เครือข่ายการศึกษา ตัวอย่าง

เครือข่ายการศึกษา ตัวอย่าง
5.1 ความหมายแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
5.2 แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ
1. แหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
2. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
5. แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์
5.3 ความหมายเครือข่ายการเรียนรู้
เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
5.4 ความหมาย เครือข่ายการเรียนรู้ส่วนบุคคล
เครือข่ายการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเอกัตบุคคลเป็นหลัก มีลักษณะของการประสานสัมพันธ์การดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายการให้บริการทางการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ไปยังผู้ที่ต้องการ อย่างกว้างขวาง และสนองตอบปัญหาความต้องการของแต่ละบุคคล ตลอดจนจิตใต้สำนึกในการมีส่วนร่วมพัฒนา

Show

5.5 ประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
ประเภทของแหล่งเรียนรู้
1. จัดตามลักษณะของแหล่งการเรียนรู้
1.1 แหล่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะหาความรู้ได้จากสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น แม่น้า ภูเขา ป่าไม้ ลาธาร กรวด หิน ทราย ชายทะเล เป็นต้น
1.2 แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนเทคโนโลยีทางการศึกษาที่อานวยความสะดวกแก่มนุษย์เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดประชาชน สถาบันการศึกษา สวนสาธารณะ ตลาด บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย สถานประกอบการ เป็นต้น
1.3 บุคคล เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดความรู้ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม การสืบสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งด้านประกอบอาชีพ ตลอดจนนักคิด นักประดิษฐ์ และผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. จัดตามแหล่งที่ตั้งของแหล่งการเรียนรู้
2.1 แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
2.2 แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นครอบคลุมทั้งด้านสถานที่และบุคคล
ประเภทเครือข่ายการเรียนรู้
สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างกระจายศูนย์
2. เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างรวมศูนย์
3. เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างลำดับ
4. เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างแบบผสม

5.6 ตัวอย่างเครือข่ายการเรียนรู้
เครือข่ายไทยสาร เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาต่างๆ ระดับมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันกว่า 50 สถาบัน เริ่มจัดสร้างในปีพ.ศ.2535
เครือข่ายยูนิเน็ต (UNINET) เป็นเครือข่ายเพื่อการเรียนการสอนที่สำคัญในยุคโลกา ภิวัตน์ จัดทำโดยทบวง มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540
สคูลเน็ต (SchoolNet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ได้รับการดูแลและสนับสนุนโดยศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เครือข่ายนี้เชื่อมโยงโรงเรียนในประเทศไทยไว้กว่า 100 แห่ง และเปิดโอกาสให้โรงเรียนอื่นๆ และบุคคลที่สนใจเรียกเข้าเครือข่ายได้
เครือข่ายนนทรี เป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์แบบและใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สามารถตอบสนองความต้องการใช้ของนิสิต อาจารย์ ข้าราชการ ตลอดจนการรองรับทางด้านทรัพยากรเซอร์เวอร์อย่างพอเพียง
เครือข่ายกระจายเสียงวิทยุ อสมท. จะรวมผังรายการวิทยุในเครือข่าย อสมท. มีไฟล์เสียงรับฟังทางอินเทอร์เน็ตได้.
เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง เป็นเครือข่ายที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นต่าง ๆ ทางการเมือง และบทวิเคราะห์ด้านการเมือง
ThaiSafeNet.Org เป็นเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ มีพันธกิจด้านการเชื่อมโยงครู ผู้ปกครอง นักการศึกษา … โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ พันธกิจ : ฝึกอบรมครู ผู้ปกครอง เครือข่ายพุทธิกา

5.7 ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
1. การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
2. การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
3. การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน
4. การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มากที่สุด
ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน ดังนี้
1.ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพชีวิตจริง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว ท้องถิ่น
2.ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต ทำให้เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียน
3.ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่ความรู้สากลสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัวได้อย่างเป็นรูปธรรม
4.เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง
5.มีส่วนร่วมในองค์กร ท้องถิ่น บุคคล และครอบครัวในการพัฒนาท้องถิ่น
6.ได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลให้ เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

เครือข่ายการศึกษา ตัวอย่าง

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

Related