การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ppt

งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยที่ 1 หลักการประกันคุณภาพการศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยที่ 1 หลักการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา Educational Quality Assurance in School หน่วยที่ 1 หลักการประกันคุณภาพการศึกษา

2 กิจกรรมที่ 1 ให้นักศึกษาอภิปรายความหมายของคำว่า “คุณภาพ” ว่าหมายถึงอะไร

3 การประกันคุณภาพการศึกษาคืออะไร
“คุณภาพ” เป็นคำที่มีพื้นฐานมาจากภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรม ซึ่งมีคำที่เกี่ยวข้องคือ การตรวจสอบ การควบคุม มาตรฐานหรือข้อกำหนดและความพอใจของลูกค้า

4 ความหมาย Deming นิยามว่า คุณภาพ คือ ระดับที่สามารถทำนายได้ของความเหมือนและความไว้วางใจ Juran นิยาม คุณภาพ คือ ความเหมาะสมสำหรับการใช้

5 Crosby นิยามว่า คุณภาพ คือ ความตรงตามข้อกำหนด ไม่ใช่ความดีหรือความสวยงาม
Xe-rox นิยามว่า สิ่งที่จัดให้กับลูกค้าทั้งภายในและภายนอก รวมถึงการผลิตและการบริการตามต้องการและความจำเป็นของลูกค้า Feigenbaum นิยามว่า คุณภาพ คือ วิธีการในการบริหารองค์กรหรือการประกอบขึ้นเป็นสินค้าทั้งหมด และลักษณะนิสัยของการบริการ การตลาด การวิศวกรรม การผลิตและการบำรุงรักษา โดยที่สินค้าและบริการนั้นตรงตามความคาดหวังของลูกค้า

6 Hutchins (1991 : 1-2) สรุปว่า คุณภาพ สามารถนิยามได้หลายประการขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแนวคิด คือ
คุณภาพ หมายถึง ความตรงตามลักษณะเฉพาะ และมาตรฐานในการใช้ประโยชน์ขององค์กรเป็นนิยามที่ถือองค์กรเป็นพื้นฐาน คุณภาพ หมายถึง ความเหมาะสมกับการใช้ของสินค้าหรือบริการเป็นนิยามที่ถือเอาความพึงพอใจของลูกค้าเป็นพื้นฐาน

7 คุณภาพ หมายถึง การตอบสนองความต้องการ ความปรารถนาและความคาดหวังของลูกค้าได้ในราคาประหยัด เป็นนิยามที่มีพื้นฐานมาจากความพึงพอใจของลูกค้าและองค์กร เข็มทอง ศิริแสงเลิศ (2540:22) สรุปความหมายของคุณภาพว่า หมายถึงลักษณะของสินค้า บริการ หรือกระบวนการผลิตที่ตรงตามมาตรฐาน เหมาะสมกับการใช้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า คุ้มกับค่าใช้จ่ายและทำให้เกิดความพึงพอใจ

8 วิฑูรย์ สิมะโชคดี (2541:2-4) ได้ให้ความหมายของคำว่า “คุณภาพ”ไว้ดังนี้
1. สินค้าหรือบริการที่มีความเป็นเลิศในทุกด้าน 2. สินค้าหรือบริการที่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือมาตรฐาน 3. สินค้าหรือบริการที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า 4. สินค้าหรือบริการที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า 5. สินค้าหรือบริการที่ปราศจากการชำรุดหรือข้อบกพร่อง 6. คุณภาพมีความหมายต่างกันไปตามความรู้สึกหรือความต้องการของผู้ใช้หรือลูกค้า

9 หลักการของคุณภาพ มี 4 ประการคือ
1. คุณภาพ หมายถึง การทำได้ตรงตามข้อกำหนด ไม่ใช่ความดีหรือความงาม 2. ระบบคุณภาพ คือ การป้องกัน ไม่ใช่การประเมิน 3. มาตรฐานของผลงาน คือ การปลอดความบกพร่อง การวัดคุณภาพ คือ การหาค่าใช้จ่ายที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน ไม่ใช่การหาตัวบ่งชี้มาตรฐาน

10 ลักษณะระบบคุณภาพ 1. มีการออกแบบโครงสร้างความรับผิดชอบ ขั้นตอน กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรขององค์กร เพื่อนำมาใช้กับการบริหารเพื่อคุณภาพ 2. ฝ่ายบริหารได้พัฒนาจัดตั้งและนำระบบคุณภาพไปใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อให้นโยบายวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้บรรลุผลสำเร็จ

11 ลักษณะระบบคุณภาพ 3. ระบบคุณภาพต้องมีรายการองค์ประกอบต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานนานาชาติอย่างเหมาะสม 4. ภารกิจของระบบคุณภาพ คือ การให้ความเชื่อมั่นว่า - ทุกคนเข้าใจระบบเป็นอย่างดี และระบบนั้นมีประสิทธิผล - สินค้าหรือบริการ สามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างแท้จริง - เน้นที่การป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ไขหลังจากเกิดปัญหา

12 การประกันคุณภาพคืออะไร
Sallis (2002:17) นิยามว่าการประกันคุณภาพคือ การออกแบบคุณภาพมุ่งสู่กระบวนการสร้างความตระหนักและความมั่นใจในผลผลิต

13 การประกันคุณภาพคืออะไร
Hoy, Bayne-Jardine and Wood (2000 : 11) นิยามการประกันคุณภาพไว้ดังนี้ 1. เป็นข้อกำหนดมาตรฐานโดยผู้เชี่ยวชาญ 2. มาตรฐานคุณภาพการจัดการเป็นการสร้างข้อตกลง ของความจำเป็นในการจัดหาคุณภาพตามความคาดหวังและความต้องการของลูกค้า

14 การประกันคุณภาพคืออะไร
การประกันคุณภาพ คือ กลยุทธ์ที่ได้วางแผนไว้อย่างเป็นระบบและการปฏิบัติงานที่ได้มีการออกแบบไว้โดยเฉพาะ เพื่อรับประกันว่ากระบวนการได้รับการดูแล รวมถึงการปฏิบัติงานนั้นมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่ตลอดเวลา(Cuttance ,1994:5)

15 การประกันคุณภาพคืออะไร
การประกันคุณภาพ คือ เป็นระบบการควบคุมตรวจสอบ และตัดสินคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด มีการควบคุมให้เกิดการปฏิบัติตามเกณฑ์ มีการตรวจสอบการปฏิบัติ และตัดสินว่างานนั้นบรรลุตามเกณฑ์หรือไม่(สมคิด พรมจุ้ยและสุพักตร์ พิบูลย์ ,2545)

16 การประกันคุณภาพเป็นวิวัฒนาการที่ต่อเนื่องมาจากการตรวจสอบและควบคุมเชิงคุณภาพ การประกันคุณภาพยังคงเน้นความสำคัญของคุณภาพ และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัดและเทคนิควิธีวัด สิ่งที่เพิ่มขึ้นมา ก็คือ การสร้างความมั่นใจโดยการมีมาตรการป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดเกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นการออกแบบและขั้นดำเนินงานจนถึงขั้นที่ได้ผลผลิตออกมา นอกจากนี้ก็มีการนำผลการประเมินในทุกขั้นตอนมาใช้เพื่อการวางแผน ออกแบบและการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)

17 Hutchins (1991 : 3-4) แบ่งการสร้างคุณภาพได้เป็น 4 ขั้น
ขั้นที่ 1 การตรวจสอบ (Inspection) โดยหน่วยตรวจสอบ ตรวจผลิตภัณฑ์เทียบกับข้อกำหนด การแบ่งกลุ่มสินค้า การตัดเกรด และรายงานไปยังหน่วยผลิตเพื่อแก้ไข

18 ขั้นที่ 2 การควบคุมคุณภาพ(Quality Control) โดยหน่วยตรวจสอบหรือหน่วยควบคุมคุณภาพ มีจุดเน้นในการควบคุมกระบวนการผลิตให้มีความสูญเสียน้อยที่สุด ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีการตรวจสอบตนเอง มีการทดสอบสินค้า การให้ข้อมูลป้อนกลับและการแก้ไข

19 ขั้นที่ 3 การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) มีหน่วยประกันคุณภาพที่ให้การฝึกอบรมและให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีจุดเน้นการประกันกระบวนการ และคุณภาพสินค้า มีทั้งตรวจสอบจากภายนอกและภายในองค์กร มีเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นสากล เช่น ISO 9000

20 ขั้นที่ 4 การบริหารคุณภาพทั้งองค์กร (Total Quality Management) เป็นการให้ความสำคัญกับคุณภาพมากขึ้น จุดเน้นคือการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกกระบวนการทำงาน โดยมีกลุ่มงานและทุกคนในองค์กรเป็นผู้รับผิดชอบ

21 สรุป การประกันคุณภาพ หมายถึง การประกันคุณภาพกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ระบบย่อย คือ การวางแผนเกี่ยวกับคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ และการทบทวนระบบเพื่อปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้ใช้ในกระบวนการปฏิบัติงานทุกด้านขององค์กร

22 การประกันคุณภาพการศึกษา คืออะไร
การประกันคุณภาพทางการศึกษา เกิดจากการรวมแนวคิด 2 อย่างเข้าด้วยกันคือ แนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา

23 ความหมายของคุณภาพการศึกษา
เป็นการผสมผสานคุณภาพ 3 ส่วน คือ คุณภาพตามมาตรฐานทางการศึกษา คุณภาพตามความต้องการของผู้รับบริการ และคุณภาพตามความมุ่งหมายของผู้ให้บริการ โดยภาพรวม 2 ส่วนแรกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณภาพของส่วนที่ 3 เกิดขึ้นก่อนซึ่งได้แก่กระบวนการบริหารการศึกษาที่มีคุณภาพ

24 ประเทศที่ริเริ่มพัฒนาแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา คือ ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้เริ่มนำแนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพไปใช้ในสถานศึกษาในปี 1988 และในปี 1992 ได้เริ่มใช้มาตรฐาน BS 5750 หรือ ISO 9000 มากำหนดมาตรฐานทางการศึกษา และทำให้เกิดแนวทางสำหรับการปฏิบัติของโรงเรียนเพื่อประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นและแนวคิดนี้ได้แพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน

25 ลักษณะเด่นของการประกันคุณภาพทางการศึกษามี 5 ประการ(Murgatroyd and Morgan ,1994)
1. มาตรฐานการศึกษากำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก 2. มาตรฐานเขียนในรูปของความคาดหวังที่โรงเรียนจะต้องบรรลุถึง 3. มาตรฐานต้องสามารถประเมินได้โดยใช้เกณฑ์ที่เป็นปรนัย 4. มาตรฐานต้องใช้อย่างเสมอภาค ไม่มีการยกเว้นโดยปราศจากเหตุผลสมควร 5. การประกันคุณภาพการศึกษา จะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวน (Audit and Review)การทดสอบด้วยแบบมาตรฐาน และการประเมินคุณภาพการศึกษา

26 การดำเนินงานประกันคุณภาพทางการศึกษาโรงเรียนต้องดำเนินการในองค์ประกอบหลัก 4 ประการได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบผล และการปฏิบัติการวางแผนอย่างต่อเนื่อง

27 การประกันคุณภาพทางการศึกษาของประเทศไทยมีการดำเนินการดังนี้
1. จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเท่าเทียมกัน 2. ส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในกระบวนการประกันคุณภาพทางการศึกษาเพื่อสร้างจิตสำนึกในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการจัดการศึกษาร่วมกัน

28 3. สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างเสรีภาพในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของส่วนภูมิภาคกับกรอบการดำเนินงานที่ส่วนกลางกำหนด 4. พัฒนาคุณภาพและดำเนินการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามวงจรคุณภาพP-D-C-A

29 วงจรคุณภาพ PDCA (Plan – Do – Check - Act)

30 กระบวนการดำเนินงานตามวงจรดังกล่าวมี 3 ขั้นตอน
1. การควบคุมคุณภาพได้แก่ การกำหนดมาตรฐาน และการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานด้วยการกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ 2. การตรวจสอบ และการปรับปรุงได้แก่ การตรวจสอบภายใน และการตรวจสอบภายนอก เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน 3. การประเมินคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเป็นระยะ เพื่อการรักษาคุณภาพให้ยั่งยืนต่อไป

31 สรุประบบประกันคุณภาพการศึกษา
หมายถึงระบบการบริหารงานของโรงเรียน ที่ทำให้โรงเรียนสามารถบรรลุถึงมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจในคุณภาพของโรงเรียน ระบบดังกล่าวประกอบด้วย 3 ระบบย่อย คือ ระบบการวางแผน ระบบการควบคุม ระบบรับการทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงาน

32 การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการดำเนินกิจกรรมและภารกิจต่าง ๆที่เป็นกิจวัตรปกติของสถานศึกษาทั้งด้านวิชาการและการบริการ/การจัดการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง คือ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้

33 สถานศึกษาจะต้องดำเนินการในเรื่องการประกันคุณภาพ ดังนี้
1. สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี 2. ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 3. การดำเนินการประกันคุณภาพทุกขั้นตอนให้เน้นการประสานงานและการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 2. มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่มุ่งเน้นการจับผิดหรือให้คุณให้โทษบุคลากรของสถานศึกษา 3. ได้แก่ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา กรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรของหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เขตพื้นที่การศึกษาและภูมิภาคเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในการให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามมาตรา 8 ของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ โดยสถานศึกษาควรช่วยเตรียมพร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา 4. โดยให้แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษา แนวทางหรือแผนงานในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป แล้วเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงกำหนด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตลอดจนสาธารณชน โดยจัดทำรายงานโดยสรุป ปิดประกาศไว้ที่โรงเรียน แจ้งให้ผู้ปกครองและเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งมีรายงานฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมจะให้ผู้ที่สนใจขอดูได้ตลอดเวลา 5. ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียน และแนวทางการจัดการศึกษา ตามหลักการและจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และเตรียมพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยบุคลากรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบห้าปี

34 สถานศึกษาจะต้องดำเนินการในเรื่องการประกันคุณภาพ ดังนี้
4. สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปีการศึกษาให้เรียบร้อยภายในเดือนเมษายนของทุกปี 5. จัดเตรียมเอกสารหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก 2. มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่มุ่งเน้นการจับผิดหรือให้คุณให้โทษบุคลากรของสถานศึกษา 3. ได้แก่ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา กรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรของหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เขตพื้นที่การศึกษาและภูมิภาคเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในการให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามมาตรา 8 ของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ โดยสถานศึกษาควรช่วยเตรียมพร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา 4. โดยให้แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษา แนวทางหรือแผนงานในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป แล้วเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงกำหนด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตลอดจนสาธารณชน โดยจัดทำรายงานโดยสรุป ปิดประกาศไว้ที่โรงเรียน แจ้งให้ผู้ปกครองและเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งมีรายงานฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมจะให้ผู้ที่สนใจขอดูได้ตลอดเวลา 5. ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียน และแนวทางการจัดการศึกษา ตามหลักการและจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และเตรียมพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยบุคลากรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบห้าปี

35 กิจกรรม ถ้าครูผู้สอนได้นำการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแล้ว 1.ระบบการวางแผนคุณภาพ ของครูคือภาระงานใดที่ครูต้องทำ 2.ระบบการควบคุมคุณภาพ ของครูคือภาระงานใดที่ครูต้องทำ 3.ระบบรับการทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงาน ของครู คือภาระงานใดที่ครูจะต้องทำ ให้นักศึกษารวมกลุ่มกัน ไม่เกิน 5 คน ช่วยกันอภิปรายตามข้อ 1-3แล้วสรุปบันทึกผลการอภิปราย ( สุ่มตัวแทนกลุ่มมานำเสนอหน้าชั้นเรียน)

36 ความหมายของมาตรฐานการศึกษา
หลักการประกันคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการ หลักสูตร ผู้สอนและผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ความหมายของมาตรฐานการศึกษา “มาตรฐานการศึกษา” หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา

37 1. มาตรฐานการศึกษาของชาติ 2. มาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับการศึกษา
มาตรฐานการศึกษามีอะไรบ้าง 1. มาตรฐานการศึกษาของชาติ 2. มาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับการศึกษา 3. มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร

38 1. มาตรฐานการศึกษาของชาติ
มาตรฐานการศึกษาของชาติ เป็นเป้าหมายการจัดการศึกษาของชาติ ครอบคลุมการจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท นั่นคือ ครอบคลุมการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา การอุดมศึกษา และครอบคลุมทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ดังนั้น มาตรฐานการศึกษาของชาติจึงเป็นการกำหนดเป้าหมายที่กว้างเพื่อให้องค์กรหลักที่จัดการศึกษาสามารถนำไปกำหนดแนวทางนำสู่การปฏิบัติได้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้

39 มาตรฐานการศึกษาของชาติ แบ่งออกเป็น 3 มาตรฐาน 11 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก(คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข) ตัวบ่งชี้ 1.1 กำลังกาย กำลังใจที่สมบูรณ์ 1.2 ความรู้และทักษะที่จำเป็นและเพียงพอในการดำรงชีวิตและการพัฒนา สังคม 1.3 ทักษะการเรียนรู้และการปรับตัว 1.4 ทักษะทางสังคม 1.5 คุณธรรม จิตสาธารณะ และจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก

40 มาตรฐานที่ 2 แนวการจัดการศึกษา
ตัวบ่งชี้ 2.1การจัดหลักสูตรการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็ม ศักยภาพ 2.2 มีการพัฒนาผู้บริหาร ครู คณาจารย์และบุคลากร ทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ 2.3 มีการบริหารจัดการที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

41 มาตรฐานที่ 3 แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้
ตัวบ่งชี้ 3.1การบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา กับชุมชนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ 3.2 การศึกษาวิจัย สร้างเสริม สนับสนุนแหล่งการเรียนรู้และ กลไกการเรียนรู้ 3.3 การสร้างและการจัดการความรู้ในทุกระดับทุกมิติของสังคม ในแต่ละตัวบ่งชี้ ยังมีตัวบ่งชี้ย่อยอีก ครูและบุคลากรทางการ ศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาเพิ่มเติม

42 2. มาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับการศึกษา
จากมาตรฐานการศึกษาของชาติ องค์กรหลักที่จัดการศึกษาต้องนำมาตรฐานการศึกษาของชาติมากำหนดเป็นมาตรฐานสู่การปฏิบัติในแต่ละระดับ ในที่นี้ขอเสนอรายละเอียดของมาตรฐานการศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ ซึ่งจัดการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาพิเศษ ต้องจัดทำมาตรฐานการศึกษาทั้ง 3 ประเภทให้ครบถ้วน ขณะนี้ ได้มีการจัดทำมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและประกาศไปแล้ว ส่วนมาตรฐานการศึกษาพิเศษกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ การจัดทำมาตรฐานดังกล่าวได้คำนึงถึงอุดมการณ์และหลักการของการศึกษาระดับ / ประเภทนั้นๆ ด้วยสถานศึกษาทุกแห่งต้องใช้มาตรฐานที่กำหนดไว้นี้ เป็นเป้าหมายในการพัฒนาการจัดการศึกษาควบคู่ไปกับระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

43 2.1 มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
อุดมการณ์การศึกษาปฐมวัย อุดมการณ์ของการจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับแรกเพื่อวางรากฐานชีวิตของเด็กไทยให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บนพื้นฐานความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้กิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการของสมองอย่างเต็มที่ รวมทั้งเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับที่สูงขึ้น อันจะนำไปสู่ความเป็นบุคคลที่มี คุณภาพของประเทศชาติต่อไป การศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็ก แต่ละบุคคลภายใต้บริบททางวัฒนธรรม อารยธรรม และวิถีชีวิตทางสังคม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างกัน

44 หลักการของการจัดการศึกษาปฐมวัย
1. หลักการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม 2. หลักการจัดประสบการณ์ที่ยึดเด็กเป็น สำคัญ 3. หลักการสร้างเสริมความเป็นไทย 4. หลักความร่วมมือ 5. หลักแห่งความสอดคล้อง 1. โดยเริ่มจากการพัฒนาด้านร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ กระตุ้นให้สมองได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ พัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ให้เป็นผู้มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง ร่าเริงแจ่มใส สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ พัฒนาด้านสังคมโดยให้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคล และสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รวมทั้งพัฒนาสติปัญญา ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ บนวิถีชีวิตของเด็กตามสภาพครอบครัว บริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย 2. โดยจัดการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และจัดการเรียนรู้ผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นเรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ และเกิดพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล 3. โดยการปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นคนไทย ความเป็นชาติไทยที่มีวัฒนธรรมอันดีงาม เคารพนับถือและกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา มีชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจ ทำให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในตนเอง ครอบครัว ท้องถิ่นและประเทศไทย 4. โดยครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาร่วมมือกันในการอบรมเลี้ยงดู และพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข ตลอดจนพร้อมที่จะเรียนรู้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป 5. อุดมการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาปฐมวัยต้องสอดคล้องกับสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช2545 นโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติและสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

45 2.2 มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อุดมการณ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนโดยรัฐต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองของโลก เพื่อเป็นรากฐานที่พอเพียงสำหรับการใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิตรวมทั้งเพื่อการพัฒนาหน้าที่การงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนตนและครอบครัว และเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคต

46 หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. หลักการพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ 2. หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทย 3. หลักแห่งความเสมอภาค 4. หลักการมีส่วนร่วม 5. หลักแห่งความสอดคล้อง 1. ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม เป็นผู้ที่มีจริยธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ใฝ่รู้มีทักษะในการแสวงหาความรู้ที่พอเพียงต่อการพัฒนางานอาชีพและคุณภาพชีวิตส่วนตนสามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่าทันและชาญฉลาด และมีความเป็นประชาธิปไตย 2. ให้มีความรัก และภาคภูมิใจในท้องถิ่นและประเทศชาติ มีความรู้และทักษะพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพสุจริต มีความมุ่งมั่น ขยันซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน มีลักษณะนิสัยและทัศนคติที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีทั้งของครอบครัว ชุมชน สังคมไทย และสังคมโลก 3. คนไทยทั้งปวงต้องมีสิทธิ์เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงเท่าเทียม ควบคู่ไปกับความมีคุณภาพ โดยไม่แบ่งชนชั้นหรือความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม 4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างเอกลักษณ์ศักดิ์ศรีและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นตามนัยของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ 5. อุดมการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องสอดคล้องกับสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช2545 นโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติและสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมาตรฐานการอาชีวศึกษา และมาตรฐานการอุดมศึกษา

47 3. มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน ซึ่งหมายถึงหลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน มาตรฐานในที่นี้หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ พึงปฏิบัติได้เมื่อเรียนจบการศึกษามาตรฐานการเรียนรู้จึงเป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาหลักสูตร และเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

48 3. มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร
ดังนั้น มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงมีความเกี่ยวข้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน นั่นคือ หากสถานศึกษาจัดการศึกษาตามหลักสูตร โดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ครบถ้วนในแต่ละช่วงชั้น ในขณะเดียวกันก็พัฒนาองค์ประกอบอื่นๆ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยดำเนินการอย่างจริงจังและเข้มแข็ง ย่อมส่งผลถึงคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแน่นอนในทำนองเดียวกัน การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ก็ย่อมส่งผลถึงคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยด้วย

49 มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร
ตัวอย่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานกับ มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะจำเป็นตามหลักสูตร ตัวบ่งชี้ 5.1. มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ 5.2. มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์ ฯลฯ มาตรฐานการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ -คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาไทย -สังคม , ภาษาอังกฤษ การงานอาชีพ , ศิลปะ , สุข พละ

50 หลักการ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาด้านวิชาการ หลักสูตร ผู้สอนและผู้เรียน
สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา(Internal Quality Assurance System)   เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา

51 วิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาด้านวิชาการ หลักสูตร ผู้สอนและผู้เรียนเป็นวงจร 6 ขั้น ดังนี้ 1. คุณภาพของการมอบหมายงานของผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2. ประเมินความต้องการ จากนักเรียน ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3. แผนกลยุทธ์ เป้าหมายความสำเร็จในระยะสั้นและระยะยาว 4. คุณภาพการบริการและผลผลิต 5. แผนยุทธวิธี กำหนดการรับผิดชอบ ความสำคัญ เส้นทางของเวลา ทรัพยากร 6. ประเมินโดยการสรุปและเป็นรูปแบบของการประกันคุณภาพและ การจำแนกลูกค้า 

52 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาเพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ  การพัฒนามาตรฐานการศึกษา   การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา  การประเมินคุณภาพการศึกษา การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี  การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ด้วยการทำจัดโครงสร้างการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการดำเนินงาน ทุกคนมีส่วนร่วมและมีการประชาสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางให้ความเห็นและข้อเสนอแนะและแต่งตั้งคณะบุคคลทำการตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษา และจัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจและแผนพัฒนา คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษามีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้1.2.กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนด ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา ด้วยการจัดทำแผนอย่างเป็นระบบพื้นฐานของข้อมูลสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สมบูรณ์ คลอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษาและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมที่กำหนดอย่างสอดรับกับวิสัยทัศน์และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการกำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่กำหนดไว้โดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจนครอบคลุมงาน/โครงการของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงหลักการและครอบคลุมในเรื่อง ต่อไปนี้ เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความจำเป็นอย่างเป็นระบบและมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชาหรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างถึงให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผู้เรียน รับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดบทบาทหน้าที่ และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคลากรในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน                  4.7 กำหนดการจัดงบประมาณและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวนภายในโดยบุคลากรในสถานศึกษาโดยใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม (การสังเกตพฤติกรรม และกระบวนการทำงาน กระบวนการจัดการเรียนการสอน การสอบถาม การสัมภาษณ์ การพิจารณาหลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน ตัวอย่างผลงาน และแฟ้มสะสมงาน แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบวัดมาตรฐาน)  การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาและรวมถึงการตรวจสอบและทบทวนจากหน่วยงานต้นสังกัด จะต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคน ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมดำเนินงาน ตามระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาดังนี้ จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาร่วมกันเป็นรายปี/รายภาค จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน เป็นการนำสนอข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพ การตรวจสอบและทบทวนภายในและภายนอกมาประมวลรายงานผลการพัฒนาคุณภาพประจำปีการศึกษาซึ่งจะนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพโดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแบบพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ (6) เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน เป็นกลไกส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการส่งเสริม พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผลและผดุงประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาด้วย 

53 ประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษา
1. ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่า สถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด 2. ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ ได้ทำงานที่เป็นระบบที่ดี มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และเน้นวัฒนธรรมคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

54 ประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษา
3. ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำ และความรู้ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

55 ประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษา
4. หน่วยงานที่กำกับดูแลได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษา และคุณภาพของสถานศึกษา 5. ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้เยาวชนและคนที่ดีมีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยทำงานพัฒนาองค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป

56 สวัสดี