ตัวอย่าง การสํารวจระบบนิเวศในท้องถิ่น

บริษัทเอสแอลพี เอ็นไวรอนเมนทอล (ประเทศลาว) ได้รับมอบหมายให้ทำการสำรวจสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเบื้องต้นในพื้นที่ขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบสูงบ่อละเวน เขตลาวใต้ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนการซื้อขายของลูกค้า และถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของพื้นที่อันเนื่องมาจากโครงการ รวมไปถึงการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดจากการพัฒนาโครงการ

Show

การศึกษาครั้งนี้ ทาง บริษัท เอสแอลพี ได้ทำการสำรวจสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเบื้องต้นของพื้นที่ศึกษา และจัดทำฐานข้อมูล รวมถึงวางแผนการจัดการและตรวจสอบทางด้านสิ่งแวดล้อม (EMMP) เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมต่างๆของโครงการนั้นมีการจัดการ และการตรวจติดตามที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมของพื้นที่โครงการ

การศึกษาระบบนิเวศเบื้องต้นประกอบไปด้วยการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รวมถึงการระบุกลุ่มของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ศึกษา โดยก่อนการลงสำรวจภาคสนาม บริษัท เอสแอลพี ได้ทำการสอบถามข้อมูลจากคนท้องถิ่นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศเบื้องต้นของพื้นที่ และกำหนดพื้นที่เป้าหมายจากข้อมูลที่มีการระบุถึงพื้นที่อ่อนไหวทางระบบนิเวศ ทั้งในบริเวณพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ใกล้เคียง โดยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะถูกรวบรวมและนำไปจัดทำบัญชีรายการทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทั้งทางบกและทางน้ำต่อไป

การตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมประกอบไปด้วย การตรวจสอบคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำใต้ดิน และคุณภาพน้ำผิวดิน โดยจุดที่ทำการตรวจสอบนั้น บริษัท เอสแอลพี ได้พิจารณาเลือกจากผลการประเมินจากการสำรวจพื้นที่ก่อนหน้า ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินนั้น บริษัท เอสแอลพี ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำผิวดินจำนวนสองจุด คือ บริเวณต้นน้ำและปลายน้ำจากสองทางน้ำหลักที่ตัดผ่านพื้นที่โครงการ และนำตัวอย่างส่งให้ห้องปฏิบัติการเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ รวมไปถึงการตรวจวัดอัตราการไหลของน้ำ และตรวจวัดคุณภาพน้ำภาคสนาม ในส่วนของคุณภาพอากาศนั้น บริษัท เอสแอลพี ได้ทำการติดตั้งสถานีตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศจำนวนสามจุดเพื่อตรวจวัดสารมลพิษต่างๆ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารในกลุ่มบีเทค (BTEX) เป็นต้น

ภาคสนามก็เป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญมากๆ เพราะการเรียนรู้ที่แท้จริงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในห้องเรียนเท่านั้น การลงพื้นที่ชุมชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้เราได้ไปเจอของจริง ได้เห็น ได้สัมผัส มันยิ่งทำให้เราได้เข้าใจสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้มากขึ้น และนี้ก็เป็นหนึ่งในวิธีเรียนรู้เกี่ยวกับ “ระบบนิเวศ” คือ การได้เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ

การลงชุมชนในครั้งนี้ เป็นการเข้าไปศึกษาทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งภูเขา น้ำ ป่า และเรียนรู้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนกับแหล่งทรัพยากร ผ่านการสัมภาษณ์ สำรวจ ทดลอง และสะท้อนความเข้าใจร่วมกัน

ส่วนเส้นทางการเรียนรู้จะเป็นอย่างไรนั้น…………..ผมได้ลำดับกระบวนการเรียนรู้ไว้ด้านล่างนะครับ

1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานระบบนิเวศป่าไม้ไทย ก่อนลงภาคสนามสำรวจจริง

2. เดินทางจากหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟอุบลราชธานี

3. เดินทางไปยังบ้านตามุย ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

4. ตามรอยความเป็นอยู่ เรียนรู้วิถีการทำมาหากินของชาวบ้านในชุมชนที่สัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ

5. นักเรียนรวมตัวกัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเดินป่าศึกษาระบบนิเวศและธรณีสันฐาน เพื่อให้เข้าใจความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันของธรรมชาติกับผู้คนในหมู่บ้าน รวมไปจนถึงแม่น้ำโขง 

6. เดินจากหมู่บ้านจนถึงผาตามุย และการค้างแรมบนผาตามุย

7. สำรวจนิเวศทางกายภาพ ภูมิศาสตร์ ดิน หิน น้ำ พืช สัตว์

8. สำรวจนิเวศทางกายภาพ ภูมิศาสตร์ ดิน หิน น้ำ พืช สัตว์

9. สังเกตและบันทึกลักษณะเฉพาะของ ดิน หิน พืช น้ำ และสัตว์

10. ระบุตำแหน่งที่อยู่ หรือตำแหน่งที่พบเจอ

11. วาดรูปและถ่ายภาพประกอบจากการสำรวจ

12. จัดหาลานกางเต้นท์เพื่อเตรียมค้างแรม

13. รับประทานอาหารเย็นร่วมกันและสนทนาสิ่งที่ได้เรียนรู้ ข้อสังเกต และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันรอบกองไฟ

14. พูดคุยประเด็นนิเวศของป่าเต็งรังจากการสำรวจ 

15. สำรวจต่อตอนเช้า เขียนอธิบายลักษณะที่สังเกต ลักษณะเฉพาะของ ดิน หิน พืช น้ำ สัตว์ ตำแหน่งที่พบเจอ

16. สำรวจลักษณะกายภาพ ภูมิศาสตร์ ดิน หิน น้ำ พืช และสัตว์ริมแม่น้ำโขง

17. ตรวจวัดคุณภาพน้ำ DO และ pH

18. ตรวจวัดค่า pH ของน้ำ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ และอุณหภูมิ

19. ตรวจวัดคุณภาพน้ำ DO และ pH ริมโขง

20. เตรียมตัวอย่างดินในชุมชน 5 จุด

21. ตรวจวัดคุณภาพดิน NPK และค่า pH

22. สรุปการเรียนรู้ความเข้าใจระบบนิเวศกับสภาพภูมิศาสตร์ของชุมชน

23. นำเสนอข้อมูลจากการสำรวจร่วมกัน

24. ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ

25. นำเสนอการเรียนรู้จากการลงภาคสนามกับ พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา ในชุมชน

27. สมุดบันทึกภาคสนาม

28. รายงานท้ายเทอม สรุปการเรียนรู้และความสัมพันธ์ของนิเวศในชุมชน

จากการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ เป็นการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้หลายมิติ ทั้งด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม และเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่เอื้ออำนวยให้กันและกัน เห็นการพึ่งพิงของคนกับป่า “ถ้าคนดูแลป่า แล้วป่าก็จะดูแลคนเช่นกัน”

นอกจากการเรียนรู้ของนักเรียนแล้ว ตัวครูเองก็ได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เยอะมาก การอยู่ร่วมกันกับนักเรียน เป็นทั้งครู ทั้งที่ปรึกษา และบางครั้งก็เป็นเพื่อนในคราวเดียวกัน มันเลยทำให้เราเติมโตขึ้นไปอีกขั้นพร้อมกัน

สิ่งที่น่าประทับใจมากๆ ทุกครั้งที่ได้ไปบ้านตามมุย มันเหมือนกับเราได้กลับบ้าน ทุกคนยังจำเราได้ดีว่าครูชื่ออะไร และต้อนรับพวกเราดีมาก พาพวกเราไปเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนอยู่เสมอ และต้องบอกว่า เราไม่ใช่ครูเพียงคนเดียวที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้รอบด้าน จริงแล้วต้องขอบคุณทุกคนในหมู่บ้านด้วยเช่นกัน ถ้าไม่มีบุคคลเหล่านี้ในการให้ความรู้และพาไปทำกิจกรรมต่างๆ ก็อาจทำให้การเข้าไปเรียนรู้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ก็เป็นได้ ต้องขอบคุณชาวบ้าน พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา เด็กทุกคน ชุมชน พื้นที่ และแหล่งทรัพยากร ที่ทำให้ทุกคนที่ไปภาคสนามได้เกิดการเรียนรู้จนเกิดประสบการณ์กับตัวเองมากขึ้น และผมก็ยังคงคิดถึงสถานที่แห่งนี้เสมอ หมู่บ้านริมแม่น้ำโขงที่มีภูเขาล้อมรอบ บ้านตามุย อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี