อาหาร บํา รุ ง หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย-ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน–ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ" แต่ถ้าวันหนึ่งหัวใจเราเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไร?

โรคหัวใจ สามารถป้องกันได้ เพียงให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารการกิน เน้นเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย รวมถึงระวังไม่ให้เครียดจนเกินไป นอกจากนี้ เรายังสามารถเลือกกิน อาหารบำรุงหัวใจ เพื่อให้หลอดเลือด และหัวใจของเราแข็งแรงขึ้นอีกทางหนึ่งได้ด้วย อาหารบำรุงหัวใจ จะมีอะไรบ้างนั้น มาติดตามต่อกันได้เลย

  1. เมนูปลา

    โดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ควรกินอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพราะน้ำมันจากปลาทะเล สามารถช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้
  2. ผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด

    ไม่ว่าจะเป็น ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง กีวี แก้วมังกร กล้วย แอปเปิ้ล องุ่น มะละกอ สัปปะรด เนื่องจากผลไม้เหล่านี้มีเส้นใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุสูง ช่วยบำรุงร่างกาย และช่วยลดไขมันในเลือด อีกทั้งปริมาณน้ำตาลก็ไม่สูงมาก
  3. พืชตระกูลถั่ว

    พืชตระกูลถั่ว สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอล และป้องกันโรคหัวใจได้ดี จะกินเป็นของว่างแทนขนมเลยก็ได้
  4. มะเขือเทศ

    มะเขือเทศจะช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอล และความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
  5. ผักใบเขียว

    ผักคะน้า ผักโขม บร็อกโคลี่ รวมถึงผักใบเขียวอื่นๆ ต่างก็มีวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงหัวใจ
  6. ทับทิม

    ในทับทิมมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในปริมาณมาก จึงลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้
  7. อาหารไขมันต่ำ

    เนื่องจากอาหารไขมันสูง สามารถเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดไขมันสะสมในกระแสเลือด จนไปเกาะอยู่ตามผลังหลอดเลือด และทำให้มีความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ คุณจึงควรเลือกกินอาหารไขมันต่ำอย่างเช่น เนื้อปลา และเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดหนังติดมันจะดีกว่า
  8. น้ำมันจากพืช (ในปริมาณน้อย)

    หากต้องการใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร ควรเลือกใช้น้ำมันที่ทำมาจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง และควรใช้ในปริมาณที่น้อยมากๆ
  9. ข้าว ขนมปัง ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี

    ใยอาหารชนิดละลายน้ำ ที่พบได้ในธัญพืช เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต รำข้าว ถั่วเมล็ดแห้ง ผัก ผลไม้ จะช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอล และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง อีกทั้งยังช่วยดูดซึมน้ำไว้ในกากใยอาหาร ช่วยให้การทำงานของระบบลำไส้และการย่อยอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  10. อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ

    แหล่งสำคัญของอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ คือ วิตามินเอ (แคโรทีน) วิตามินอี วิตามินซี ซึ่งสามารถพบได้ในแครอท แอพริคอท ฟักทอง มะม่วง ผักโขม แคนตาลูป ปวยเล้ง ลูกพีช บรอกโคลี ผักบุ้ง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอก คำฝอย น้ำมันเมล็ดดอก ทานตะวัน อัลมอนด์ จมูกข้าวสาลี ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ ส้มเช้ง ฝรั่ง กีวี่ ส้มโอ ถั่วงอก กะหล่ำปลี บรอกโคลี พริก มะนาว

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญมากในร่างกาย หากเรามีสุขภาพหัวใจไม่ดี ร่างกายก็จะอ่อนแอลง จนเกิดโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้ง่าย  โดยอาหารบำรุงหัวใจนั้น มักมีส่วนช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ไตรกลีเซอร์ไรด์ และคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา มาดูตัวอย่างอาหารบำรุงหัวใจที่เป็นทางเลือกที่ดีในการดูแลหัวใจของคุณให้แข็งแรงขึ้นกัน

  1. อาหารประเภทปลา ที่มีกรดโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาจะละเม็ด ปลาสำลี ปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อน ปลากะพงขาว ซึ่งกรดโอเมก้า 3 จะเป็นกลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อระบบการทำงานภายในร่างกาย โดยกรดไขมันเหล่านี้มีส่วนช่วยในการทำงานของหัวใจด้วยการช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ลดความดันโลหิต ลดการจับตัวของลิ่มเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองลงนอกจากนี้ ในอาหารประเภทปลาส่วนใหญ่จะมีไขมันอิ่มตัวน้อย และดีต่อสุขภาพ ถึงแม้ปลาแต่ละประเภทอาจจะมีโอเมก้า 3 มากน้อยต่างกัน แต่การกินกลาก็จะทำให้เราได้รับโปรตีนคุณภาพดีอยู่แล้ว ควรกินอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพราะน้ำมันจากปลาทะเล สามารถช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้
  2. ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง ถั่วอัลมอนด์ ถั่ววอลนัต ถั่วพิสตาชิโอ ถั่วเม็ดมะม่วงหิมพานต์ แนะนำให้กินถั่วอบ หลีกเลี่ยงถั่วทอด เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับน้ำมันเข้าไปในร่างกายที่มากเกินไป ทานประมาณ 1 กำมือต่อวันก็เพียงพอ เพราะโดยธรรมชาติถั่วจะมีสารหรือไขมันไม่อิ่มตัวหลายประเภท ที่จะช่วยบำรุงหัวใจได้
  3. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่าง ๆ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ แบล็คเคอร์แรนท์ แบล็กเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ มัลเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ หรือกูสเบอร์รี่ ของโครงการหลวง ซึ่งก็ถือเป็นผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ที่สามารถหาทานได้ โดยเฉพาะถ้าในกลุ่มคนที่อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ถ้าได้ทานผลไม้ตระกูลนี้เป็นประจำ มักพบว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงของอาการหัวใจวายลงได้ถึง 32% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ค่อยทาน  เพราะในผลไม้ตระกูลนี้มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และสารฟลาโวนอยด์(Flavonoid) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ที่ช่วยลดความดันโลหิตและขยายหลอดเลือดหัวใจได้ดี
  1. เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ เช่น ลูกเดือย งาดำ ควินัว เมล็ดเจีย เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ซึ่งธัญพืชเหล่านี้จะอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูง มีทั้งวิตามิน แร่ธาตุ ไฟโตนิวเตรียนท์ เส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และมีไขมันดี ที่จะช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
  1. ถั่วเหลือง ซึ่งถั่วเหลืองนับว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้ง 5 หมู่ คือ โปรตีน ,คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน , เกลือแร่และวิตามิน และอุดมไปด้วยสารอาหารที่บรรเทาอาการวัยทองในผู้หญิง ป้องกันโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน และโรคมะเร็งหลายชนิด
  1. ผักหลากสี ผักมีแร่ธาตุ ไฟเบอร์ และสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย โดยผักสามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม 5 สี แต่ละสีก็มีสารอาหารและคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันไป การทานผักให้หลากหลายและครบทั้ง 5 สีจะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง ความดันโลหิต มะเร็งบางชนิด เป็นต้น อีกทั้งทำให้ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณสดใส ชะลอความแก่ชราได้อีกต่างหาก

– ผักที่มีสีเขียว เช่น กะหล่ำปลีสีเขียว, บรอกโคลี, คะน้า, หน่อไม้ฝรั่ง, อะโวคาโด, แตงกวา, ผักโขม, ถั่วลันเตา
– ผักสีแดง เช่น มะเขือเทศ, กระหล่ำปลีแดง, พริกแดง, หอมแดง
– ผักผลไม้สีม่วงและสีน้ำเงิน เช่น มะเขือม่วง, กะหล่ำปลีสีม่วง
– ผักสีเหลืองและสีส้ม เช่น แครอท, ฟักทอง, มันเทศ, มันฝรั่งหวาน, พริกสีเหลือง
– ผักสีขาว เช่น งาขาว, ขิง, กระเทียม, ผักกาดขาว, หัวไชเท้า, ดอกกะหล่ำ, ดอกแค, เห็ด

  1. ผลไม้ที่มีรสชาติไม่หวานมาก ไม่ว่าจะเป็น ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง กีวี แก้วมังกร กล้วย แอปเปิ้ล องุ่น มะละกอ สัปปะรด เนื่องจากผลไม้เหล่านี้มีเส้นใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุสูง ช่วยบำรุงร่างกาย และช่วยลดไขมันในเลือด อีกทั้งปริมาณน้ำตาลก็ไม่สูงมาก
  1. ช็อกโกแลต โดยเฉพาะดาร์กช็อกโกแลต เพราะมีการศึกษามาแล้วว่า ดาร์กช็อกโกแลต มีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า โพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในเรื่องของความดันโลหิต ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด รวมถึงช่วยลดอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองในคนที่มีความเสี่ยงสูงได้ แต่ต้องเป็นช็อกโกแลตที่ทำมาจากโกโก้อย่างน้อย 60-70%เพราะฉะนั้นถ้าอยากมีสุขภาพร่างกายที่ และสุขภาพหัวใจที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่เสี่ยงเป็นโรคร้ายต่างๆ  การควบคุมพฤติกรรมการกิน ไม่กินตามใจปากจนเส้นเลือดตีบตัน  เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด

ฉุกเฉินโรคหัวใจ
เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ติดต่อศูนย์หัวใจวิชัยเวช 24 ชั่วโมง
02-441-6999 ต่อ 5555
หรือ ติดต่อได้ผ่านช่องทางไลน์ได้ง่ายๆ  Line
หรือ สามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษา