ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

Start-Up สตาร์ทอัพ เป็นซีรีส์เกาหลี ที่ออกอากาศทาง Netflix ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2563 เรื่องนี้ ถือเป็นอีกเรื่องนึงที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก ในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องตัวนักแสดงนำ ยกตัวอย่างเช่น แบซูจี (รับบทในเรื่องนี้เป็นตัวเอก ที่ชื่อ ซอดัลมี) และเรื่องความฝันและความต้องการของคนหนุ่มสาวในยุคนี้ที่ต้องการเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ รวมไปถึงเรื่องความรู้ในเรื่องการทำธุรกิจ

ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

Start-Up สตาร์ทอัพ ธุรกิจในฝันของคนในยุคนี้

เด็กๆ หรือหนุ่มสาวในยุคนี้ พวกเขาเติบโตมาในยุคเทคโนโลยี พวกเขาหลายคนมีความฝันและอยากเป็นเจ้าของกิจการโดยเฉพาะในธุรกิจสตาร์ทอัพ ส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะเบื่อหน่าย หรือ ไม่ชอบเส้นทางของการทำงานประจำ (คือไม่อยากทำงานบริษัท) อีกส่วนนึงก็เพราะการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ เป็นกระแสที่กำลังมาแรงในยุคนี้ นอกจากนี้ประกอบกับว่ามีบริษัทสตาร์ทอัพ ที่เติบโตมากมายให้เห็นเป็นตัวอย่างในหลายๆ ประเทศ ก็เลยเป็นเหตุที่ทำให้ Start-Up กลายเป็นธุรกิจในฝันของคนมากมายในยุคนี้

เรื่องราวของ ซีรีส์ Start-Up สตาร์ทอัพ

ซีรีส์ในเรื่องนี้ มีทั้งหมด 16 ตอน เป็นเรื่องราวของคนหนุ่มสาว ที่มีความสนใจในธุรกิจสตาร์ทอัพ ทุกคนต่างก็อยากประสบความสำเร็จโด่งดัง และได้รับการยอมรับกับการทำธุรกิจนี้ โดยในแต่ละตอนก็จะมีเนื้อหาตามตีมของชื่อของตอนเลย โดยในเรื่องนี้จะมีตัวแสดงหลัก ที่ต่างก็มีคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

ซอดัลมี (นำแสดงโดย แบซูจี) : สาวสู้ชีวิต เพราะเธอเลือกอยู่กับพ่อ (พ่อและแม่ของเธอแยกทางกัน พี่สาวของเธอเลือกที่จะไปอยู่กับแม่) จึงทำให้ชีวิตวัยเด็กจนถึงตอนโตของดัลมี เหมือนรถไฟเหาะตีลังกา เพราะเธอต้องทำงานเพื่อหาเงิน เธอจึงจำเป็นต้องตัดสินใจไม่เรียนต่อปริญญา แต่การตัดสินใจครั้งนี้ ก็ต้องแลกมาด้วยการทำงานหลายๆ อย่าง (เพื่อเงิน) ซึ่งงานแต่ละอย่าง ก็เป็นงานที่เป็นสัญญาจ้างชั่วคราวทั้งนั้น แต่นั่นก็ทำให้ ซอดัลมี ได้รับประสบการณ์มากมายจากงานเหล่านั้นเช่นกัน จนวันนึงเธอรู้สึกว่า ชีวิตมันจะลงเอยแบบนี้ไม่ได้ ฌธอน่าจะสามารถไปได้ไกลกว่านี้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ เธอเลือกที่จะเดินบนเส้นทางการเป็นสตาร์ทอัพ

ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

นัมโดซาน (นำแสดงโดย นัมจูฮยอก) : ชายหนุ่ม อดีตอัจฉริยะด้านคณิตศาสตร์ (ที่ได้มาเพราะโชคช่วย) ต่อมาเขาก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่มีความสามารถ เขาเป็นผู้ก่อตั้ง Samsan Tech ร่วมกับเพื่อนของเขาอีกสองคน นัมโดซานเอง ใช้เงินของพ่อแม่มาลงทุนให้กับ Samsan Tech เขาและเพื่อนก็พยายามที่จะส่งผลงานเข้าประกวด เพื่อหวังว่าธุรกิจสตาร์ทอัพของเขาจะเป็นจริงได้ จนมาเจอ ซอดัลมี ซึ่งทำให้พวกเขาทั้งคู่เดินทางเข้าสู่วงการสตาร์ทอัพไปด้วยกัน

ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

ฮันจีพยอง (นำแสดงโดย คิมซอนโฮ) : พี่ชายที่แสนดี และพี่เลี้ยงขาโหด ภาพปัจจุบัน คือ ชายผู้ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย เป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาด ที่มีวาทะเชือดเฉือนจิตใจคนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคนที่มาขอทุน หรือ ทีมที่เขาต้องไปเป็นพี่เลี้ยงให้ นั่นก็คือทีมของ ซอดัลมี นั่นเอง แต่นิสัยจริงๆ แล้ว ฮันจีพยอง เป็นคนที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมาก มีความกตัญญู และเสียสละ (ยอมแม้กระทั่งเสียคนที่ตนรักมากที่สุด ให้คนที่เหมาะสมมากกว่าไป) ในเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่า กว่าเขาจะมาถึงจุดนี้ได้ เรียกได้ว่า ต้องผ่านประสบการณ์มาอย่างโชกโชนเลยจริงๆ

ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

วอนอินเจ (นำแสดงโดย คังฮันนา) : พี่สาวที่ไม่เคยยอมแพ้ใครๆ วอนอินเจ คือ พี่สาวแท้ๆ ของ ซอดัลมี ที่เลือกที่จะไปอยู่กับแม่ และแม่ของพวกเธอก็ได้แต่งงานใหม่กับมหาเศรษฐี เลยทำให้ วอนอินเจ มีความพร้อมไปทุกอย่าง ทั้งเงินทอง การศึกษา พื้นฐานครอบครัว ภาพลักษณ์สวยงาม และฐานะทางสังคม แต่เอาเข้าจริงแล้ว ตัวของอินเจเองก็อยากให้ทุกคนยอมรับในความสามารถของตัวเธอเอง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากการที่ได้รับการสนับสนุนจากพ่อเลี้ยงของเธอ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอต้องการพิสูจน์ตนเอง ด้วยการเป็นสตาร์ทอัพนั่นเอง

ทั้ง ซอดัลมี นัมโดซาน วอนอินเจ รวมไปถึงหนุ่มสาวที่มีความฝัน ต่างก็อยากประสบความสำเร็จ กับธุรกิจสตาร์ทอัพ และเป้าหมายของพวกเขา ก็คือ การเข้าไปทำงานที่ “Sandbox”

“Sandbox” ในเรื่อง ก็เปรียบเสมือน Silicon Valley เป็นที่ ที่หนุ่มสาวรุ่นใหม่ อยากเข้ามาทำงานที่นี่ ซึ่งจริงๆ แล้ว Sandbox ก็คือ Accelerator นั่นเอง คือ เป็นสถาบันหรือองค์กรที่เปิดพื้นที่ เปิดโอกาสให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มที่จะทำเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ เข้ามาทำงาน มาทดสอบเทคโนโลยี และมาลองทำธุรกิจจริงๆ โดย Sandbox เขามีทุนประเดิมให้ มีพื้นที่ มีที่ทำงาน มีทรัพยากรต่างๆ ให้ใช้อีกด้วย

ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

โดยหนุ่มสาวที่สนใจ (ในเรื่อง) ก็จะสมัครกันเข้ามา เพื่อมาแข่งขันกันในการพัฒนาโปรแกรมและนำเสนอโครงการเพื่อแก้ปัญหา Pain point ของลูกค้า หรือ องค์กร หรือ สังคม ในระยะเวลาจำกัด โดยกิจกรรมที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ก็คือ Hackathon นั่นเอง โดยแต่ละทีมจะต้อง Pitching นำเสนอไอเดียและแผนธุรกิจต่อหน้าคณะกรรมการ ทีมใดที่รอดเข้ารอบสุดท้ายไปได้ ก็จะได้ไปทำงานที่ Sandbox ต่อไปนั่นเอง

ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

การได้เข้ามาอยู่ใน Sandbox ก็ยังมี พี่เลี้ยง (Mentor) คอยช่วยเหลือ คอยแนะนำให้คำปรึกษาอีกด้วย และ จะต้องมีการแข่งขันกันต่ออีก ไม่ใช่เข้ามาแล้วจะอยู่เฉยๆ ได้ ต้องพัฒนาเทคโนโลยีของตนต่อไป และ ระหว่างทางก็ต้องแสวงหานักลงทุนไปด้วย จุดตัดสินก็ต้องไปวัดความเจ๋งของธุรกิจสตาร์ทอัพแต่ละราย ในวัน เดโม่ (ซึ่งก็ต้อง Pitching อีก) ว่าจะเข้าตากรรมการ และนักลงทุนไหม?

หากรายใด มีการทดสอบเทคโนโลยีไปได้สวย และมี Business Model ที่ดี ก็จะสามารถหานักลงทุนมาสนับสนุนได้ไม่ยาก นักลงทุน หรือ Angel Investor ก็คือ นักลงทุนที่ให้คำแนะนำทางธุรกิจ และสนับสนุนเงินให้ Startup ที่เพิ่งเริ่มต้น อาจจะมีบทบาทเพียงแค่เป็นนักลงทุน หรือ อาจจะเข้ามาช่วยในเรื่องการทำธุรกิจด้วยก็ได้

หรือ บางกรณี อาจจะเป็นการ Exit ของธุรกิจสตาร์ทอัพ ด้วยการขายกิจการ เช่น ขายทั้งบริษัท ที่มีทั้งคนและเทคโนโลยีให้กับนักลงทุนสถาบัน หรือ บริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการก็ได้

เรื่องราวของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร? จะจบแบบไหน ลงเอยอย่างไร? คงต้องไปติดตามดูต่อกันเองนะครับ

Start-Up สตาร์ทอัพ เป็น ซีรีส์ ที่ตีแผ่กระบวนการของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ได้เป็นอย่างดี

ซีรีส์ Start-Up สตาร์ทอัพ หากตัดเรื่องความดราม่าของเรื่องนี้ออกไป ซีรีส์เรื่องนี้สะท้อนเรื่องราวและความเป็นจริงในเรื่องเส้นทางของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงให้แง่คิดในเรื่องของการทำธุรกิจในยุคนี้ได้ด้วย คนที่มีความฝันอยากทำธุรกิจ หรือ แม้กระทั่งคนทำงานประจำ หรือ นักศึกษา ต่างก็สามารถเรียนรู้จากหนังเรื่องนี้ได้ เผลอๆ เข้าใจง่ายกว่าไปหาอ่าน หรือ หาคลาสเรียนเรื่องเหล่านี้เสียอีก เอาเป็นว่า หากดูจบเล้ว น่าจะตอบคำถามในใจได้ทันที ว่าเรายังอยากทำธุรกิจนี้อยู่หรือเปล่า?

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องนี้

จริงๆ แล้วมีหลายแง่มุมที่น่าสนใจ แต่ในบทความนี้ แอดมินขอนำเสนอแง่คิดที่ได้ของการทำธุรกิจกันก่อนนะครับ ซึ่งมีอยู่ 6 ประเด็น ดังต่อไปนี้

“Start-Up สตาร์ทออกตัวได้ไม่ยาก แต่จะไปให้รอดนั้นยากเอามากๆ”

เพราะโลกของการทำสตาร์ทอัพ ไม่ได้สวยงามอย่างที่หลายๆ คนคิด อัตราการประสบความสำเร็จมีแค่เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นเท่านั้น

อ้างอิงข้อมูลจาก Investopedia บอกว่าจากการสำรวจในปี 2019 พบว่า

“อัตราความล้มเหลวของธุรกิจ Startup ประมาณ 90%”

โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า 21.5% จะไม่ประสบความสำเร็จในปีแรก 30% ในปีที่สอง และ อีกราวๆ 70% ในปีที่สิบ นั่นหมายความว่า โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจนี้ แค่ 10% เท่านั้นเอง

เอาเป็นว่าหากเราสนใจในธุรกิจนี้จริงๆ ก็ต้องยอมรับความจริงกันเสียก่อนว่า มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะหากเราเข้าใจ เรียนรู้วิธีการ และเดินตามเส้นทางที่ถูกต้อง ไม่แน่ เราอาจจะกลายเป็นยูนิคอร์น บริษัทต่อไปก็ได้ (ยูนิคอร์นสตาร์ทอัพ คือ บริษัทสตาร์ทอัพ ที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ เช่น Air BNB, Uber, SpaceX, Xaomi เป็นต้น)

“Start-Up เป้าหมายต้องชัดเจน ทำไปเพื่ออะไร และ เพื่อใคร”

สตาร์ทอัพ ก็เป็นธุรกิจเช่นกัน หากคนริเริ่ม ไม่เข้าใจในจุดนี้ ก็จะมีแต่ความฝัน ที่อยากเอาเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาให้คนด้อยโอกาส หรือ คนที่มีปัญหากลุ่มนั่นหรือกลุ่มนี้ ใช่การช่วยเหลือคนด้อยโอกาส มันอาจจะดูเป็นเรื่องที่ดี แต่การคิดแค่ด้านนี้ด้านเดียวโดยไม่ได้มีเป้าหมายในเรื่องการทำให้ สตาร์ทอัพ เป็นธุรกิจได้ มันก็จะกลายเป็นเรื่องยากไปในทันที เรียกได้ว่า เป็นได้แค่ในฝัน

ก็เหมือนกับบางช่วงบางตอนที่ Samsan Tech มีแต่เทคโนโลยี แต่ก็ไปไม่ถึงไหน เพราะยังขาดเป้าหมายที่ชัดเจน โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของเขา หรือ มันทำมาเพื่อใคร เป็นต้น จนมาเริ่มทำ สตาร์ทอัพ กับ ซอดัลมี ที่ Sandbox ถึงมาเจอเป้าหมาย และ กลายเป็นธุรกิจได้จริงๆ

“Start-Up จะไปรอดหรือไม่ ก็อยู่ที่สายป่านเช่นกัน”

ปัญหาอีกอย่างนึงที่สำคัญของสตาร์ทอัพ ไม่ประสบความสำเร็จ ก็คือ เรื่อง Burn rate สูงและนานเกินไป เพราะหลายๆ ธุรกิจยังอยู่ในจุดนี้ นั่นก็คือ จุดที่ยังจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาลลงทุนไปเรื่อยๆ กับเทคโนโลยี หรือ ในเรื่องอื่นๆ ซึ่งมีแต่ต้นทุนมีแต่ค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีรายได้ หรือ มีรายได้ แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมเงินในส่วนที่ลงทุนหรือค่าใช้จ่ายที่มีได้

Burn rate เปรียบเสมือน Cost of Growth ที่ สตาร์ทอัพ จำเป็นต้องลงทุนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี คน ทรัพยากรต่างๆ การตลาด เพื่อดึงลูกค้าเข้ามาใช้ ช่วงนี้เป็นข่วงที่ใช้เงินมาก หากไม่สามารถพลิกกลับมาเริ่มมีรายได้ ได้จริงๆ ก็จะมีปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ และ อาจจะต้องระดมทุนใหม่จากนักลงทุนอีกรอบ (ทุกๆ รอบที่มีการลงทุนใหม่ เจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพ จำเป็นจะต้องขายหุ้นตัวเองออกมาเพื่อแลกกับเงินลงทุน)

ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

หากเราได้ไปดูงบการเงินของบริษัทสตาร์ทอัพ จะพบว่าส่วนมากต่างก็ประสบปัญหาขาดทุนกันทั้งนั้น หากพวกเขาไม่สามารถหานักลงทุนมาสนับสนุนต่อไปได้ หรือ เทคโนโลยีที่ทำอยู่ไม่มีอนาคต ก็คงต้องพับธุรกิจไป นักลงทุนก็ต้องสูญเงินไปสำหรับเคสแบบนี้

“Start-Up เทคโนโลยีดี แต่ผู้ใช้ก็ไม่ได้ยินดีที่จะจ่ายเสมอ”

ปัญหาอีกอย่างนึงของสตาร์ทอัพ ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะหาเงินไม่ได้ ก็เพราะอาจจะมุ่งเน้นเพื่อแก้ปัญหาสังคมมากเกินไป จนลืมมองไปว่า จะหารายได้จากช่องทางไหน หรือ ผู้ใช้บริการยินดี หรือ สามารถจ่ายได้หรือเปล่า

“คนใช้สินค้าไม่ได้เป็นคนซื้อ คนซื้อสินค้าไม่ได้ใช้”

ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

ในเรื่องมีธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ทำ application บนมือถือช่วยคนแก่ หรือ คนที่มีปัญหามองไม่ชัด สามารถเข้าใจสิ่งที่มือถือกำลังถ่ายภาพนั้นได้ เช่น ใช้กล้องมือถือส่องไปที่หน้าคน ก็จะบอกว่าคนตรงหน้าคือใคร หรือ ส่องไปที่สิ่งของต่างๆ ก็จะบอกว่าของนั้นคืออะไร? ไอเดียดีใช่ไหม แก้ปัญหาสังคมได้ด้วย แต่ปัญหาคือ คนใช้ไม่สามารถจ่ายได้ แล้วใครละจะเป็นคนจ่าย นี่คือ อีกหนึ่งอุปสรรคของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ เช่นกัน ที่เกิดจากการที่มุ่งเน้นบางประเด็น เช่น ในเรื่องเทคโนโลยี หรือ เรื่องการใช้งานมากเกินไป แต่ลืมเรื่องการหารายได้ (Business Model ไม่เคลียร์ Revenue Model ไม่สอดคล้องกัน)

“Start-Up เทคโนโลยีดี ได้ผู้นำไม่ดี และ บริหารจัดการเรื่องคนในทีมไม่ได้ ก็จบเช่นกัน”

เรื่องของผู้นำและทีมงานถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ในเรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นหลายแง่มุมแล้วว่า ไม่ใช่ทุกคนที่เก่งเรื่องเทคโนโลยีอย่าง นัมโดซาน แล้วจะเป็นผู้นำที่ดีได้ ไม่ใช่ต้องจบจากที่ดังๆ อย่างพี่สาวของเธอ หรือ มีปริญญาจะเป็นผู้นำที่ดีได้เช่นกัน ในเรื่อง ซอดัลมี ผู้ที่ไม่จบปริญญา มีแต่คนดูถูก ดูแคลนเธอ แต่เธอก็สามารถพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจ (แถมตัดสินใจส่วนใหญ่ดีซะด้วย) เธอให้เกียรติลูกทีม ให้ความไว้วางใจ ยังคอยหาวิธีการช่วยเหลือทีมงานเสมอ

ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

หากองค์กรใด ที่มีหัวหน้าหรือผู้นำที่ดี ปัญหาเรื่องคนก็จะเบาบางลง (ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปัญหานะครับ) หรือ หากมีก็แก้ไขได้ไม่ยาก ในเรื่อง ซอดัลมี ก็เจอสารพัดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ เรื่องการแบ่งหุ้น เรื่องเนื้องาน เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้นำที่ดีก็ต้องสามารถดึงศักยภาพของทีมงานออกมาได้อย่างเต็มที่ และ เป็นคนที่สร้างบรรยากาศช่วยทำให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ จะเห็นดังตัวอย่างในเรื่องนี้ ทุกคนในทีม ได้ทำในงานในส่ิงที่ตนเองเก่งและถนัดจริงๆและทุกคนก็พร้อมช่วยเหลือกัน ถือเป็นทีมที่มีส่วนผสมลงตัว ซึ่งต่างจากทีมพี่สาวของเธอ ซึ่งเป็นองค์กรแบบ เจ้านายว่าไง ก็ว่าตามกัน

“Start-Up เทคโนโลยีดี ได้ผู้นำดี แต่หากมีพี่เลี้ยงที่ดีด้วยแล้ว จะไปได้ไวและไกลกว่าเดิม”

ไม่มีใครเกิดมาเป็นผู้นำมาก่อน หรือ ทำในตำแหน่งที่สำคัญๆ มาก่อน ในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพก็เช่นกัน ตัวอย่างเช่น Samsan Tech ทุกอย่างก้าว ไม่ว่าตั้งแต่ เข้ามาแข่ง Hackathon จนสามารถประสบความสำเร็จ (สำเร็จแบบไหน คงต้องไปดูกันเองนะครับ)​ หลายๆ เรื่องที่สำคัญ ล้วนผ่านการช่วยเหลือ และ ได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยงทั้งสิ้น

ตัวอย่างธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จ

พี่เลี้ยงของพวกเขาก็คือ หัวหน้า ฮันจีพยอง นั่นเอง หัวหน้าฮัน แนะนำในเรื่องยากๆ ที่ทั้งทีมไม่เคยทำและไม่มีประสบการณ์มาก่อน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ Samsan Tech สามารถไปต่อได้ ชีวิตจริงของพวกเราก็เช่นกัน ใครมีพี่เลี้ยงเก่งๆ ถือว่ามีแต้มต่อ และ โชคดีเอามากๆ เพราะพี่เลี้ยงนี่แหละสามารถทำให้เราไปได้ไวและไกลกว่าเดิม

บทสรุป

เรื่องราวของ หนุ่มสาว ในเรื่องนี้ ก็มีหลายประเด็นที่คล้ายๆ กับน้องๆ หรือ เพื่อนๆ ในสังคมไทยของเรา ทุกคนล้วนมีความฝัน ล้วนอยากที่จะประสบความสำเร็จกันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริง (ทั้งเรื่องจริงและในหนัง) ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า มันไม่ง่ายเลย

“เรื่องของธุรกิจ ความสำเร็จไม่มีคำว่าโชคช่วย”

ในการทำธุรกิจ กว่าจะผ่านแต่ละด่าน แต่ละปัญหาละอุปสรรคได้ แค่มีความมุ่งมั่น ความตั้งใจ อาจจะไม่พอ มันต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญอีกมากมาย อาทิเช่น เพื่อนร่วมทีมที่เข้ากันได้ เข้าใจและมีเป้าหมายเดียวกัน มีพี่เลี้ยงที่มากประสบการณ์มาช่วยประคับประคอง หรือ แม้กระทั่งในเรื่องจังหวะ และ โอกาส ซึ่งหากไม่ใช่เวลา หรือ จังหวะที่เหมาะสมก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

เอาเป็นว่า หากได้คำตอบแล้วว่า อยากลงสนามนี้จริงๆ ก็ลองเอาแนวคิดที่ได้จากเรื่องนี้ ไปเตรียมตัวเอาไว้ได้เลยนะครับ สุดท้ายนี้ แอดมิน ก็ขอให้ทุกคน ประสบความสำเร็จบนเส้นทางที่ได้เลือกเองนะครับ