แต่ละจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปประมาณกี่องศา

หลักการทำงานของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนแบบ 4 จังหวะ (Four-stroke engine)


         ” เครื่องยนต์เล็กและหลักการทางานมีความสำคัญมาก ดังนั้น นักเรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ชนิดของเครื่องยนต์เล็ก หลักการทำงานของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนและดีเซล 2 และ 4 จังหวะ เพื่อจะได้นำความรู้ความเข้าใจไปใช้ในการตรวจซ่อมเครื่องยนต์เล็กต่อไป “

               ไอของน้ำมันจะถูกอัดแล้วถูกจุดระเบิดโดยหัวเทียน “ไอดี” คือส่วนผสมของไอระเหยหรือละอองน้ำมันเบนซินผสมกับอากาศ ไอดีจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบหรือฉีดเข้ากระบอกสูบโดยหัวฉีดในช่วงชักดูดลิ้นไอดีเปิด และลิ้นไอเสียปิด หลังจากนั้นลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น ก่อนจะถึงศูนย์ตายบน (TDC) เล็กน้อยไอดีจะถูกอัดให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 700-900 องศาเซลเซียส ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียปิดสนิท ต่อไปไอดีที่ถูกอัดมานั้นจะถูกจุดระเบิดโดยประกายไฟประมาณ 25,000 โวลต์ จากเขี้ยวหัวเทียน ซึ่งเรียกว่าช่วงชักระเบิด หรือ “ช่วงชักงาน” แรงระเบิดทำให้ลูกสูบเลื่อนลงศูนย์ตายล่าง (BDC) เครื่องยนต์ได้งานในช่วงชักนี้ ทำให้เพลาข้อเหวี่ยงเกิดการหมุน เป็นการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล ช่วงชักคายลูกสูบเลื่อนขึ้นศูนย์ตายบน (TDC)  ลิ้นไอดีปิด ลิ้นไอเสียเปิด ไอเสียออกจากกระบอกสูบทางลิ้นไอเสียผ่านท่อไอเสียออกสู่บรรยากาศ เครื่องยนต์ทำงานครบ 4 ช่วงชัก เครื่องยนต์ 4 จังหวะโดยทั่วไปจะทำงานดังต่อไปนี้ 

จังหวะที่ 1 จังหวะดูด (Suction or intake stroke) ลูกสูบเลื่อนลงจากศูนย์ตายบนลงสู่ศูนย์ตายล่าง ลิ้นไอดีเปิดและลิ้นไอเสียปิด เพื่อดูดไอดีเข้ามาในกระบอกสูบ

แต่ละจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปประมาณกี่องศา
 

จังหวะที่ 2 จังหวะอัด (Compression stroke) ลูกสูบเลื่อนขึ้นจากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียปิดสนิท ไอดีถูกอัดให้ร้อน 700-900 องศาเซลเซียส

แต่ละจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปประมาณกี่องศา
 

จังหวะที่ 3 จังหวะระเบิด (Power stroke) ลูกสูบเลื่อนขึ้นใกล้ศูนย์ตายบน หัวเทียนจุดประกายไฟเผ่าไหม้ ไอดีเกิดการระเบิดขึ้นในห้องเผาไหม้ แรงระเบิดทำให้ลูกสูบเลื่อนลงจากศูนย์ตายบนลงสู่ศูนย์ตายล่าง ทำให้เพลาข้อเหวี่ยงเกิดการหมุน เครื่องยนต์ได้งานในช่วงชักนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ช่วงชักงาน” เป็นการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล 

แต่ละจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปประมาณกี่องศา

จังหวะที่ 4 จังหวะคาย (Exhaust stroke) ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ลิ้นไอดีปิดและลิ้นไอเสียเปิด แก๊สไอเสียออกจากกระบอกสูบผ่านลิ้นไอเสีย ท่อไอเสียและออกสู่ชั้นบรรยากาศภายนอกเครื่องยนต์ 

แต่ละจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปประมาณกี่องศา

“สรุป “ การทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ คือ จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด จังหวะคาย ลูกสูบขึ้นลงรวม 4 ครั้ง เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ จะได้งาน 1 ครั้ง