกองทุนก่อน 2 เงื่อนไขข้างต้น สมาชิกอาจไม่ได้รับเงินทั้งหมดที่เห็นในรายงาน เนื่องจากจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องของภาษีเพิ่มเติม ซึ่งโดยทั่วไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเรานั้นจะประกอบด้วยเงิน 4 ส่วน
1. เงินสะสม คือ เงินของสมาชิกที่ออม 2-15% ของรายได้เข้ากองทุนทุกเดือน
2. เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างออมเพิ่มเติมให้ลูกจ้างตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท
3. ผลประโยชน์ของเงินสะสม คือ กำไรที่ได้จากการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของเงินสะสม 
4. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ คือ กำไรที่ได้จากการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของเงินสมทบ

ซึ่งการถอนเงิน 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' แล้วจะต้องมีการคำนวณเพื่อเสียภาษีเพิ่มเติมจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี 

กรณีที่ 1: ถอนเงินจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานหรือออกจากงานโดยที่อายุงานน้อยกว่า 5 ปี สำหรับกรณีนี้จะต้องนำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 ไปคิดรวมกับเงินได้ในปีที่เราถอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกตามอัตราของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรณีที่ 2: ออกจากงานที่อายุงาน 5 ปีขึ้นไป แต่อายุไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ 
สำหรับกรณีนี้ จะต้องนำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 มาบวกรวมกัน จากนั้นให้นำ "7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน" หักลบออกไป และให้หารด้วย 2 อีกครั้ง สุดท้ายให้เรานำเงินที่ได้จากคำนวณแล้วไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือสามารถยื่นแยกกับภาษีเงินได้ประเภทอื่น ๆ ได้

สมมติว่าทำงานมา 15 ปี แต่อายุไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเมื่อเรานำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 มาบวกรวมกันได้ 300,000 บาท จากนั้นให้นำ 7,000 มาคูณกับ 15 ปีที่เป็นจำนวนปีที่ทำงานจะได้เท่ากับ 105,000 บาท และเมื่อนำไปลบกับ 300,000 บาทจะได้ 195,000 บาท สุดท้ายให้เราหารด้วย 2 อีกครั้งจะคิดเป็นเงินเท่ากับ 97,500 บาท เงินจำนวน 97,500 บาทนี้ คือจำนวนเงินที่ไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือเราสามารถเลือกนำเงินจำนวนนี้ไปแยกยื่นเพื่อให้เสียภาษีเงินได้น้อยลงได้อีกด้วยนั่นเอง 

แต่สำหรับกรณีที่ลาออกจากงานเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไปและเป็นสมาชิกมาไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินที่เรานำออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน  ซึ่งนอกจากเรื่องของภาษีที่เราต้องคำนวณให้ดีก่อนถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องอัตรา 'เงินสมทบ' ที่เราอาจจะไม่ได้รับเต็มจำนวนสำหรับกรณีที่เราถอนออกก่อนด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท ซึ่งโดยทั่วไปจะมีเรื่องของ 'อายุงาน' เป็นตัวกำหนดว่าจะต้องทำงานอย่างน้อยกี่ปีถึงจะได้ 'เงินสมทบ' เต็มจำนวน ซึ่งถ้าถอนก่อนหน้าเวลาที่กำหนดจะได้อัตราเงินสมทบตามอายุงานตามที่แต่ละบริษัทกำหนด 

'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' คือ แหล่งเก็บเงินเพื่อการเกษียณที่ดีที่สุดตัวหนึ่งที่จะช่วยการันตีให้กับเราได้ว่าในยามที่เราเกษียณตัวเองแล้ว จะสามารถรักษามาตรฐานการดำรงชีวิตให้เหมือนกับตอนที่เรายังทำงานได้ ซึ่งการถอนเงิน 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' ออกก่อนกำหนด นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายแฝงต่าง ๆ ที่เราต้องจ่ายแล้ว ยังมีโอกาสที่เราจะนำเงินไปใช้จ่ายผิดประเภท เนื่องจากโดยปกติแล้วคนเรามักมีแนวโน้มจ่ายเงินมากขึ้นเมื่อมีเงินสดถืออยู่ในมือจำนวนมาก ทำให้เรามีความเสี่ยงที่อาจจะมีเงินไม่พอกับการเกษียณก็เป็นไปได้เช่นกัน

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ ผลตอบแทนในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ควรทำอย่างไรกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อออกจากงาน??

25 กันยายน 2558

สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลาออกจากงาน มักจะมีคำถามว่า ควรทำอย่างไรกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดี ?

ตามที่ท่านทราบกันดีว่าเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ เงินสะสม (ส่วนที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุน) เงินสมทบ (ส่วนที่นายจ้างจ่ายให้) ผลประโยชน์เงินสะสม  และผลประโยชน์เงินสมทบ (สิ่งประโยชน์ที่งอกเงยจากการลงทุน)

เงินที่เป็นสิทธิของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแน่นอนคือ “เงินสะสม”และ”ผลประโยชน์เงินสะสม” ส่วน”เงินสมทบ”และ”ผลประโยชน์เงินสมทบ” จะได้รับก็ต่อเมื่อสมาชิกปฏิบัติตามเงื่อนไขของกองทุนฯ เช่น มีอายุงานถึงเกณฑ์ที่กำหนด เป็นต้น

เมื่อท่านออกจากงานจะมีวิธีในการจัดการกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรนั้น วันนี้เราขอนำเสนอทางเลือกสำหรับท่านสมาชิก 2 ทางคือ

1) ท่านสามารถขอรับเงินกองทุนทั้งก้อน โดยถือว่าเป็นการลาออกจากระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ

2) ยังไม่ประสงค์ที่จะรับเงินก้อนนี้ โดยขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อน

  1. ถ้าท่านประสงค์ที่จะรับเงินจากกองทุนทั้งจำนวน

ข้อพึงระวังคือ หากสมาชิกลาออกจากกองทุนโดยที่ยังไม่เข้าเงื่อนไขการได้รับการยกเว้นภาษี สมาชิกอาจจะเสียผลประโยชน์จากเงินสมทบที่จะได้รับไม่เต็มจำนวน อีกทั้ง เงินที่ได้รับจากกองทุนในส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสะสม และเงินสมทบ จะต้องถูกหักภาษี ตามเงื่อนไขเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย โดยขอชี้แจงหลักเกณฑ์ในเบื้องต้นดังนี้

สมาชิกจะต้องตรวจสอบว่าเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของสมาชิกทั้ง 3 ส่วน อันได้แก่ ผลประโยชน์เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์เงินสมทบ เข้าเงื่อนไขการได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ ซึ่งปกติเงินดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวนก็ต่อเมื่อสมาชิกออกจากงานโดยมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ใหม่ที่เคยนำเสนอให้ท่านในวารสารครั้งที่แล้ว หรือกรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพเท่านั้น

ถ้าสมาชิกไม่ได้เข้าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เงินกองทุนทั้ง 3 จำนวนสามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้บางส่วนกรณีที่สมาชิกลาออกจากงานโดยอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป (หักค่าใช้จ่ายได้ 2 ส่วน 7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน ที่เหลือหักค่าใช้จ่ายได้ครึ่งหนึ่ง และสามารถนำไปแยกยื่นภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมกับรายได้อื่นเพื่อคำนวณภาษี) แต่ถ้าท่านมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปีจะต้องนำเงินทั้ง 3 ส่วนนั้นไปรวมกับรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี

  1.  ยังไม่ประสงค์ที่จะรับเงินก้อนนี้ โดย ”คงเงิน” ไว้ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

การคงเงินเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการออมอย่างต่อเนื่องโดยไม่ขาดช่วงแม้มีการเปลี่ยนงาน จึงมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน

ที่นี้มาดูประโยชน์จากการคงเงิน

อายุสมาชิกต่อเนื่องเมื่อมีการย้ายงาน

ถ้าท่านได้งานใหม่กับนายจ้างที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายในก่อนสิ้นระยะเวลาการคงเงิน ท่านสามารถขอให้โอนเงินจากกองทุนเดิมไปเข้ากองทุนใหม่ได้โดยท่านไม่จำเป็นต้องรับเงินออกจากกองทุน ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกยังไม่มีภาระภาษี เนื่องจากเงินที่ขอคงไว้ยังไม่ถือเป็นเงินได้ของสมาชิก

คงเงินไว้เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี

สมาชิกที่ต้องการคงเงินต่อเพื่อรออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามเงื่อนไขของทางกรมสรรพากร เพื่อที่จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เพื่อรอตลาดปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น

ตามที่ทราบกันว่าเงินที่อยู่ในกองทุนนั้นจะถูกนำไปลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่ท่านกำหนด ซึ่งอาจมีทั้งกำไรและขาดทุน ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดแต่ละขณะ โดยเฉพาะการลงทุนในนโยบายตราสารทุน ซึ่งเมื่อตลาดอยู่ภาวะที่มีความผันผวน และส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นลดลง การคงเงินเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ท่านสามารถให้เงินในกองทุนยังคงลงทุนต่อเพื่อให้ตลาดมีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นและค่อยนำเงินออกจากกองทุนต่อไป

ทั้งนี้ ท่านสมาชิกอาจต้องศึกษาข้อบังคับกองทุนของตน ว่ามีระยะเวลาที่สามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้นานเท่าใด ซึ่งข้อบังคับต้องกำหนดเวลาไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออกจากงาน และมีค่าธรรมเนียมในการคงเงินอยู่ที่ 500 บาทต่อปี นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้สมาชิกดังกล่าวยังคงสภาพป็นสมาชิกกองทุนต่อเนื่อง ทำให้เงินที่สมาชิกคงไว้ในกองทุนสามารถนำไปลงทุนและได้รับผลประโยชน์งอกเงยได้ และสมาชิกก็จะยังคงได้รับ ”ใบรับรอง/รายงานยอดเงินสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund Statement)” แจ้งยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตนคงเงินไว้ตามรอบปกติอีกด้วย

ลาออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ยังไง

ลาออกหรือย้ายงานจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรให้เคลียร์?.
1. ฝากไว้กับ บลจ. เดิมก่อน ... .
2. ย้ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ ... .
3. โอนเงินเข้าไปซื้อกองทุน RMF สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ... .
4. เปลี่ยนสภาพกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นเงินสด.

เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ จะได้ตอนไหน

สมาชิกจะได้รับเงินภายใน 30 วันนับแต่วันที่สิ้นสมาชิกภาพ ตามวิธีการรับเงินที่ระบุไว้ ดังนั้น หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่ได้รับเงิน สมาชิกควรทวงถามไปยังคณะกรรมการกองทุนหรือบริษัทจัดการ ทั้งนี้ หากมีเจ้าหนี้ขอรับเงินแทนสมาชิกหรือมีบุคคลใดขอยึดหรือหน่วงเหนี่ยวเช็คไว้ จะไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า เงินที่ ...

ทำงานกี่ปีถึงจะได้เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ถ้าทำงานครบ 1 ปี จะได้เงินสมทบ 10% ถ้าทำงานครบ 3 ปี จะได้เงินสมทบ 50% ถ้าทำงานครบ 5 ปีขึ้นไป จะได้เงินสมทบ 100% ก่อนลาออกจากที่ทำงานก็อย่าลืมดูเงื่อนไขนี้ก่อนน้า แต่ส่วนของเงินที่เราจ่ายสะสมไป รวมถึงผลตอบแทนจากเงินสะสมของเรา เราจะได้คืนแน่ ๆ 100% อันนี้ไม่ต้องกังวลไปนะ

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยึดได้ไหม

-เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท ----อายัดไม่ได้ (พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) แต่ถ้าทำกองทุนต่างๆกับธนาคารต้องดูตามหลักเกณฑ์ของ กองทุนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ และมีข้อห้ามการบังคับคดีหรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ และไม่มี ข้อห้ามก็จะอายัดได้