ประสบการณ์ ปรับโครงสร้างหนี้

มาตรการการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยั่งยืนในปี 2565-2566 ตามนโยบายของ ธปท. การยึดถือในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้และการรายงานในเครดิตบูโร

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่าย ๆ ตอนที่ 48/2564 โดย...สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการเครดิตใหญ่ เครดิตบูโร

บทความวันนี้ต้องขอเรียนว่าเป็นข้อมูลสำหรับท่านที่สนใจว่าความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันระหว่างธุรกรรมการปรับโครงสร้างหนี้กับการรายงานของเจ้าหนี้ที่จะมีมายังเครดิตบูโรทุกสิ้นเดือนว่าลักษณะของบัญชีสินเชื่อที่มีการปรับโครงสร้างหนี้นั้นมันแสดงรายการอะไร มีผลอะไรกับตัวลูกหนี้ ทั้งนี้หลายครั้งหลายครามักมีการนำเอาข้อมูลไปบิดเบือน นำเอาไปเป็นวาทกรรมในการเรียกร้อง ชักจูงให้ลูกหนี้ที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ออกมาประท้วงกับหน่วยงานราชการ ประท้วงสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ซึ่งพอได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน หลายครั้งก็ต้องกลับไปเพราะเหตุและผลนั้นมันถูกต้อง ครบถ้วนแล้วในตัวของมันเองอย่างหมดจด หมดข้อสงสัย ในครั้งนี้ผู้เขียนจึงขอนำเอาข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งดังนี้นะครับ

1. ทำไมต้องปรับโครงสร้างหนี้ เหตุก็เพราะลูกหนี้มีความสามารถลดลงในการชำระหนี้ อาจจะมาจากความผิดพลาดในการประกอบธุรกิจ อาจเกิดจากการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผลกระทบหลัก ๆ คือรายได้ลดลง แต่ตารางการชำระหนี้ต้นเงินกับดอกเบี้ยที่เรียกว่าค่างวดมันไม่ได้ลดลงตาม ดังนั้นการปรับเงื่อนไขการชำระใหม่ให้สอดคล้องกับรายได้จึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ไม่อย่างนั้นลูกหนี้จะมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ได้ง่าย ซึ่งไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น จุดเริ่มต้นมันจึงมาจากจุดนี้เป็นส่วนใหญ่

2. ทีนี้ถ้าตัวลูกหนี้ยังไม่มีการค้างชำระเกินกว่า 90 วัน เช่น เริ่มมีการค้างชำระ 30 วัน หรือ ค้างชำระ 31 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน หรือ ค้างชำระ 61 วันแต่ไม่เกิน 90 วัน สถาบันการเงินยังถือว่าลูกหนี้มีอาการสีเหลือง คือ เริ่มมีการค้างชำระเกิดขึ้น มีอาการเสียทรงแล้ว หากว่ารีบแก้ไขทัน ก็จะยังคงรักษาประวัติการชำระหนี้ที่ดีให้กลับมาได้ การรีบดำเนินการเจรจากับเจ้าหนี้ในระยะนี้จึงถือว่าเป็นการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน ป้องกันอะไร ป้องกันการเป็นหนี้เสียหรือป้องกันการเป็น NPL (Non-Performing Loan : หนี้เสียหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้) นั่นเอง การปรับโครงสร้างหนี้แบบนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีคำสั่งห้ามมิให้มีการรายงานหรือมีการติดรหัส ติดหมายเหตุ หรือระบุอะไรลงไปในรายงานข้อมูลเครดิต (รายงานเครดิตบูโร) ถ้าจะมีเหตุสงสัยกันเวลาที่ดูรายงานกันก็คือ มันมีประวัติการค้างชำระเดือนใดเดือนหนึ่งหรือหลายเดือนติดต่อกันแต่ยังไม่เกิน 90 วัน ซึ่งก็เป็นไปตามความจริงที่เกิดขึ้น

3. แต่ในกรณีที่มีการค้างชำระเกิน 90 วันไปแล้วในบัญชีใดบัญชีหนึ่งของลูกหนี้ ก็จะถือว่าลูกหนี้คนนั้นเป็น NPL ลูกหนี้คนนั้นกลายเป็นหนี้เสียไปแล้วนั่นเอง ถ้าลูกหนี้มีการขอปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ไม่ว่าจะเป็นแขวนเงินต้นจ่ายแต่ดอกเบี้ย ปรับตารางการจ่ายหนี้ใหม่ ลดดอกเบี้ยลงมา มีการจ่ายเงินงวดแบบขั้นบันไดคือจ่ายยอดน้อย ๆ ตอนต้นแล้วค่อยเพิ่มตอนหลัง การปรับโครงสร้างหนี้หลังการค้างชำระเกิน 90 วัน เราเรียกว่า "การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา" ซึ่งถือเป็นกรณีร้ายแรงพอสมควร เมื่อมีการปรับโครงสร้างหนี้กันวันไหน เช่น ลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้วันไหน มันก็จะเกิดวันที่ปรับโครงสร้างหนี้ขึ้นในระบบ วันที่ดังกล่าวจะถูกส่งเข้ามาในระบบของเครดิตบูโรเพื่อให้รู้ว่ามีการปรับเงื่อนไขการชำระในบัญชีที่ผ่านการเป็นหนี้เสียมาแล้ว เรื่องนี้เป็นข้อกฎหมายและเป็นไปตามระเบียบ ประกาศของ ธปท. และตามประกาศของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต (กคค.) ทุกประการ

จากที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเห็นว่าในช่วงปี 2563 ต่อเนื่องมาจนปี 2564 และจะเลยไปเข้าระยะเวลามาตรการการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยั่งยืนในปี 2565-2566 ตามนโยบายของ ธปท. การยึดถือในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้และการรายงานในเครดิตบูโรก็เป็นแบบนี้มาตลอด เป็นไปตามข้อเท็จจริงทุกประการ แน่นอนว่าทุกฝ่ายต่างก็ยึดหลักตรงนี้มาตลอด แต่ว่าการจะให้กู้เพิ่มได้หรือไม่ มันก็ต้องกลับไปดูเรื่องที่มาของรายได้ ว่าจะมีมาไหม มากพอหรือไม่ จะมีมาแน่นอนขนาดไหนเป็นสำคัญ การบอกว่าถ้าปรับโครงสร้างหนี้แล้วไม่ให้กู้เพราะมีการติดรหัสมันคงจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทั้งหมดมันมาจากเหตุและผลดังกล่าวข้างต้นครับ

ภาวะวิกฤตโควิดทำให้หลายคนเผชิญกับปัญหาการเงิน การใช้จ่ายไม่คล่องตัว เริ่มชักหน้าไม่ถึงหลัง การหาเงินทำได้ยากลำบากขึ้น แถมภาระหนี้ที่มีอยู่เริ่มผ่อนไม่ไหว วิธีที่จะปลดล็อกภาระหนี้อันหนักอึ้งให้บรรเทาลง ช่วยลดภาระการผ่อนชำระต่อเดือน รวมไปถึงการลดดอกเบี้ยแสนแพงลงบ้าง นั่นก็คือ การปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ให้เรายังรับภาระหนี้ต่อไปได้ และ ยังคงสถานะเป็นลูกหนี้ที่ดี กระทั่งนำไปสู่การปลดล็อกสถานะลูกหนี้ในที่สุด มาดูวิธีเหล่านี้ไปพร้อมๆ กัน

ธปท.อธิบายวิธีพักชำระหนี้ 2 เดือนฉบับละเอียดย้ำหนี้ยังอยู่เท่าเดิม

“ปรับโครงสร้างหนี้” กยศ.ผ่อนสูงสุด 30 ปี หักเงินเดือนขั้นต่ำ 10 บาท

ประสบการณ์ ปรับโครงสร้างหนี้

ขั้นแรกสำรวจก่อนว่า เราจะเริ่มเจรจากับเจ้าหนี้เมื่อไรดี คำตอบคือ เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหวให้รีบติดต่อเพื่อปรับเงื่อนไขการผ่อนให้เหมาะกับรายได้ (ปรับโครงสร้างหนี้) และถึงเป็นหนี้เสียแล้วก็ยังเจรจาได้เช่นกัน

คำถามสำคัญ คือ ทางเลือกการปรับโครงสร้างหนี้มีอะไรบ้าง?

  • ยืดระยะเวลาชำระหนี้ ทำให้ภาระการผ่อนต่อเดือนลดลง เช่น ถ้าเวลาผ่อนที่เหลือ 4 ปี ขอยืดเป็น 5 ปี
  • พักชำระเงินต้น แต่ดอกเบี้ยยังผ่อนเหมือนเดิม เช่น เคยผ่อนเงินต้น 8,000 บาท + ดอกเบี้ย 12,000 บาท รวม 20,000 บาท ถ้าเจ้าหนี้อนุมัติจะเหลือชำระแค่ 12,000 บาท ไประยะหนึ่ง แต่ช่วงท้ายสัญญาจะต้องจ่ายเงินต้นค้างจ่ายเป็นเงินก้อนใหญ่ (บอลลูน) หรือเป็นหนี้นานขึ้น
  • ลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้ค่างวดที่จ่ายต่อเดือนไปตัดลดเงินต้นได้มากขึ้น และ ภาระดอกเบี้ยก็จะลดลงด้วย 
  • ยก/ผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดให้สถาบันการเงิน คิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้น จึงขอเจรจาได้
  • เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ธปท.สนับสนุนให้สถาบันการเงิน ให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนใหม่แก่กิจการพื้นฐานดี โดยแยกการจัดชั้นสินเชื่อชนิดนี้ออกจากสินเชื่ออื่น ซึ่งอาจจะเป็นหนี้เสียหรือ NPL ไปแล้ว ช่วยให้กิจการยังมีบัญชีสินเชื่อสถานะปกติไว้ใช้งานได้ โดยผู้กู้ต้องเตรียมข้อมูล เหตุผลและประมาณการรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าให้ สง. ประกอบการพิจารณาวงเงิน
  • เปลี่ยนหนี้ดอกแพงเป็นหนี้ดอกถูก เช่น หนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนที่ดอกเบี้ยสูง ควรเปลี่ยนเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระ (term loan) ที่ดอกเบี้ยถูกกว่ามาก
  • ปิดจบด้วยเงินก้อน หากลูกหนี้สามารถหาเงินก้อนได้ แม้จะไม่มากเท่ายอดหนี้ที่มีอยู่ ก็สามารถเจรจาขอ “ส่วนลด” ให้เพียงพอต่อการปิดหนี้จบทั้งบัญชีได้ จะได้หมดภาระค่างวดรายเดือนไปอีกหนึ่งก้อน
  • รีไฟแนนซ์ (refinance) คือการปิดวงเงินสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขดีกว่า
ลูกหนี้มีสิทธิเจรจาในทางเลือกที่คิดว่าเหมาะสมกับตัวเองที่สุด โดยเจ้าหนี้จะพิจารณาอนุมัติจากอายุลูกหนี้ ประวัติการผ่อน ความสามารถในการชำระหนี้ ความจำเป็น และเกณฑ์ภายในของแต่ละสถาบันการเงิน

 

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ : แก้หนี้ครบจบในเล่มเดียว ตอน : ปรับโครงสร้างหนี้ : เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โดย : คมน์ ไทรงาม ธปท.

การปรับโครงสร้างหนี้คืออะไร

การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้เรายังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้อาจทำให้ลูกหนี้ถูกคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและมีประวัติค้างจ่ายในข้อมูลเครดิตบูโร เช่น ลดค่างวดโดยการขยายเวลาจ่ายหนี้ หรือเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ย ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละ ...

ปรับโครงสร้างหนี้ที่ไหน

การขอปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ไม่ผิดนัดชำระ และรักษาทรัพย์สินไว้ได้ โดยในเว็บไซต์ของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แนะนำการปรับโครงสร้างหนี้ไว้ 4 แบบ แต่ละแบบก็เหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

ผ่อนรถกี่ปีถึงจะปรับโครงสร้างหนี้ได้

เงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ มีดังนี้ 2. มีการผ่อนชำระค่างวดมาไม่น้อยกว่า 12 งวด 3. ระยะเวลาขั้นต่ำที่สามารถขยายได้ คือ 48 งวด และสูงสุด โดยรวมกับสัญญาเดิม ไม่เกิน 96 งวด

ปรับโครงสร้างหนี้ กยศ คืออะไร

1. การปรับโครงสร้างหนี้ สำหรับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องคดี กรณีไม่สามารถผ่อนชำระเงินคืนตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมเดิมได้ โดยในการปรับโครงสร้างหนี้ ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันรายเดิมทุกรายตามสัญญากู้ยืมเงินต้องมาลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ตามแบบที่กองทุนกำหนด เงื่อนไข