สมัย จอมพล ป. พิบูล สงคราม ได้ มี ผล กระทบ ต่อ ประชาชน อย่างไร บาง

ประวัติ ชื่อเดิม แปลก ขีดตะสังคะ เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2440 ณ บ้านแพ ปากคลองบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของนายขีด กับนางสำอาง ขีดตะสังคะ สมรสกับท่านผู้หญิงละเอียด (พันธุ์กระวี) ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย ณ บ้านพักที่ตำบลซากามิโอโน ซานกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2507 รวมอายุได้ 67 ปี ประวัติการทำงาน พ.ศ.2462 ประจำกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ พ.ศ.2466 ประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก

นายกรัฐมนตรี ครม.คณะที่ 9 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 16 ธันวาคม 2481 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 7 มีนาคม 2485 โดยลาออก เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงครม.ใหม่ วันแถลงนโยบาย 26 ธันวาคม 2481 
ครม.คณะที่ 10 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 7 มีนาคม 2485 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 1 สิงหาคม 2487 โดยลาออก เพราะสภาไม่รับ พรก.นครบาลเพ็ชรบูรณ์ วันแถลงนโยบาย 16 มีนาคม 2485
ครม.คณะที่ 21 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 8 เมษายน 2491 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 25 มิถุนายน 2492 โดยสิ้นสุดลงเมื่อมีการเลือกตั้งส.ส. เพิ่มวันแถลงนโยบาย 21 เมษายน 2491
ครม.คณะที่ 22 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 25 มิถุนายน 2492 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 โดยรัฐประหารนำโดยพล.อ.ผิน ชุณหะวัณ วันแถลงนโยบาย 6 กรกฎาคม 2492
ครม.คณะที่ 23 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 โดยมติคณะ
รัฐประหาร  นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 6 ธันวาคม 2494 โดยมีการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่ 
ครม.คณะที่ 24 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 6 ธันวาคม 2494 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 24 มีนาคม 2495 โดย มีการเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 (ส.ส.) วันแถลงนโยบาย 11 ธันวาคม 2494
ครม.คณะที่ 25 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 24 มีนาคม 2495 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 21 มีนาคม 2500 โดยส.ส.ครบวาระมีการเลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 3 เมษายน 2495
ครม.คณะที่ 26 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 มีนาคม 2500 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 16 กันยายน 2500 โดย รัฐประหารนำโดย จอมพล สฤษดิ์ธนะรัชต์ วันแถลงนโยบาย 1 เมษายน 2500
 
ประวัติ ชื่อเดิม แปลก ขีดตะสังคะ
เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2440
ณ บ้านแพ ปากคลองบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
เป็นบุตรของนายขีด กับนางสำอาง ขีดตะสังคะ
สมรสกับท่านผู้หญิงละเอียด (พันธุ์กระวี)
ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย ณ บ้านพักที่ตำบลซากามิโอโน ซานกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2507 รวมอายุได้ 67 ปี
 
การศึกษา โรงเรียนกลาโหมอุทิศ วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
โรงเรียนนายร้อยทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการ
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศส
 
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1. รัฐบาลที่ 9  16 ธันวาคม 2481 -  6 มีนาคม 2485
2. รัฐบาลที่ 10  7 มีนาคม 2485 - 1 สิงหาคม 2487
3. รัฐบาลที่ 21  8 เมษายน 2491 - 24 มิถุนายน 2492
4. รัฐบาลที่ 22  25 มิถุนายน 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494
5. รัฐบาลที่ 23  29 พฤศจิกายน 2494 - 6 ธันวาคม 2494
6. รัฐบาลที่ 24  6 ธันวาคม 2494 - 23 มีนาคม 2495
7. รัฐบาลที่ 25  24 มีนาคม 2495 - 26 กุมภาพันธ์ 2500
8. รัฐบาลที่ 26   21 มีนาคม 2500 - 16 กันยายน 2500
 
ประวัติการทำงาน พ.ศ.2462 : ประจำกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
พ.ศ.2466 : ประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก
พ.ศ.2475 : รองผู้บังคับการทหารปืนใหญ่
พ.ศ.2476 : รองผู้บัญชาการทหารบก และรองผู้บังคับการมณฑลทหารราบที่ 1
พ.ศ.2483 : ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ.2483 : ผู้บัญชาการหารสูงสุดและแม่ทัพบก
พ.ศ.2490 : ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย
 
บทบาททางการเมือง พ.ศ. 2476 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2
พ.ศ. 2477 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2481 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2482 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. 2484 : ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในประเทศไทย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทย และในที่สุดได้ทำสัญญาพันธมิตรทางการทหารและเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลให้ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงต้องตกเป็นผู้ต้องหาอาชญากรสงคราม และถูกจับกุมขังเป็นเวลาหลายเดือน
พ.ศ. 2485 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ .2491 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2492 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. 2494 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5
พ.ศ. 2494 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 6
พ.ศ. 2495 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 7 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
พ.ศ. 2497 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
พ.ศ. 2498 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2500 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 8
 
ผลงานที่สำคัญ - นโยบายสร้างชาติและการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้แก่ประชาชนอย่างมากมาย เช่น การเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย การเรียกร้องดินแดนทางด้านอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศส การปลูกฝังความนิยมไทย และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยบางอย่าง เช่น การให้สตรีเลิกนุ่งโจงกระเบนแล้วหันมาสวมกระโปรงแทนการให้ประชาชนเลิกกิน หมากพลู การตั้งชื่อผู้ชายให้มีลักษณะเข้มแข็ง ผู้หญิงให้แสดงถึงความอ่อนหวาน
- การส่งเสริมการศึกษาวิชาการแก่ประชาชน โดยเฉพาะได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเฉพาะวิชา เช่น มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (มหิดล) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น