ภาษาไทยสำคัญกับวัฒนธรรมไทยอย่างไร

เรื่อง วัฒนธรรมและภาษา

ภาษาไทยสำคัญกับวัฒนธรรมไทยอย่างไร

ความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมและภาษา

วัฒนธรรม (culture)   หมายถึง   สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นอันได้แก่   ประเพณี   ความคิดความเชื่อต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม  และถ่ายทอดสืบเนื่องต่อกันมาอย่างมีแบบแผนและเป็นมรดกของสังคมในที่สุด

ลักษณะของวัฒนธรรม

วัฒนธรรมมีลักษณะต่างๆ ดังนี้

๑. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้   รับและถ่ายทอดสิ่งต่างๆ จากมนุษย์ด้วยกันจากรุ่นต่อรุ่น

๒. วัฒนธรรมถือเป็นมรดกทางสังคม   ภาษาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดวัฒนธรรม   ถ้าไม่มีภาษาจะไม่สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมหรือพัฒนาวัฒนธรรมให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นต่อไปได้

๓. วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์   เราสามารถจำแนกวัฒนธรรมของสังคมหนึ่งออกจากอีกสังคมหนึ่งได้   ทั้งนี้เพราะแต่ละสังคมมนุษย์ย่อมมีวิถีชีวิต   การดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไป   จนมีลักษณะเฉพาะตน

๔. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่คงที่   ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ   ทั้งนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของคนในสังคมที่คิดจะเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงวัฒนธรรมของตนให้เจริญงอกงามขึ้น   เหมาะสมกับสภาพชีวิตและแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในสมัยของตน

ประเภทของวัฒนธรรม

๑. วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม   เช่น   ที่อยู่อาศัย   เครื่องมือเครื่องใช้  สิ่งก่อสร้างต่างๆ  ภาษา  ยานพาหนะต่างๆ เป็นต้น

๒. วัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม   เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจมีความเจริญงอกงาม  ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต   ได้แก่  การปฏิบัติทางศาสนา   ขนบธรรมเนียม  ประเพณี

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม

๑. ภาษาเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่ในสังคมต่อไปมิให้สูญหาย

๒. ภาษาสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชนในชาติ   ซึ่งบันทึกไว้ในวรรณคดีมุขปาฐะ (เล่าต่อๆ กันมา)  และวรรณคดีลายลักษณ์

๓. ภาษาแสดงให้เห็นพัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละสังคม

๔. ภาษาเป็นเครื่องแสดงระดับวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษา

๕. ภาษาถือเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ

๖. ภาษาสะท้อนให้เห็นลักษณะและวิถีชีวิตของชนในชาตินั้นๆ

๗. ภาษาเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่ทำให้คนในชาตินึกถึงความเป็นชาติเดียวกัน   เป็นพวกเดียวกัน

ความหลากหลายของวัฒนธรรม

วัฒนธรรมของชาติต่างๆ แตกต่างกันไปด้วยเหตุต่างๆ ดังนี้

๑. สภาพภูมิอากาศ

๒. ที่ตั้ง

๓. ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น

๔. กลุ่มชนแวดล้อม

๕. นักปราชญ์หรือผู้นำของกลุ่มชน

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม   คือ   แบบแผนการใช้ชีวิตของมนุษย์ในวัฒนธรรมหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าแตกต่างจากวัฒนธรรมอื่น  มีเอกลักษณ์   มีความโดดเด่นเฉพาะตัว

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทย   มีดังนี้

๑.ความไม่กีดกันคนต่างชาติต่างภาษา

๒.ความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา

๓.ความรักสงบ

๔.ความพอใจในการประนีประนอม

๕.การไม่แบ่งชั้นวรรณะ

ภาษาไทยสำคัญกับวัฒนธรรมไทยอย่างไร

ภาษาไทยมีระดับการใช้ภาษาในสังคม  สังคมไทยมีลักษณะเป็นสังคมอุปถัมภ์  มีการ

ให้ความเคารพนับถือผู้อาวุโสลดหลั่นกันไป  นอกจากนี้ยังเป็นสังคมที่ให้ความเทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์  และยึดมั่นในศาสนา ซึ่งการใช้ภาษาตามระดับของบุคคล  เพื่อแสดงความเคารพนบนอบ  และการให้เกียรตินี้ถือเป็นวัฒนธรรมทางการใช้ภาษารูปแบบหนึ่ง  เราจะเห็นได้ว่าภาษาไทยมีการแบ่งระดับของภาษาอย่างชัดเจน  เช่น  มีภาษาที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ  หรือเรียกว่า  “คำราชาศัพท์”  มีคำเฉพาะสำหรับพระภิกษุสงฆ์  หรือแม้แต่แต่บุคคลทั่วไปก็ยังมีระดับของภาษาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  เช่นคำว่า  กิน  หากใช้กับพระมหากษัตริย์จะใช้คำว่า  เสวย  พระภิกษุสงฆ์  ใช้คำว่า  ฉัน  และสำหรับสุภาพชนทั่วไปใช้คำว่า รับประทาน เป็นต้น

ภาษาไทยมีการรับภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้ในภาษาไทย   สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศ เข้ามาปนในภาษาไทยเนื่องมาจากอิทธิพลทางด้านต่างๆ  ได้แก่  อิทธิพลทางด้านภูมิศาสตร์  ด้านประวัติศาสตร์  ด้านการพาณิชย์  ด้านศาสนา  ด้านเทคโนโลยี  ด้านธุรกิจส่วนตัว

และอื่นๆ  ภาษาเป็นเรื่องของวัฒนธรรมย่อมมีการถ่ายทอดกันได้เสมอทำให้มีภาษาต่างประเทศเข้ามาปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก  เช่น  ภาษาจีน  ภาษาญี่ปุ่น  ภาษาชวา – มลายู  ภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤต  ภาษามอญ  เป็นต้น

ภาษาไทยสำคัญกับวัฒนธรรมไทยอย่างไร

ภาษาไทยมีภาษามาตรฐานเพื่อใช้สื่อสารทางราชการ  ภาษามาตรฐาน  เป็นภาษา

ที่คนทั้งชาติที่ได้รับการศึกษาสามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี โดยปกติเราถือว่าภาษาไทยที่ใช้กันอยู่ในเมืองหลวงเป็นภาษไทยมาตรฐาน  ทั้งนี้เพราะเป็นศูนย์กลางการติดต่อของคนทั่วไป  เป็นภาษาของสุภาพชน  และใช้ในราชการ  เช่น  แถลงการณ์ของรัฐบาล  ประกาศของทางราชการ  ใช้ในการติดต่อราชการ  ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาที่ง่าย ทุกท้องถิ่นสามารถเข้าใจได้  ไม่ใช้ภาษาถิ่น  ไม่ใช้คำหยาบ  ไม่ใช้ภาษาเก่าที่เลิกใช้ไปแล้ว  หรือคำตลกคะนอง  นอกจากนี้ภาษาไทยมาตรฐานยังใช้สอนในโรงเรียนอีกด้วย

ภาษาไทยสำคัญกับวัฒนธรรมไทยอย่างไร

ภาษาไทยมีภาษาถิ่นใช้สื่อสารกันแต่ละท้องถิ่น  ภาษาถิ่นบางท้องที่มีเสียงเพี้ยนไปจาก ภาษาไทยมาตรฐานเท่านั้น  ดังนั้นภาษาถิ่นในประเทศไทยจึงผิดเพี้ยนกันไม่มากนัก  ท้องถิ่นที่อยู่ใกล้กันย่อมมีสำเนียงภาษาใกล้เคียงกัน  ถ้าห่างไกลกันสำเนียงภาษาก็ย่อมแตกต่างกันมาก  แต่สำหรับประเทศไทยยังสามารถติดต่อสื่อสารกันรู้เรื่อง  จะแตกต่างกันในระบบเสียงพยัญชนะ  และเสียงสระ เช่นภาษาไทยภาคกลางใช้เสียง  “ช”  เช่น  ช้าง  ชื่อ  เชือก  ภาษาไทยถิ่นเหนือใช้เป็นเสียง  “จ”   จ้าง  จื้อ  เจือก  ภาษาถิ่นอีสาน  จะใช้เสียง  “ซ”  ซ้าง  ซื่อ  เซือก  เป็นต้น  อย่างไรก็ตามความแตกต่างเหล่านี้ยังสามารถสื่อสารกันได้ ภาษาถิ่นเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ทำให้เราสามารถศึกษาประวัติของคำได้  เพราะภาษาถิ่นหลายๆ  คำ เป็นภาษาที่ปรากฏใช้อยู่ทั่วไปตามภูมิภาคต่างๆ  ในอดีต  แต่ปัจจุบันใช้ในบางภูมิภาคเท่านั้น  เช่น  ภาษาทางภาคอีสาน  ส่วนมากจะเรียกผลไม้ขึ้นต้นว่า  หมาก  เช่น  มะละกอ  เรียกว่า  หมากฮุ่ง  เป็นต้น

นอกจากนี้  ภาษาถิ่นยังทำให้เกิดวรรณกรรมพื้นบ้าน  เช่น  เพลงโคราช  ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านของชาวนครราชสีมา  ซอและค่าวซอ  เป็นเพลงพื้นบ้านของทางภาคเหนือ  เพลงโนรา  เป็นเพลงพื้นบ้านของภาคใต้  เป็นต้น

ภาษาถิ่นแต่ละท้องถิ่นต่างมีคุณค่าทำให้เจ้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นดีขึ้น  คำภาษาถิ่นบางคำจะแตกต่างกันไป  เช่น

ภาษาถิ่นเหนือ                คำว่า    ตุ๊หลวง            หมายถึง          เจ้าอาวาสหรือสมภาร

หอคำ             หมายถึง          ท้องพระโรง

เกี๊ยะ              หมายถึง          ต้นสน

บ่าก้วยก๋า        หมายถึง          ฝรั่ง (ผลไม้)

เขี้ยว              หมายถึง          ฟัน

ภาษาถิ่นอีสาน               คำว่า    ม่วน               หมายถึง          สนุก

น่อย               หมายถึง          น้อย

งึด                 หมายถึง          แปลกใจ

ฮ้อน               หมายถึง          ร้อน

ภาษาถิ่นใต้                    คำว่า    ทำไม่แล้ว         หมายถึง          ทำไม่เสร็จ

ปึดปัด             หมายถึง          กระฟัดกระเฟียด

แม่เหอ            หมายถึง          แม่จ๋า

แม่ตน             หมายถึง          ยาย  ย่า (แม่เติ้นก็เรียก)

เยาะแยะ         หมายถึง          ชักช้า

เยียกหรือเยี้ยก   หมายถึง          เรียก

วีดีโอ ภาษาและวัฒนธรรม