กิจกรรมสร้างสรรค์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง

การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์  (กิจกรรมศิลปะ)

                   การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์  หรือการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ  ได้แก่  การวาดภาพระบายสี  การปั้น  การพิมพ์ภาพ  การพับ  การตัด  การฉีก  ปะ  ตลอดจนการประดิษฐ์เศษวัสดุ  ฯลฯ  ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์  การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง  ปลูกฝังลักษณะนิสัยให้เป็นคนมีความประณีต  มีความละเอียดอ่อน  เป็นคนมีระเบียบ  รักความสะอาดในการทำงาน  ข้อควรตระหนักและให้ความสำคัญคือ  การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ระดับปฐมวัย  มิได้มุ่งเน้นผลงานที่สวยงาม  แต่เป็นการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก  การใช้คำว่ากิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อทำให้ครูระลึกอยู่เสมอว่า  ศิลปะสำหรับเด็กมิได้เน้นให้เด็กทำได้สวยหรือเหมือนของจริง  แต่ทำให้เด็กได้พัฒนาครบทุกด้านจากการทำกิจกรรมนี้  โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้

  1. พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก – ใหญ่
  2. พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
  3. ฝึกจิตใจให้มีคุณภาพ  เช่น  ความอดทน  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ความรับผิดชอบ
  4. ส่งเสริมให้มีอารมณ์แจ่มใส  ร่าเริง
  5. ทำให้มีความเพลิดเพลิน  ชื่นชมในความสวยงาม  สำนึกในคุณค่าของศิลปะ
  6. สร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกให้กับเด็ก
  7. ส่งเสริมการปรับตัวให้รู้จักการทำกิจกรรมร่วมกัน
  8. ฝึกให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  9. ส่งเสริมการดำเนินชีวิตที่ต้องแก้ปัญหาการทำงาน  รู้จักการปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลง

10.  พัฒนาความคิดสร้างสรรค์  และจินตนาการ

11.  ฝึกการสังเกต

12.  พัฒนาภาษา  สามารถอธิบายเกี่ยวกับผลงานของตนได้

ดังนั้นการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ทำแต่ละวัน  จะทำให้เด็กพัฒนาได้ครบทุกด้านตามที่กล่าวข้างต้น  สำหรับแนวทางที่จัดกิจกรรมนั้นมีแนวทางที่พอจะเสนอแนะไว้ดังนี้

1.  จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้มีทุกวัน  วันหนึ่งควรจัดให้มีหลายกิจกรรม  แล้วให้เด็ก   เลือกทำกิจกรรมให้ได้อย่างน้อย  2  กิจกรรม  จัดกิจกรรมหลัก  ได้แก่  การปั้นดินน้ำมัน  และการ วาดภาพระบายสี  ซึ่งเป็นกิจกรรมฝึกความพร้อมของกล้ามเนื้อมือ  นิ้วมือ  และฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา  อันจะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการเขียน  และการจัดกิจกรรมเสริม  ได้แก่  การตัด  ฉีก  ปะ  การประดิษฐ์  เป็นต้น

2.  จัดกิจกรรมให้เด็กทำกิจกรรมอย่างอิสระ  ไม่กำหนดรูปแบบหรือชี้นำให้เด็กทำตาม  ซึ่งจะเป็นการปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์  ขาดความคิดริเริ่มที่จะเป็นตัวของตัวเอง  คอยแต่จะฟังคำสั่งหรือทำตามแบบอย่างผู้อื่นอยู่เสมอ

3.  จัดให้เด็กได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ  4 – 6  คน  ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการทางสังคม  ช่วยให้เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น  ได้รู้จักการแข่งขัน  การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  มีความรับผิดชอบ

4.  จัดกิจกรรมโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง  ตอบสนองความต้องการ  ความสนใจ  ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละคน

5.  กิจกรรมใดที่เป็นกิจกรรมใหม่  หรือมีขั้นตอนซับซ้อน  ครูควรมีการสาธิตการใช้เครื่องมือ  การทำกิจกรรมแต่ละขั้นตอนและมีการดูแลอย่างใกล้ชิด

6.  อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายและแนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะแก่เด็ก

7.  ให้ความสำคัญในกระบวนการทำงานของเด็กมากกว่าคำนึงถึงผลงานของเด็ก

8.  บทบาทของครูในการจัดกิจกรรม

     8.1  ฝึกการทำตามข้อตกลงหรือกฎเกณฑ์ที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ก่อนลงมือทำกิจกรรม

     8.2  ยอมรับในความสามารถของเด็กแต่ละคน

     8.3  ใช้คำพูดยั่วยุ  และท้าทายให้แสดงออก

     8.4  สอนด้วยความรัก

     8.5  ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนแก้ไขผลงานศิลปะของเด็ก  แต่ควรพูดให้เกิดความคิดด้วยตนเอง

    8.6  วางแผนการจัดเตรียมเครื่องมือ  อุปกรณ์  เอาไว้ล่วงหน้า  เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ

ครูปฐมวัยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะพัฒนาเด็กด้วยกิจกรรมศิลปะ   ส่วนเด็กจะต้องได้ทำกิจกรรมศิลปะอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

 กิจกรรมสร้างสรรค์

กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงทางอารมณ์ ความรู้สึก ความ

คิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การฉีก – ตัด – ปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะกับพัฒนาการ เช่น การเล่นพลาสติกสร้างสรรค์ การสร้างรูปจากกระดานปักหมุด ฯลฯ

กิจกรรมสร้างสรรค์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง
กิจกรรมเป่าสี

จุดประสงค์

1.       ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ

2.       ให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียด

3.       ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมือ และพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

4.       ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา

5.       ฝึกทักษะการสังเกต การคิด และการแก้ปัญหา

6.       ส่งเสริมการแสดงออก และมีความมั่นใจในเอง

7.       ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

8.       ส่งเสริมการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

9.       ส่งเสริมคุณธรรมในด้านความอดทน การรอคอย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความรับผิดชอบและความมีวินัยในตนเอง

แนวการจัดกิจกรรม

            การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ควรจัดให้เด็กทำทุกวัน โดยอาจจัดวันละ 3 – 5 กิจกรรม ให้เด็กเลือกทำอย่างน้อย 1 – 2 กิจกรรม ตามความสนใจดังตัวอย่างการดำเนินการดังนี้

1.       เตรียมจัดโต๊ะและวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมโดยอาจมอบหมายให้เด็กรับผิดชอบช่วยจัดใน

แต่ละวัน

2.       สร้างบรรยากาศในการทำกิจกรรมให้มีความสดชื่นแจ่มใส และมีอิสระให้เด็กเลือกทำ

กิจกรรมอย่างมีระเบียบ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น

3.       ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความสนใจของตน อย่างน้อย 1 – 2 กิจกรรม

4.       การเปลี่ยน / หมุนเวียนการทำกิจกรรม ครูต้องกำหนดข้อตกลงกับเด็กว่าในกรณีที่โต๊ะ /

กลุ่มใดมีเด็กครบหรือเต็มตามจำนวนที่กำหนดหรือจัดไว้แต่เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมนั้นบ้าง เด็กจะต้องคอยจนกว่าจะมีที่ว่าง หรือให้เลือกเล่นในมุมเล่นก่อน เมื่อมีที่ว่างจึงจะสามารถเข้าทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ตนสนใจได้

5.       กิจกรรมใดเป็นกิจกรรมใหม่สำหรับเด็ก ครูควรแนะนำอุปกรณ์และวิธีใช้ เล่น การละเลง

สีด้วยนิ้วมือ ซึ่งจะต้องใช้น้ำทาโต๊ะแล้วทาบกระดาษลงไป (เพื่อกันไม่ให้กกระดาษเลื่อนไปมา) ตักแป้งที่ผสมสีลงบนกระดาษใช้ส่วนต่าง ๆ ของมือ เช่น นิ้วมือ ฝ่ามือ สันมือ ฯลน วาดแป้งเป็นรูปต่าง ๆ และควรแนะนำให้เด็กสวมพลาสติกกันเปื้อนเพื่อไม่ให้เลอะเทอะเสื้อผ้า

6.       ขณะเด็กทำกิจกรรมครูต้องคอยดูแล ชี้แนะหรือให้คำปรึกษาเมื่อเด็กต้องการ ครูไม่ควร

บอกหรือสั่งให้เด็กทำตามความคิดเห็นของครู หรือให้ทำกิจกรรมเหมือนกันหมดทั้งห้อง และต้องคอยให้กำลังใจแก่เด็ก อย่าติดเตียนจนเด็กหมดกำลังใจ

7.       ควรกระตุ้นให้เด็กรู้จักคิดแก้ปัญหา เช่น พบว่าเด็กวาดภาพรถยนต์ไม่มีล้อแทนที่ครูจะ

บอกให้เด็กเติมล้มรถ ครูอาจใช้คำถามว่า “รถคันนี้จะแล่นได้อย่างไร” การถามเช่นนี้จะช่วยให้เด็กคิด และคำตอบด้วยตนเอง

8.       เมื่อทำงานเสร็จหรือหมดเวลา ต้องให้เด็กเก็บพัสดุ เครื่องมือ  เครื่องใช้  เข้าที่และดูแล

ทำความสะอาดห้องเรียนให้เรียบร้อยทุกครั้ง

9.       เมื่อเด็กทำงานเสร็จ อาจให้เด็กเล่า / อธิบายผลงานของตน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาภาษาและ

ทักษะการคิดของเด็ก ถ้าเป็นภาพวาด ครูควรบันทึกเรื่องที่เด็กเล่น และวันที่ที่ทำไว้ด้วย เพื่อทราบความก้าวหน้าและระดับพัฒนาการของเด็ก การเขียนเรื่องที่เด็กเล่า ควรเขียนด้วยตัวบรรจงขนาดตัวหนังสือใหญ่พอที่เด็กจะเห็นลีลาการเขียนที่ถูกต้องเพื่อให้เด็กมีโอกาสคุ้นเคยกับตัวหนังสือ

กิจกรรมสร้างสรรค์มีกิจกรรมอะไรบ้าง

กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงทางอารมณ์ ความรู้สึก ความ คิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การฉีก – ตัด – ปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะกับพัฒนาการ เช่น การเล่นพลาสติกสร้างสรรค์ การสร้างรูปจากกระดานปักหมุด ฯลฯ

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ปฐมวัย มีอะไรบ้าง

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ กิจกรรมการวาดภาพระบายสี การเล่นกับสีชนิดต่าง ๆ การฉีก ตัด ปะ และงานประดิษฐ์ ฯลฯ ตามที่กล่าวมานี้ล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการแสดงออกทางความคิด ที่เด็กได้สำรวจและจัดทำกับวัตถุโดยตรง เด็กสามารถออกแบบ ตกแต่ง กับชิ้นงานได้อย่างอิสระ โดยแบ่งเป็นประเภทกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดังนี้

กิจกรรมเสริมประสบการณ์มีอะไรบ้าง

1. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้