สาขาวิชาภาษาไทย ภาษา อังกฤษ

รูปแบบของหลักสูตร

            R หลักสูตรปริญญาโท (หลักสูตร 2 ปี)
           
R หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

R รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

แผนการศึกษาตามหลักสูตร

- แผน ก แบบ ก 1 (วิทยานิพนธ์)     มีจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์รวมตลอด   หลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

หมายเหตุ  ทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ

- แผน ก แบบ ก 2  (ศึกษารายวิชา และวิทยานิพนธ์) 

       มีจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์รวมตลอด  
       หลักสูตร ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต และศึกษา
       รายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

หมายเหตุ  สอนเป็นภาษาไทย และทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ
- แผน ข (สารนิพนธ์)
       มีจำนวนหน่วยกิตสารนิพนธ์รวมตลอดหลักสูตร 
       ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีก
       ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก1

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 และ

2. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ

3. มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในวงวิชาการนั้น ๆ หรือวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus/ISI/TCI หรือผ่านการนำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการ หรือมีประสบการณ์ในการทําวิจัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

แผน ก แบบ ก2

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ

2. ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 1 ปี
            และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา

แผน ก แบบ ก(2)

แผน ข

  1. หมวดวิชาบังคับ

12

12

  1. หมวดวิชาเลือก

6

18

  1. วิทยานิพนธ์

18

-

  1. สารนิพนธ์

-

6

รวมไม่น้อยกว่า

36

36

รายวิชาบังคับ

ทฤษฎีวรรณคดี

ทฤษฎีภาษาศาสตร์ภาษาไทย

ทฤษฎีคติชนวิทยา

วิธีวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

รายวิชาเลือก

กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ภาษาไทย

กลุ่มคติชนวิทยา

กลุ่มวิชาวรรณคดี

-       พัฒนาการภาษาไทย

-       วัจนปฏิบัติศาสตร์ในพื้นที่สาธารณะ

-       ภาษาไทยกับอุดมการณ์เพศสภาพ

-       ภาษาไทยและภาษาไทยถิ่นใต้ในวาทกรรมการเมือง

-       ภาษาศาสตร์ภาษาไทยสำหรับการสอนภาษา

-       สัมมนาภาษาศาสตร์ภาษาไทย

-       ตำนานและพิธีกรรม

-       เพลงพื้นบ้านและนิทานท้องถิ่น

-       คติชนถิ่นใต้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

-       คติชนกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ถิ่นใต้

-       คติชนถิ่นใต้ในเชิงวัฒนธรรมประชานิยม

-        สัมมนาคติชนวิทยา

-        พัฒนาการวรรณคดีไทย

-        วรรณคดีวิจารณ์

-        วรรณคดีไทยกับสื่อสมัยใหม่วรรณคดีท้องถิ่นภาคใต้สมัยใหม่

-        วรรณคดีไทยและวัฒนธรรมประชานิยม

-        วรรณคดีไทยในแง่มุมของเพศวิถี

-        สัมมนาวรรณคดีไทย

         

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (PLOs) 

PLO 1  นักศึกษามีคุณธรรมจริยธรรมทางวิชาการ ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการได้เป็นอย่างดี

PLO 2  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจทั้งภาษาไทยยุคเก่ารวมถึงภาษาไทยร่วมสมัย จนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ในด้านภาษาศาสตร์
          ภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา ไปศึกษาวิจัยได้ เพื่อให้ทันโลกและรักษาเอกลักษณ์ของตนในบริบทพหุลักษณ์ของภาคใต้

PLO 3  นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์วิจารณ์ความรู้ในศาสตร์ภาษาไทยที่สอดคล้องกับการดำรงอยู่และการ
          เปลี่ยนแปลงสำหรับการวิจัยและพัฒนา

PLO 4  นักศึกษารู้หลักทฤษฎีทั้งสามศาสตร์อย่างสัมพันธ์กัน รู้จักคิดอย่างลุ่มลึกและกว้างขวาง ต่อยอดความรู้ที่ตนเองได้ศึกษา

PLO 5  นักศึกษามีความมุ่งมั่น คิดอย่างสมเหตุสมผล มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับเพื่อนร่วมชั้นและผู้สอน รวมทั้งทักษะทางสังคม

PLO 6  นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางภาษาไทย โดยเฉพาะการสื่อสารด้วยภาษาที่เหมาะสมกับบริบทและกาลเทศะผ่านผลงานทาง
           วิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อันเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558

นักศึกษาแผน ก  แบบ ก 1

1) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

2) สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

แผน ก แบบ ก 2

1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00
จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

2) สำหรับวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว

แผน ข

1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00
จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น พร้อมทั้งเสนอรายงานการค้นคว้าอิสระ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์ และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

2) สำหรับรายงานการค้นคว้าอิสระหรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

เอกภาษาไทยอยู่คณะอะไร

คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย

ครูภาษาไทยต้องเรียนคณะอะไร

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

สาขาวิชาภาษาไทยเรียนเกี่ยวกับอะไร

เอกไทยมีรายวิชา “การเขียน” ให้เลือกเรียนหลากหลายมากค่ะ ทั้งการเขียนเชิงวิชาการ การเขียนสารคดี การเขียนบันเทิงคดี การเขียนข่าว และการเขียนสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น บทความให้ความรู้ บทวิจารณ์ และบทบรรณาธิการ รวมถึงการเขียนบทต่างๆ ทั้งบทวิทยุกระจายเสียง บทวิทยุโทรทัศน์ และบทภาพยนตร์ โดยเราจะได้เรียนทั้งองค์ประกอบและกลวิธีการใช้ ...

สาขาวิชา ภาษาอังกฤษมีอะไรบ้าง

คณะหรือสาขาวิชา ภาษาอังกฤษ.