เกณฑ์การแข่งขันคิดเลขเร็ว 2563

เป็นการแข่งขันให้นักเรียนสร้างสมการโดยใช้เลขโดดที่เกิดจากการสุ่ม ผ่านการดำเนินการต่อไปนี้ (ไม่สามารถใช้การดำเนินการอื่นได้)

บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง หรือถอดรากที่สอง

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่กำหนด โดยแบ่งการแข่งขันเป็นสองรอบ ได้แก่

รอบคัดเลือก (ทำการแข่งขันวันจันทร์ที่ 15-16 สิงหาคม 2565)

รอบนี้จะให้ผู้สมัครทำการเลือกสายการแข่งขัน เพื่อทำการคัดผู้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งแบ่งเป็น

  • สาย A (ทำการแข่งขัน 15 สิงหาคม 2565 เวลา 13:00 -15:00 น.) คัดผู้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จำนวน 5 ทีม

  • สาย B (ทำการแข่งขัน 16 สิงหาคม 2565 เวลา 13:00 - 15:00 น.) คัดผู้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จำนวน 5 ทีม

ในการแข่งขันรอบนี้โจทย์จะเป็นเลขโดด จำนวน 5 ตัว และผลลัพธ์จะเป็นจำนวนนับ 2 หลัก (10-99) โดยจะทำการแข่งขันเป็นชุด ๆ ละ 3 ข้อ ทีมที่สามารถแสดงวิธีคิดที่เร็วที่สุดในแต่ละชุดได้จะเป็นทีมทีผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ รอบนี้จะทำการแข่งขันจนกว่าจะได้ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ 5 ทีมในแต่ละสาย

รอบชิงชนะเลิศ (ทำการแข่งขันวันพุธที่ 17 สิงหาคม 2565 เวลา 13:00-15:00 น. โดยทำการถ่ายทอดสดการแข่งขันผ่าน Facebook คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

ในรอบนี้จะเป็นการแข่งขันของ 10 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกในแต่ละสาย โดยทำการแข่งขันแบบสะสมคะแนน (แต่ละทีมมีสิทธิ์ยกมือขอตอบได้ทุกข้อ) โดยแบ่งความยากของโจทย์เป็น 2 ระดับ ดังนี้

  • ข้อ 1 - 5 โจทย์เป็นเลขโดด 4 ตัว ผลลัพธ์เป็นเลข 2 หลัก

  • ข้อ 6 - 10 โจทย์เป็นเลขโดด 5 ตัว ผลลัพธ์เป็นเลข 3 หลัก

เมื่อจบการแข่งขันทั้ง 10 ข้อแล้ว หากยังไม่สามารถตัดสินทีมที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ ได้ จะมีการแข่งขันเพิ่มเติมเฉพาะทีมที่ได้คะแนนเท่ากันเท่านั้น

หมายเหตุ

  1. เลขโดดและผลลัพธ์ทุกข้อจะถูกสุ่มโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะทำการแข่งขัน ดังนั้นจะไม่มีใครทราบเลขดังกล่าวก่อนล่วงหน้า (แม้แต่คณะกรรมการจัดการแข่งขัน)

    3. ผลงานสร้างสรรค์คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP

    1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

    1.1  นักเรียนระดับชั้น  ป.4-ป.6

    1.2  นักเรียนระดับชั้น  ม.1-ม.3

    1.3  นักเรียนระดับชั้น  ม.4-ม.6

    2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

    2.1 แข่งขันประเภททีม ทีมละ 2 คน

    2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขัน ระดับชั้นละ 1 ทีม

    3. วิธีดำเนินการแข่งขัน และรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน

                    3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน ทีมละ  2  คน พร้อมชื่อครูผู้ฝึกสอน 1 คน ตามแบบฟอร์ม ที่กำหนด

                    3.2 กำหนดโจทย์การแข่งขัน จำนวน 5 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 100 คะแนน

                    3.3  เวลาที่ใช้แข่งขัน     ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที

    4. เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 100   คะแนน  กำหนดรายละเอียด  ดังนี้

    4.1โจทย์แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ GSP จำนวน 4 ข้อ ข้อละ 20  คะแนน
     รวม 80 คะแนน             ซึ่งแต่ละข้อใช้เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

    1) ความสมบูรณ์และถูกต้องของผลงาน                                                                       10  คะแนน

    2) ขั้นตอนไม่ซับซ้อน
                                                                         5   คะแนน

    3) ความสวยงาม (รูปร่าง รูปทรง  สี และความสมดุลของภาพ)                          

                                                                         5   คะแนน

    4.2โจทย์กำหนดให้ใช้เครื่องมือที่กำหนดให้สร้างสรรค์งานคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ข้อ   

                                                                          20 คะแนน

    1)  มีความเป็นพลวัต(เคลื่อนที่ เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้)มีแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์                                                                                                                                10 คะแนน

    2) มีการนำเสนอที่สื่อความหมายได้สอดคล้องและเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง
                                                                            10 คะแนน

    5. เกณฑ์การตัดสิน              

                                    ร้อยละ    80 - 100             ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

                                    ร้อยละ    70 – 79               ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

                                    ร้อยละ    60 – 69               ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง

                                    ต่ำกว่าร้อยละ 60                  ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น

    ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

    6. คณะกรรมการการการแข่งขัน  ระดับชั้นละ  3 – 5 คน

     คุณสมบัติของคณะกรรมการ 

                 -  เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                 -  เป็นครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความเชี่ยวชาญโปรแกรม GSP

                 -  ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์

     ข้อควรคำนึง   

                    -  กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน

                    -  กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน

                    -  กรรมการควรมีที่มาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นหรือหน่วยงานอื่นอย่างหลากหลาย

                    -  กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3

     สถานที่ทำการแข่งขัน 

                    ควรใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถดำเนินการแข่งขันได้พร้อมกัน

    7.  การเข้าแข่งขันระดับชาติ

    7.1 ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่ 1- 3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับชาติ

    7.2 ในกรณีที่มีผู้ชนะลำดับสูงสุดได้คะแนนเท่ากันมากกว่า 3 ทีม ให้พิจารณาลำดับที่ตามลำดับข้อของการให้คะแนน เช่น มีผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ 1 เท่ากันให้ดูคะแนนข้อที่ 2 ผู้ใดได้คะแนนข้อที่ 2 มากกว่าถือเป็นผู้ชนะแต่ถ้าข้อที่ 2 เท่ากัน ให้ดูคะแนนในข้อถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ใช้วิธีจับฉลาก

    ข้อเสนอแนะในการต่อยอดในระดับชาติ  ควรต่อยอดโดยการจัดค่ายพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์และโปรแกรม GSP

    1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

    1.1 นักเรียนระดับชั้น  ป.1- ป.3

    1.2 นักเรียนระดับชั้น  ป.4 - ป.6

    1.3 นักเรียนระดับชั้น  ม.1 - ม.3

    1.4 นักเรียนระดับชั้น  ม.4 - ม.6

    2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

                    2.1 แข่งขันประเภทเดี่ยว

                    2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขันระดับชั้นละ 1 คน

    3. วิธีดำเนินการและหลักเกณฑ์การแข่งขัน

                    3.1 ส่งรายชื่อนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน พร้อมชื่อครูผู้ฝึกสอนระดับชั้นละ 1 คน ตามแบบฟอร์ม ที่กำหนด

                  3.2 สุ่มตัวเลขจากโปรแกรม GSP เป็นโจทย์และผลลัพธ์ แล้วใช้การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง ถอดราก เพื่อหาผลลัพธ์ ในระดับชั้น ม.4- ม.6  ให้เพิ่ม ซิกมา และแฟกทอเรียล (ในการถอดราก ถ้าเป็นรากอื่น ไม่ใช่รากที่ 2 ต้องใส่อันดับของรากจากตัวเลขที่สุ่มมา) และต้องใช้ตัวเลขให้ครบทุกตัว โดยใช้ได้ตัวละ 1 ครั้ง ซึ่งตัวเลขที่สุ่มได้ต้องไม่ซ้ำเกิน 2 ตัว และเลข 0 ต้องมีเพียงตัวเดียวเท่านั้น

                   3.3 จัดแข่งขัน 2 รอบ ดังนี้

    ระดับชั้น ป.1-ป.3       

    รอบที่ 1  จำนวน 30 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 3 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

    รอบที่ 2  จำนวน 20 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

    ระดับชั้น ป.4-ป.6

    รอบที่ 1  จำนวน 30 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

    รอบที่ 2  จำนวน 20 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 4 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

    ระดับชั้น ม.1-ม.3

    รอบที่ 1  จำนวน 30 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

    รอบที่ 2  จำนวน 20 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

    ระดับชั้น ม.4-ม.6

    รอบที่ 1  จำนวน 30 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 45 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 2 หลัก

    รอบที่ 2  จำนวน 20 ข้อ  ใช้เวลา ข้อละ 30 วินาที โดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 5 ตัวเลข ผลลัพธ์ 3 หลัก

    3.4.วิธีการแข่งขัน

          3.4.1 กรรมการแจกกระดาษคำตอบตามจำนวนข้อ

          3.4.2 กรรมการแจกกระดาษทดให้ผู้แข่งขันทุกคน

          3.4.3 เมื่อหมดเวลาแต่ละข้อให้กรรมการเก็บกระดาษคำตอบ

          3.4.4 เมื่อหมดรอบแรก ให้พัก 10 นาที

    4.  เกณฑ์การให้คะแนน

    4.1 ผู้ที่ได้คำตอบเท่ากับผลลัพธ์ที่กำหนดให้ ได้คะแนนข้อละ  1  คะแนน

    4.2 ถ้าข้อใดไม่สามารถหาคำตอบได้เท่ากับผลลัพธ์ที่กำหนดให้ ผู้ที่ได้คำตอบใกล้เคียงกับผลลัพธ์มากที่สุด เป็นผู้ได้คะแนน

    5.  เกณฑ์การตัดสิน

                  ในกรณีที่มีผู้ชนะลำดับที่  1 – 3 มากกว่า 3 คน ให้กำหนดโจทย์แข่งขันใหม่เฉพาะลำดับที่ต้องการ โดยแข่งขันทีละข้อจนกว่าจะได้ผู้ชนะ

    คณะกรรมการ  รวมคะแนนรอบที่ 1 และรอบที่ 2  แล้วนำคะแนนรวมคิดเทียบเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้

                                    ร้อยละ    80 - 100             ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

                                    ร้อยละ    70 – 79               ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

                                    ร้อยละ    60 – 69               ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง

                                    ต่ำกว่าร้อยละ 60                  ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น

    ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

    6. คณะกรรมการการแข่งขัน

                    6.1 ระดับชั้น ป.1-ป.3 และ ป.4-ป.6  คณะกรรมการการแข่งขันเป็นชุดเดียวกัน จำนวน 5-7  คน

                   6.2 ระดับชั้น ม.1-ม.3 และ ม.4-ม.6   คณะกรรมการการแข่งขันเป็นชุดเดียวกัน จำนวน 5-7  คน

    คุณสมบัติของคณะกรรมการ

                   -  เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                    -  เป็นครูผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์หรือโปรแกรม GSP

                   -  ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านคณิตศาสตร์

     ข้อควรคำนึง 

                    -  กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน

                    -  กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน

                    -  กรรมการควรมาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นหรือหน่วยงานอื่นอย่างหลากหลาย

                    -  กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3

     สถานที่ทำการแข่งขัน

                    ควรใช้ห้องคอมพิวเตอร์หรือห้องที่สามารถดำเนินการแข่งขันได้พร้อมกัน

    7.  การเข้าแข่งขันระดับชาติ

    การแข่งขันแต่ละระดับชั้น ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่  1 - 3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับชาติ