ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศ ของธนาคาร

ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศ ของธนาคาร

 4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธนาคาร

ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศ ของธนาคาร

          พัฒนาการด้านการเงิน นับวันยิ่งมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดความสะดวก สบาย รวดเร็ว กับผู้บริโภคและการทำงานในส่วนหลังบ้านมากที่สุด ซึ่งในวันนี้บริการทางด้านการเงินได้มีวิวัฒนาการขึ้นจากเมื่อก่อนมากมาย และมีการผูกเอาระบบออนไลน์ หรืออินเทอร์เน็ตเข้าไปรองรับการใช้งานของผู้บริโภคมากขึ้นนอกจากธนาคารต่างๆ จะมีการนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการบริการ เพื่อให้สะดวก รวดเร็ว และรองรับการใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว แม้แต่บัตรพลาสติก ที่แน่นอนว่าต้องเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกรรมทางการเงินของทุกๆ คนในปัจจุบัน ก็ได้มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน โดยได้ทำให้มีความปลอดภัย และนำไปใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
          บัตรพลาสติกติดชิปการติดชิป บนบัตรพลาสติก ถือเป็นพัฒนาการขั้นหนึ่งที่เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ตัวบัตรพลาสติกที่ใช้กันอยู่นี้มีความฉลาด และเก็บข้อมูลได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการนำชิปมาติดบนบัตรพลาสติก แล้วทำให้มีคนรู้จัก และเข้าใจเทคโนโลยีของบัตรพลาสติกที่เปลี่ยนไปได้อย่างดีที่สุด ก็คือ การนำไปใช้ในบัตรประชาชน หรือที่เรียกกันว่า บัตรสมาร์ทการ์ด นั่นเองนอกจากการนำชิปไปติดบนบัตรพลาสติก เพื่อเก็บข้อมูลสำคัญส่วนตัวของแต่ละคนแล้ว เทคโนโลยีบนชิปยังสามารถนำไปใช้ในด้านการชำระเงินได้ด้วย โดยชิปจะทำหน้าที่คล้ายเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วบนบัตร หน่วยความจำ และความสามารถในการประมวลผลของชิปจะเปลี่ยนไปตามรูปแบบการชำระเงินด้วยบัตร ซึ่งชิปจะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าแถบแม่เหล็กที่บัตรชำระเงินทั่วไปใช้อยู่ในปัจจุบันถึง 80 เท่าเป็นอย่างน้อยขณะนี้ธนาคารต่าง ๆ เริ่มทยอยเปลี่ยนระบบบัตรชำระเงิน จากแถบแม่เหล็กแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นบัตรติดชิปที่ใช้มาตรฐานของอีเอ็มวีเพื่อแก้ปัญหาการลักลอบปลอมแปลงบัตรเครดิตที่กำลังมีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดย อีเอ็มวีทำหน้าที่เป็นกลไกในการสร้างกรอบสำหรับผู้ผลิตบัตรติดชิปและเครื่อง ที่รับบัตรชนิดนี้เพื่อให้บัตรสามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลกอีเอ็มวี (EMV- Europay International, MasterCard International and Visa International) เป็นกลุ่มทำงานร่วมกันของผู้มีบทบาทสำคัญในธุรกิจชำระเงิน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเทคโนโลยีชิปไปใช้กับระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ โดยได้ร่วมกันพัฒนาคุณสมบัติเฉพาะของบัตรที่ติดชิปและเครื่องรับบัตรที่จะมาใช้กับบัตรนี้ในการชำระเงินการใช้ระบบอีเอ็มวี นอกจากจะทำให้บัตรติดชิปสามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลกแล้ว ยังช่วยลดปัญหาการปลอมแปลงบัตรเครดิตทั้งภายในประเทศ และ ระหว่างประเทศได้อีกด้วยบัตรสมาร์ทการ์ดเป็นบัตรชำระเงินที่สามารถใช้งานได้ หลากหลายซึ่งจะช่วยอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ถือบัตรเป็นอย่างมาก และยังเป็นรูปแบบของบัตรชำระเงินที่ให้ความปลอดภัยสูงสุดในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังสามารถเป็นทั้งบัตรเดบิต บัตรเครดิต บัตรสะสมแต้มคะแนนได้ในใบเดียวกันปัจจุบันบัตรสมาร์ทการ์ดจะมิได้เป็นเพียงบัตรชำระเงินเท่านั้น แต่สามารถใช้เป็นบัตรสะสมแต้ม และมีคุณลักษณะเสริมอื่นๆ ด้วย เช่น สะสมคะแนนของความบ่อยในการใช้บริการ นำไปใช้ในสถานที่ที่เจ้าของบัตรได้ระบุไว้ในโปรโมชั่นเพื่อสะสมแต้มพิเศษในช่วงเวลานั้น หรือเมื่อไปใช้บริการห้องพักโรงแรม ก็จะได้พักห้องฟรีเมื่อสะสมคะแนนถึงจำนวนที่กำหนดโดยผู้ถือบัตรสมาร์ทการ์ดต่อไปไม่ต้องแสดงบัตร ‘ลูกค้าที่พักบ่อย’ กับพนักงานเช็กอินของโรงแรม เนื่องจากไมโครชิปเล็กๆ ที่ติดอยู่ในบัตรสมาร์ทการ์ดนั้นสามารถบันทึกและแสดงข้อมูลล่าสุดของการใช้บริการของผู้ถือบัตร ณ สถานให้บริการนั้นๆ ได้ทันทีนอกจากนั้น บัตรสมาร์ทการ์ดยังสามารถใช้ยืนยันความเป็นเจ้าของบัตรที่แท้จริง ขณะที่ใช้บัตรซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตเพื่อความปลอดภัย และเพื่อให้สามารถทำธุรกรรมได้ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ตาม โดยการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรสมาร์ทการ์ดมีขึ้นครั้งแรกในปี 2540 นับ ตั้งแต่นั้นมาบัตรสมาร์ทการ์ดก็ได้รับการพัฒนาและทดสอบเรื่อยมาเพื่อให้ สามารถใช้งานได้จริงในอนาคตบัตรสมาร์ทการ์ดสามารถทำหน้าที่เป็นทั้งบัตร เครดิต บัตรเดบิตและบัตรสมาชิกต่างๆ ได้ ต่อไปผู้ถือบัตรจะสามารถจัดการทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องธุรกิจได้อย่างสะดวกสบายด้วยบัตรเพียงหนึ่งใบ แม้จะอยู่ระหว่างเดินทางต่างประเทศก็ตาม


          บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้น สิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก มีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ในช่วง พ.ศ.2523 เป็นต้นมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมาก เกิดการประยุกต์งานด้านต่าง ๆ เช่น ระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้โทรสาร (facsimile) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการเรียนคอมพิวเตอร์จากเดิมเป็นวิชาเลือก แต่ในปัจจุบัน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2542 กำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเรียน เพื่อให้เยาวชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม
          การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์
          สถาบันการเงินต่างๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องถอนเงินโดยอัตโนมัติ หรือ ATMเพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอนเงิน และได้นำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคาร

ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศ ของธนาคาร

            เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการการเงิน
            ระบบสารสนเทศทางการเงิน ( Financial information systems )การออกแบบและพัฒนาระบบทางการเงินเพื่อทำการพยากรณ์แผนทาง การเงินโดยอาศัยข้อมูลทั้งภายในและภายนอก การจัดการด้านการเงินในการหาแหล่งเงินทุน-จัดสรรเงินทุน และการควบคุมทางการเงินเพื่อติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์สถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่อ อำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน ในส่วนของงานประจำของธนาคารต่างก็นำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์ และออฟไลน์เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลธนาคารเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว เชื่อมโยงกับสาขาอื่น หรือสำนักงานใหญ่ได้ระบบเอทีเอ็ม
ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) หรือ ระบบถอนเงิน หรือฝากเงินของธนาคารโดยอัตโนมัติ เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการ แข่งขันทางธุรกิจ ในอดีตเมื่อเริ่มมีการใช้ระบบเอทีเอ็ม เครื่องแรกของโลก หรือของประเทศไทย มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจอะไรเกิดขึ้น และขณะนั้นธุรกิจธนาคาร ให้ทางเลือกในการบริการกันอย่างไรบ้าง
             พ.ศ.2520 เป็นปีที่มีการใช้เอที เอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้ แบงค์ ในเมืองนิวยอร์ก เริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมวันเสาร์ อาทิตย์ด้วย ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-14.00 น. หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการ ฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคาร ในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของธนาคารซิตี้แบงค์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความ สะดวกสบาย และคล่องตัว ได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคารอื่นมาเป็นลูกค้าของตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัว ในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะไหวตัวทัน และหันมาให้บริการเอทีเอ็มบ้าง

ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศ ของธนาคาร

            ตู้ฝากถอนเงินในระบบเอทีเอ็ม
            ประโยคภาษาอังกฤษที่ว่า "Who is the first gains the benefits." หรือ ใครที่มาก่อน ทำก่อน ย่อมได้ผลกำไร ภาพของการนำเอาเทคโนโลยีเอทีเอ็มเข้ามาใช้ก่อนเป็นรายแรก และสร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจเหนือคูแข่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในเมืองใหญ่ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นซิดนีย์ โตเกียว ปารีส และรวมทั้งกรุงเทพด้วย กล่าวคือ ธนาคารในเมืองเหล่านั้นที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็มได้ก่อน และให้บริการที่เหนือกว่า ก็สามารถดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูงมากเหนือคู่แข่ง เนื่องจากได้ใช้ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์มาเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน ในแง่การปรับปรุงการบริการแก่ลูกค้า เช่น ปรากฏการณ์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สามารถนำระบบคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมตรงมาบริการการใช้เอทีเอ็ม และประสบความสำเร็จได้ก่อน จึงมีโอกาสดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูง

ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศ ของธนาคาร

เทคโนโลยี ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็ม ก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูล กับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ ในเกือบทุกหนแห่ง เช่น ในห้างสรรพสินค้า หรือ ตามมุมถนนทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็ม จะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคาร ซึ่งได้บรรจุข้อมูลยอดเงินฝากและการฝากการถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็นฐานข้อมูลกลาง ในความหมายที่ว่า ลูกค้ามีบัญชีเงินฝากในธนาคารแห่งนั้น ๆ จะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลกลางเพียงชุดเดียว และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เข้าถึง ข้อมูลได้จากระยะไกล นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การฝาก การโอน และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

           ความหมายระบบสารสนเทศทางการบัญชี
           ในอดีตการบริหารธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่จะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเป็นสำคัญ กล่าวคือถ้าคนใดสามารถวางแผนได้ดี ควบคุมงานได้ดี ก็จะทำให้การบริหารกิจการนั้นสัมฤทธิ์ผลได้ แต่ในปัจจุบันเมื่อธุรกิจมีการแข่งขันมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนามากขึ้น คุณภาพของการบริหารและความอยู่รอดขององค์นั้นจึงขึ้นกับระบบมากกว่าตัวบุคคล ดังนั้นการบริหารสมัยใหม่ จะให้ความสำคัญกับระบบข้อมูล และระบบสารสนเทศมากขึ้น เพราะหากกิจการใดมีระบบสารสนเทศที่ดีกว่าก็จะทำให้สามารถให้ข้อมูลในการตัดสินใจที่รวดเร็ว ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งจะส่งผลให้กิจการนั้นสามารถอยู่รอดได้มากกว่า
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เป็นระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้ สำหรับผู้ใช้ประโยชน์จากสารสนเทศทางการบัญชีอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ บุคคลภายในองค์กร และบุคคลภายนอกองค์กร เช่น ผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานของรัฐบาล และคู่แข่งขัน เป็นต้น ทั้งนี้กระบวนการแปลงข้อมูลหรือ ประมวลผลข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นอาจกระทำด้วยมือหรือใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยก็ได้ ตัวอย่างของสารสนเทศทางการบัญชี ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ เช่น งบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด เป็นต้น ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้ได้มาจากการประมวลผลรายการค้าต่าง ๆ ของกิจการดังนั้นรายการค้าแต่ละรายการ เช่น รายการขายสินค้า ซื้อสินค้า ฯลฯ จึงถือว่าเป็นตัวอย่างของข้อมูล ของระบบสารสนเทศทางการบัญชี

         

สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีค่า ต่อการตัดสินใจเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ทำให้สามารถคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น และช่วยลดความไม่แน่นอนให้แก่ผู้ที่ทำการตัดสินใจโดยทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สารสนเทศจะมีประโยชน์หรือมีค่าต่อผู้ใช้มากน้อยเพียงใดนั้นจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสารสนเทศนั้น ๆ สารสนเทศที่มีคุณภาพควรมีลักษณะที่สำคัญ ๆ มีดังนี้

1.เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

2.ถูกต้องเชื่อถือได้

3.สมบูรณ์ครบถ้วน

4.ทันเวลา

5.แสดงเป็นจำนวนได้

6.ตรวจสอบความถูกต้องได้

7.สามารถเข้าใจได้

         

8.สามารถเปรียบเทียบกันได้
          เหตุผลที่นักบัญชีควรศึกษาและทำความเข้าใจระบบการสื่อสารข้อมูลนักบัญชีมักจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่งความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ของการตัดสินใจนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของสารสนเทศที่ได้รับ ว่าได้ทันตามเวลาที่ต้องการและมีความถูกต้องหรือไม่ แต่จากการที่แนวโน้มของธุรกิจในยุคปัจจุบันนั้น มีโครงสร้างองค์กรที่สลับซับซ้อน และมีสาขาหรือหน่วยงานที่กระจายแยกกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ทำให้ปัญหาต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้นเพิ่มมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงมีการนำระบบคอมพิวเตอร์และ

          ระบบการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อทำให้การส่งและรับข้อมูลระหว่างสาขาหรือหน่วยงานที่กระจายแยกกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และยังสามารถทำให้ผู้ใช้ที่ผ่านการอนุมัติสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการบัญชีของบริษัทได้ในทันทีที่ต้องการ
โดยรวมแล้วมีเหตุผลหลาย ๆ ประการที่นักบัญชีควรศึกษาและทำความเข้าใจระบบการสื่อสารข้อมูลได้แก่
ความสามารถในการส่งสารสนเทศการบัญชีไปยังผู้ที่ต้องการใช้ได้ทันกับความต้องการ ไม่ว่าผู้ใช้ข้อมูลนั้นจะอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุด และเร็วที่สุด คือการส่งผ่านระบบการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วและทันสมัย
นักบัญชีซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะของผู้ใช้งาน หรือควบคุมดูแลระบบการสื่อสารข้อมูล ดังนั้นนักบัญชีจึงควรทำความเข้าใจพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล
         นักบัญชีซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะของผู้ตรวจสอบ และเป็นผู้ทำการประเมินการทำงานของระบบการสื่อสารข้อมูล นัก บัญชีจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่มีการส่ง ผ่านเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลนั้นมีความถูกต้องน่าเชื่อถือนอกจากนี้จะ เห็นได้ว่า ในปัจจุบันแนวโน้มของโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีส่วนใหญ่ มีการนำเทคโนโลยีในการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้ ดังนั้นนักบัญชีไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของพนักงานบัญชีในองค์กร หรือที่ปรึกษา หรือผู้สอบบัญชี ต่างก็ควรที่จะสนใจศึกษา ค้นคว้า ทำความเข้าใจและติดตามความก้าวหน้าทางด้านระบบการสื่อสารข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

          

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information System)ระบบสารสนเทศด้านการเงิน จะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (Liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุนอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
            1. การพยากรณ์ (Forecast) คือการศึกษาวิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงินจะอาศัยข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
            2. การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) คือการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้น หรือตราสารทางการเงิน
            3. การควบคุมทางการเงิน (Financial Control) เป็นการติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจจะจำแนกได้ 2 ประเภท คือ
                     3.1 การควบคุมภายใน (Internal Control)
                     3.2 การควบคุมภายนอก (Extern สารสนเทศ (information) คือทรัพยากรที่มีความสำคัญยิ่งขององค์กรไม่แพ้ทรัพยากรบุคคลหรือสินทรัพย์อื่นๆขององค์กรองค์กรที่มีระบบการจัดเก็บจัดการ และนำเสนอสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพย่อมทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งทางธุรกิจรวมทั้งแสวงหาโอกาสทางธุรกิจได้ดีกว่าในอดีต สารสนเทศทางการบัญชีเป็นงานที่ต้องทำด้วยมือทั้งหมด ทำให้การนำสารสนเทศทางการบัญชีมาใช้ทำได้อย่างล่าช้าและอาจไม่ทันการในเชิงธุรกิจแต่ในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผล ระบบสารสนเทศทางการบัญชีก็พัฒนามาสู่ยุคของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน ระบบนี้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ใช้สารสนเทศได้มากขึ้นแต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นผู้ที่ทำงานด้านการบัญชีในยุคนี้จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้กับงานบัญชีเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศ ของธนาคาร