ข้อสอบ ประวัติศาสตร์ ม.2 พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย

รายวิชาประวัติศาสตร์ 3 รหัสวิชา ส 22105 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลาเรียน 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 0.5 หน่วยกิต

ศึกษาวิเคราะห์การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ การพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาคเอเชีย ความสำคัญของแหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรธนบุรีในด้านต่างๆ

โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และกระบวนการแก้ปัญหา

เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆ ในทวีปเอเชียจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ให้ตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบที่เกิดขึ้น มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

1. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ทรงมีพระนามาภิไธยปรากฏในทำเนียบครั้งโบราณว่าอย่างไร

    ก. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4

    ข. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4

    ค. สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 4

    ง. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิที่ 4

2. ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา

    ก. เกิดความขัดแย้งแย่งชิงอำนาจในกลุ่มราชวงศ์

    ข. การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้ามังระกษัตริย์ของพม่า

    ค. ความไร้ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน

    ของราชสำนัก

    ง. การขาดแคลนกำลังพลในการสู้รบกับกองทัพพม่า

3. หากพิจารณาเปรียบเทียบความเป็นพระมหากษัตริย์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแตกต่างจาก พระมหากษัตริย์พระองค์อื่นแห่งรัฐสยามทางด้านใด

    ก. ทางด้านฐานอำนาจและชาติวุฒิ

    ข. ทางด้านความรู้ความสามารถ

    ค. ความสามารถทางด้านการรบ

    ง. ความสามารถทางด้านการทูต

4. ศึกสงครามครั้งใดเป็นศึกครั้งใหญ่ที่สุดที่ไทยรบกับพม่า

หลังการสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานีเพราะอะไร

    ก. ศึกไทยรบกับพม่าที่บางแก้ว เพราะไทยใช้เวลาปิดล้อมเป็นเวลานาน

    ข. ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีเมืองเหนือ เพราะเป็นการยกทัพครั้งใหญ่ของพม่า

    ค. ศึกตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 เพราะไทยต้องรบกับพม่า

    ง. ศึกพม่าตีเมืองเชียงใหม่ เพราะพม่าหวังยึดคืนจากไทยให้ได้

5. เหตุผลใดไม่ใช่เหตุผลหลักที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน

มหาราชทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทน

กรุงศรีอยุธยา

    ก. เป็นชุมชนดั้งเดิมขนาดใหญ่ และมีป้อมปราการพอป้องกันตัวเองได้

    ข. เป็นชุมชนคมนาคมทางน้ำ และใกล้ปากอ่าวออกสู่ทะเลง่าย

    ค. สามารถถอนตัวไปเมืองจันทบุรีหรือติดต่อค้าขายกับต่างชาติได้สะดวก

    ง. อยู่ห่างไกลจากประเทศพม่าทำให้พม่าเดินทัพลำบาก

6. ชุมนุมใดเป็นชุมนุมที่แข็งแกร่งที่สุดในสมัยการปราบปรามรวบรวมรัฐสยามของสมเด็จพระเจ้า

ตากสินมหาราช

    ก. ชุมนุมพิมายของกรมหมื่นเทพพิพิธ

    ข. ชุมนุมเจ้าพระฝางสวางคบุรี

    ค. ชุมนุมของเจ้าพระยาพิษณุโลก

    ง. ชุมนุมของเจ้านครศรีธรรมราช

7. ภาษีที่ทางการเรียกเก็บจากผู้ที่ประมูลขุดหาทรัพย์สมบัติที่

มีผู้ฝังไว้ในแผ่นดินกรุงเก่าเรียกว่าอะไร

    ก. ค่าภาคหลวง         ข. จังกอบ

    ค. ภาษีเบิกร่อง         ง. ภาษีปากทาง

8. บุคคลใดที่เป็นแม่ทัพใหญ่ที่เป็นกำลังสำคัญในการกอบกู้และขยายอาณาจักรสยามร่วมกับสมเด็จ

พระเจ้าตากสินมหาราช

    ก. พระยาเจ่ง และพระยารามัญวงศ์

    ข. พระยาวิเชียรปราการ และพระยากาวิละ

    ค. เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์

    ง. พระยาสีหราชเดโชชัย และเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์

9. วรรณกรรมใดที่ ไม่ใช่ ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยธนบุรี

    ก. นิราศกวางตุ้ง

    ข. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์

    ค. บทพระราชนิพนธ์กลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์

    ง. เตภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง

10. ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาในสมัย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

    ก. สเปน         ค. ฮอลันดา

    ข. อังกฤษ     ง. โปรตุเกส

11. เพระเหตุใดพระยาตากจึงเลือกจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น

    ก. มีความอุดมสมบูรณ์

    ข. เจ้าเมืองมาสวามิภักดิ์

    ค. มีกำลังพลจำนวนมาก

    ง. เป็นเมืองที่พระยาตากเคยปกครอง

12. วีรกรรมสมเด็จพระสุริโยทัยเกิดในสมัยใด

    ก. สมเด็จพระมหินทราธิราช

    ข. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

    ค. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ง. สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

13. สงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135เป็นสงครามระหว่างใครกับ

ใคร

    ก. พระเจ้าแปรกับพระมหาจักรพรรดิ

    ข. สมเด็จพระสุริโยทัยกับพระมหาอุปราชา

    ค. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับพระเจ้าแปร

    ง. สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา

14. สมัยใดจัดว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรม

    ก. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

    ข. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

    ค. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

    ง. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

15. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกอัญเชิญพระแก้วมรกตมา

จากเมืองใด

    ก. เชียงใหม่             ข. จำปาศักดิ์

    ค. เวียงจันทน์         ง. หลวงพระบาง

16. พระยาเสือเป็นสมญานามของใคร

    ก. เจ้าฟ้าอุทุมพร

    ข. เจ้าพระยาสุรสีห์

    ค. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    ง. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

17. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงประกาศใช้กฎหมาย

ทำเนียบศักดินาเพื่ออะไร

    ก. กำหนดหน้าที่ของขุนนาง

    ข. กำหนดศักดินาของเจ้านาย

    ค. กำหนดสิทธิหน้าที่ของมูลนายและไพร่

    ง. กำหนดอำนาจหน้าที่ของอัครมหาเสนาบดี

18. วรรณกรรมเรื่องอะไรแต่งในสมัยสมเด็จพระบรม

ไตรโลกนาถ

    ก. ลิลิตพระลอและจินดามณี

    ข. ลิลิตยวนพ่ายและกาพย์มหาชาติ

    ค. มหาชาติคำหลวงและลิลิตยวนพ่าย

    ง. ลิลิตโองการแช่งน้ำและพระราชพงศาวดารกรุงเก่า

    ฉบับหลวงประเสริฐฯ

19. การทำสารบัญชีในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

    ก. การคืนภาษีอากร

    ข. การเก็บภาษีอากร

    ค. การเอาชนะในการรบ

    ง. การสำรวจจำนวนไพร่

20. คุณธรรมข้อใดของพระสุริโยทัยที่ควรนำมาเป็นแบบ

อย่าง

    ก. ความขยัน         ข. ความอดทน

    ค. ความซื่อสัตย์     ง. ความกล้าหาญ

21. พระราชกรณียกิจที่สำคัญของสมเด็จพระนเรศวร

มหาราชรองจากประกาศอิสรภาพคืออะไร

    ก. การส่งทูตไปจีน

    ข. การขยายดินแดน

    ค. การทำสงครามยุทธหัตถี

    ง. การฟื้นฟูบ้านเมืองหลังสงคราม

22. หนังสือเรียนภาษาไทยเล่มแรกที่แต่งในสมัยสมเด็จ

พระนารายณ์มหาราชคือเรื่องอะไร

    ก. จินดามณี

    ข. ปฐม ก กา

    ค. มูลบทบรรพกิจ

    ง. สมุทรโฆษคำฉันท์

23. เมื่อกอบกู้เอกราชแล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ทรงกระทำสิ่งใดก่อน

    ก. ปราบจลาจลในเขมร

    ข. ส่งกองทัพไปตีเวียงจันทน์

    ค. ปราบชุมนุมที่ตั้งตนป็นอิสระ

    ง. เตรียมทัพเพื่อยกไปโจมตีพม่า

24. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับตำแหน่งใดใน

สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์

    ก. หลวงยกบัตร

    ข. พระยายมราช

    ค. เจ้าพระยาจักรี

    ง. พระยาอภัยรณฤทธิ์

25. เจ้าพระยาสุรสีห์ได้ครองเมืองใด

    ก. จันทบุรี

    ข. เชียงใหม่

    ค. พิษณุโลก

    ง. สุพรรณบุรี

26. การที่คนไทยรักอิสระ เสรีภาพ มีความสามารถ กล้าหาญ ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของชนชาติใดแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ประจำชาติในข้อใด