ปรับโครงสร้างหนี้ ก ยศ ทํา ยัง ไง

วันที่ 2 สิงหาคม 2564 กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดให้ผู้กู้ยืมได้แจ้งความประสงค์ขอปรับโครงสร้างหนี้แบบภาคสมัครใจ โดยเปลี่ยนเงื่อนไขเพื่อให้งวดชำระต่อเดือนลดลง และยืดระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุด 30 ปี แต่งวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องอายุไม่เกิน 65 ปี

  • คู่รักมหาเศรษฐี เขียนคู่มือ ย้ายสมบัติออกจากจีน ทันเวลาได้อย่างไร
  • ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตือนหุ้น 2 ตัว เปิดเทรดวันสุดท้าย ก่อนเพิกถอน
  • ประยุทธ์ ประกาศเป็นนายกฯ อีก 2 ปี ส่งไม้ต่อทายาทการเมือง
  • เริ่มแล้ว! กยศ. เปิดปรับโครงสร้างหนี้ออนไลน์ ลดเงินงวด-ผ่อนยาว 30 ปี

“ประชาชาติธุรกิจ” สรุปขั้นตอนการแจ้งความประสงค์เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลหลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ดังนี้

1. เข้าสู่เว็บไซต์ www.wsa.dsl.studentloan.or.th

2. ลงชื่อเข้าใช้งาน กรอกเลขประจำตัวประชาชน และรหัสผ่าน

ปรับโครงสร้างหนี้ ก ยศ ทํา ยัง ไง

3. เลือกเมนูขอปรับโครงสร้างหนี้ “ยื่นคำขอปรับโครงสร้างหนี้”

ปรับโครงสร้างหนี้ ก ยศ ทํา ยัง ไง

4. เข้าสู่หน้ายืนยันข้อมูล ระบบจะให้ตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฏ พร้อมให้ระบุ “เบอร์โทรศัพท์มือถือ (เบอร์ปัจจุบันที่ติดต่อได้)” ทำเครื่องหมายถูกหน้าช่อง “ข้าพเจ้ายืนยันข้อมูลฯ” จากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน”

ปรับโครงสร้างหนี้ ก ยศ ทํา ยัง ไง

Advertisement

5. หากสำเร็จระบบจะแสดงข้อความว่า “ระบบได้ส่งคำขอปรับโครงสร้างหนี้แล้ว”

ปรับโครงสร้างหนี้ ก ยศ ทํา ยัง ไง

ตรวจสอบคำขอปรับโครงสร้างหนี้ กยศ.

1. กลับมาที่หน้าหลัก

2. กดเลือก “ตรวจสอบรายละเอียดคำขอ”

ปรับโครงสร้างหนี้ ก ยศ ทํา ยัง ไง

3. ระบบจะแสดงหน้ารายละเอียดข้อมูลคำขอ จากนั้นให้ตรวจสอบตรงช่องสถานะ ระบบจะขึ้นข้อความว่า “ลงทะเบียน/รอตรวจสอบและบันทึกข้อมูล”

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเข้าถึงการศึกษา เพื่อให้เยาวชนของชาติได้มีความรู้ความสามารถที่นำไปสู่การพัฒนาตนเองและประเทศอย่างยั่งยืน โดยสำหรับผู้มีรายได้น้อย สามารถเข้าถึงกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ทุกคน อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาปัญหาหนี้สินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. นับเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบแก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดงาน และส่งผลกระทบระยะยาวไปถึงผู้ค้ำประกัน เช่น ผู้ปกครองหรือครูอาจารย์ ด้วยปัญหาหนี้สิน กยศ. ซึ่งนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดี เป็นความทุกข์หนักของประชาชนรายย่อย โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัญหานี้สืบเนื่องมาจากการที่ผู้กู้ยืมจำนวนมากผิดนัดชำระหนี้ โดยมูลหนี้ที่ค้างชำระมีจำนวนนับแสนล้านบาท การผิดนัดชำระหนี้เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ อาทิ ผู้ที่จบการศึกษาแล้วไม่มีงานทำ หรือมีงานทำแต่เงินเดือนก็ไม่สูง บางคนมีทัศนคติที่ว่า หนี้ กยศ. ไม่จำเป็นที่จะต้องชำระคืน รวมทั้งสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน รายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ยืม เป็นต้น

ปัจจุบัน มีผู้กู้ยืมเงินของ กยศ. ที่ผิดนัดชำระหนี้ถึงร้อยละ 62 จากผู้กู้ยืมราว 5 ล้านราย รวมเป็นวงเงินมากกว่า 6 แสนล้านบาท อีกทั้งยังมีผู้ที่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีมากกว่า 1.1 ล้านราย ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ระบุว่า หนี้ กยศ. เป็นหนี้ที่มีอัตราหนี้เสียหรือ NPLs สูงสุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย โดยสูงกว่าช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่ NPLs สูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 47

ปรับโครงสร้างหนี้ ก ยศ ทํา ยัง ไง

ด้วยเหตุนี้ นายกรัฐมนตรีจึงได้นำเรื่องหนี้ กยศ. เข้าเป็นหนึ่งในวาระสำคัญของนโยบายการแก้ไขหนี้สินประชาชนรายย่อยโดยเร่งด่วน เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนแล้ว ยังเป็นการป้องกันปัญหาลูกโซ่ที่จะตามมา เช่น ปัญหาการขาดสภาพคล่องของ กยศ. ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษาของผู้กู้ยืมรายใหม่ในระยะยาว

ผลจากการขับเคลื่อนของคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อยที่นายกรัฐมนตรีได้ตั้งขึ้น ได้นำไปสู่การออกมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ของ กยศ. เพื่อผ่อนคลายภาระให้แก่ผู้กู้ยืมทุกประเภท ซึ่งมีทั้งมาตรการที่ช่วยเหลือต่อเนื่องในระยะสั้นเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 และมาตรการที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้กู้ยืมในระยะยาว โดยมีรายละเอียดดังนี้

ปรับโครงสร้างหนี้ ก ยศ ทํา ยัง ไง

1. การปรับโครงสร้างหนี้ สำหรับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องคดี กรณีไม่สามารถผ่อนชำระเงินคืนตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมเดิมได้

เงื่อนไข คือ

– สามารถผ่อนได้สูงสุด 30 ปี แต่ในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์

– กองทุนฯ จะให้ผู้กู้ยืมมาตกลงขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน โดยทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งมีเงื่อนไขการผ่อนชำระเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน

– กองทุนฯ จะคำนวณยอดหนี้คงเหลือโดยใช้บรรทัดฐานใหม่ โดยการนำเงินที่ผู้กู้ยืมได้ส่งชำระหนี้แล้วทั้งหมดมาปรับลำดับการตัดชำระใหม่ โดยตัดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามงวดครบกำหนดชำระหนี้ จนครบจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมเงินชำระมาแล้วเท่านั้น สำหรับเบี้ยปรับในอดีตที่ตัดชำระไปแล้ว ถือว่าผู้กู้ยืมได้ชำระครบถ้วนแล้ว

– ต่อจากนั้น กองทุนฯ จะนำเงินต้นคงเหลือและดอกเบี้ยคงเหลือมาใช้เป็นยอดหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนเบี้ยปรับคงค้างที่สะสมอยู่ในระบบจนถึงปัจจุบัน กองทุนจะให้ส่วนลดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 80 และให้ชำระเบี้ยปรับที่คงเหลือร้อยละ 20 ในงวดสุดท้าย

ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถแจ้งความประสงค์ขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ที่แอปพลิเคชัน กยศ. Connect หรือทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

2. การปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้ใหม่ สำหรับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระเงินคืนกองทุนฯ และยังไม่ถูกฟ้องคดี

เงื่อนไข คือ

– จากเดิมกองทุนฯ มีวิธีการตัดลำดับการชำระหนี้โดยตัดชำระเบี้ยปรับค้างชำระสะสมก่อน ตามด้วยดอกเบี้ยค้างชำระสะสม แล้วจึงตัดเงินต้นค้างชำระของงวดที่ค้างนานที่สุดตามลำดับ สำหรับมาตรการใหม่นี้ กองทุนฯ จะปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระใหม่ โดยจะนำเงินที่ได้รับชำระหนี้ไปตัดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยของแต่ละงวด โดยเริ่มจากงวดที่นานสุดก่อน แล้วจึงค่อยตัดชำระยอดหนี้ที่ค้างชำระนานรองลงมาตามลำดับจนถึงงวดปัจจุบัน หากมีเบี้ยปรับให้นำมาชำระในงวดสุดท้าย

3. การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่และผู้กู้ยืมที่ยังไม่ครบกำหนดชำระเงินคืน

เงื่อนไข คือ

– จากเดิมที่ผู้กู้ยืมต้องผ่อนงวดชำระเป็นรายปี เป็นระยะเวลา 15 ปี กองทุนฯ จะปรับให้ผู้กู้ยืมผ่อนงวดชำระเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือนได้ โดยกำหนดชำระทุกวันที่ 5 ของเดือน

– เพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระเงินคืนจากเดิมไม่เกิน 15 ปี ปรับเป็นไม่เกิน 30 ปี ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ของผู้กู้ยืมแต่ละราย

– สำหรับการชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์

ปรับโครงสร้างหนี้ ก ยศ ทํา ยัง ไง

4. แนวทางในการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้กู้ยืมที่ถูกหักเงินเดือนผ่านองค์กรนายจ้าง

– ผู้กู้ยืมสามารถขอปรับลดจำนวนเงินที่นายจ้างหักและนำส่งกองทุนฯ เพื่อชำระเงินงวดที่จะครบกำหนดวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 หรือผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระเป็นรายเดือนได้ จากเดิมต้องหักหน้าซองเงินเดือนไม่น้อยกว่า 100 บาทต่อเดือน ได้ปรับให้เป็นไม่น้อยกว่า 10 บาทต่อเดือน เป็นการชั่วคราว โดยมีผลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 – มิถุนายน 2565

– ผู้กู้ยืมจะต้องแจ้งความประสงค์ขอปรับจำนวนเงินดังกล่าวต่อกองทุนฯ ผ่านแอปพลิเคชัน กยศ. Connect

– ผู้กู้ยืมยังคงมีหน้าที่ไปชำระส่วนต่างตามช่องทางที่กองทุนฯ กำหนดให้ครบตามจำนวนเงินงวดที่ต้องชำระตามเงื่อนไขของสัญญารายเดือนภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และเงื่อนไขการชำระหนี้ของสัญญารายปีภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 แล้วแต่กรณี ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดนัดชำระหนี้ และต้องชำระเงินเพิ่ม ได้แก่ เบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินคืน ตามอัตราที่กองทุนฯ กำหนดของเงินต้นงวดที่ค้างชำระ

ปรับโครงสร้างหนี้ ก ยศ ทํา ยัง ไง

5. มาตรการชะลอการฟ้องและการบังคับคดี สำหรับผู้กู้ยืมที่เข้าข่ายจะต้องดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดี และอยู่ระหว่างการดำเนินคดี

กยศ. มีนโยบายช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่ที่เข้าข่ายถูกฟ้องร้องและอยู่ระหว่างการดำเนินคดีแล้วจำนวนกว่า 1.1 ล้านราย โดยให้ชะลอการฟ้องร้องคดีและบังคับคดีออกไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 ยกเว้นคดีที่ขาดอายุความในปี 2564 พร้อมกับได้งดการขายทอดตลาดในกรณีที่ถูกบังคับคดีจนถึงสิ้นปี 2564 แล้ว

6. สำหรับลูกหนี้รายใหม่ ให้ยกเลิกการกำหนดให้ต้องมีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืน

ที่สำคัญ ขณะนี้ กยศ. กำลังเร่งปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 เพื่อเพิ่มขอบเขตในการบริหาร รวมถึงให้อำนาจกองทุนฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี หรือศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว หรืออยู่ในระหว่างการบังคับคดีได้

สำหรับการปรับปรุงพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 มีประเด็นสำคัญหลายส่วน เช่น

– มาตรา 44 ที่จะเปิดให้ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี หรือศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว หรืออยู่ในระหว่างการบังคับคดี สามารถเข้ารับการช่วยเหลือในการลดหย่อนหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ และแปลงหนี้ได้

– การปรับลดเบี้ยปรับสำหรับนายจ้างที่ไม่ได้หักเงินเดือนลูกจ้างเพื่อนำส่ง กยศ.

– การเพิ่มอำนาจให้กองทุนฯ พิจารณาปรับเกณฑ์ผ่อนชำระเงินงวดเป็นรายปี รายไตรมาส หรือรายเดือนได้ตามความเหมาะสม

– การปรับปรุงเบี้ยปรับสำหรับผู้ผิดนัดชำระ และ

– การลดเพดานดอกเบี้ย เป็นต้น

ปัจจุบัน ได้มีการเปิดรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียต่อ “ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….” เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564 และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบต่อร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 ต่อมาได้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาแล้วเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2565 ซึ่งจะเป็นไปตามกระบวนการตรากฎหมายต่อไป โดยตั้งเป้าจะให้ร่าง พรบ. ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุดภายในปี 2565 นี้

ทำไมต้องปรับโครงสร้างหนี้ กยศ

ปรับโครงสร้างหนี้ของ กยศ. เพื่อผ่อนคลายภาระให้แก่ผู้กู้ยืมทุกประเภท ซึ่งมีทั้งมาตรการที่ช่วยเหลือต่อเนื่องในระยะสั้นเพื่อบรรเทาผล กระทบ ทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์ โควิด

กยศ จ่ายเลยกําหนด ได้ไหม

5 .. หน้าที่ลูกหนี้กยศ. ต้องไปชำระหนี้ หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้อง "ชำระค่าปรับ หรือ ค่าธรรมเนียมจัดการ" กรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด โดยปกติแล้วค่าปรับจะอยู่ที่ 12% กรณีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี และ 18% กรณีค้างชำระเกิน 1 ปี ของเงินต้นค้างชำระ

การปรับโครงสร้างหนี้ดีไหม

การปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่เป็นหนี้สามารถดำเนินชีวิตหรือธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องหลังสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้สนับสนุนให้ลูกหนี้และสถาบันการเงินร่วมมือกันในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้และหาทางออกร่วมกัน ลดโอกาสที่ลูกหนี้ดีจะกลายเป็นลูกหนี้เสีย

ปรับโครงสร้างหนี้ มีผลอย่างไร

การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้เรายังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้อาจทำให้ลูกหนี้ถูกคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและมีประวัติค้างจ่ายในข้อมูลเครดิตบูโร เช่น ลดค่างวดโดยการขยายเวลาจ่ายหนี้ หรือเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ย ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละ ...