กฎหมายภาษีอากรของไทยในปัจจุบัน

การเก็บภาษีอากร นอกจากมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลแล้ว ในปัจจุบันภาษีอากรยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน หรือเพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล (เช่น การศึกษา การสวัสดิการสังคม นโยบายประชากร) ด้วย

กฎหมายภาษีอากรของไทยในปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักมีบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมายบัญญัติในการบัญญัติ กฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น มีหลักการบ่งประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร และให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีอากรที่ดีมีลักษณะดังนี้
- มีความเป็นธรรม ประชาชนควรมีหน้าที่เสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล โดยพิจารณาถึงความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชนแต่ละคน ประกอบกับการพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนแต่ละคนได้รับเนื่องจากการดูแลคุ้มครองของรัฐบาล
- มีความแน่นอนและชัดเจน ประชาชนสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่าย และเป็นการป้องกัน มิให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
- มีความสะดวก วิธีการกำหนดเวลาในการเสียภาษีอากรควรต้องคำนึงถึง ความสะดวกของผู้เสียภาษีอากร
- มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายผู้จัดเก็บและผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้มากโดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด
- มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ พยายามไม่ให้การเก็บภาษีอากรมีผลกระทบ ต่อการทำงานของกลไกตลาด หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด
- มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงเพิ่มหรือลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะกันสถานการณ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

กฎหมายภาษีอากรของไทยในปัจจุบัน

การจำแนกประเภทภาษีอากร โดยพิจารณาจากลักษณะการรับภาระภาษีอากรนี้ แบ่งภาษีอากรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่หนึ่ง
- ภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีที่ชำระภาษีตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ประเภทที่สอง ภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระหรือไม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้เสียภาษีผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ง่าย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต

กฎหมายภาษีอากรของไทยในปัจจุบัน

   https://www.gotoknow.org/posts/300089

กฎหมายภาษีอากรของไทยในปัจจุบัน

หน้าที่เสียภาษีอากรจึงเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญต่อบ้านเมือง เนื่องจากรัฐ หน่วยงานของรัฐ รวมถึงรัฐบาล มีความจำเป็นต้องนำรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรไปใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้เสียภาษีอันเป็นการบริหารจัดการประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าในทุกด้าน

ผู้เสียภาษีอากรทุกคนจึงต้องดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากรชนิดต่างๆ ที่มีการจัดเก็บในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรตามช่วงระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอาจเสียภาษีอากรเป็นรายปี รายเดือนหรือรายครั้งเมื่อได้รับรายได้แล้วแต่กรณี

ผลของการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร ทำให้ผู้เสียภาษีอากรมีความจำเป็นต้องกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตนไม่ว่าจะเป็นชื่อสกุล อายุ ที่อยู่ บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น รวมถึงข้อมูลของบุคคลที่สาม เช่น ชื่อสกุลนายจ้าง ชื่อสกุลคู่สมรส ที่อยู่ที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น

กฎหมายภาษีอากรของไทยในปัจจุบัน

(ภาพถ่ายโดย olia danilevich)

อีกทั้งยังต้องมีการระบุรายการรายได้หรือเงินได้ รายจ่าย การลดหย่อนและสิทธิประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งจำนวนเงินของแต่ละรายการดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการคิดคำนวณภาษีอากรอีกด้วย

ข้อมูลในแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียภาษีอากร ซึ่งในทางหลักการแล้วข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับความคุ้มครองให้มีความปลอดภัยและผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจะต้องดำเนินการใดๆ โดยคำนึงความปลอดภัยของข้อมูลเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

ในปัจจุบันมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นการเฉพาะแล้ว อันส่งผลทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ได้รับความคุ้มครองมากยิ่งขึ้นโดยบทบัญญัติกฎหมาย อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปพิจารณาบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากรแล้ว กฎหมายภาษีอากรมีการบัญญัติถึงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรบ้างหรือไม่ เนื่องจากกฎหมายภาษีอากรจำนวนหลายฉบับมีการบังคับใช้มาเป็นเวลานานก่อนการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาในปี 2562

ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายฉบับหนึ่งที่กล่าวถึงกฎเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ เช่น มาตรา 10 กำหนดหลักการไว้ว่า เจ้าพนักงานผู้ใดโดยหน้าที่ราชการได้รู้เรื่องกิจการของผู้เสียภาษีอากร หรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง

ห้ามมิให้แจ้งหรือเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้ใด เว้นแต่จะมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และมาตรา 11 กำหนดหลักการไว้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

กฎหมายภาษีอากรของไทยในปัจจุบัน

(ภาพถ่ายโดย Joshua Santos)

หรือประมวลรัษฎากรของสหรัฐ มาตรา 6103 กำหนดหลักการไว้ว่า ข้อมูลในแบบแสดงรายการเสียภาษีอากรของผู้เสียภาษีอากรจะได้รับการคุ้มครองจากการเปิดเผยข้อมูลให้กับบุคคลอื่นๆ แต่หน่วยงานจัดเก็บภาษีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อาจเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 

โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้หลายกรณี เช่น การเป็นพยานหลักฐานในศาลตามคำสั่งของศาล หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานอื่นของรัฐเพื่อประโยชน์การจัดเก็บภาษี เป็นต้น

เมื่อข้อมูลการเสียภาษีอากรของผู้เสียภาษีอากรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว หากเกิดการละเมิดต่อหลักการดังกล่าวโดยมีการเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียภาษี หรือการเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายอนุญาตให้มีการเปิดเผยข้อมูลแล้ว ผู้เสียภาษีอากรที่เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนได้

เช่น มาตรา 13 ของประมวลรัษฎากร วางหลักการไว้ว่า เจ้าพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 10 มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายภาษีอากรของไทยรวมถึงสหรัฐได้กำหนดหลักการคุ้มครองข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรไว้ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ซึ่งย่อมแสดงให้เห็นว่าข้อเท็จจริงหรือประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการรับรองและคุ้มครองภายใต้บทบัญญัติกฎหมาย กรณีที่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่เป็นข้อยกเว้นและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น

นอกจากนี้ หากพิจารณาในยุคปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ผู้เสียภาษีอากรย่อมมีความกังวลว่าข้อมูลเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรของตนเองอาจถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ และทำให้เกิดความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้เสียภาษีอากร ซึ่งย่อมส่งผลทำให้ผู้เสียภาษีอากรมีความคาดหวังต่อหน่วยงานจัดเก็บภาษีว่าต้องดำเนินการตามหลักการคุ้มครองข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรอย่างเคร่งครัดและเข้มงวด

ดังนั้น หน่วยงานจัดเก็บภาษีจะต้องนำหลักการคุ้มครองข้อมูลของผู้เสียภาษีอากร เป็นนโยบายและพันธกิจของหน่วยงานด้วย