สาเหตุ การทำสงครามเก้าทัพ ในสมัย รัชกาลที่ 1

การล่องเรือเพื่อชมวัดใต้น้ำหรือเมืองบาดาล เรียกได้ว่าเป็นไฮไลท์อีกหนึ่ง อย่างเมื่อมายังเมืองสังขละบุรี ไม่แพ้ไปกับการถ่ายรูปที่สะพานมอญเลยก็ว่าได้ เนื่องด้วยประวัติอันน่าสนใจ ของเมืองสังขละบุรีเกี่ยวกับวัดเก่าทั้ง 3 อันเป็นตัวแทน ของ 3 เชื้อชาติ ประกอบด้วย วัดวังก์วิเวการาม วัดของชาวมอญ, วัดศรีสุวรรณ วัดของชาวกระเหรี่ยง, และวัดสมเด็จ วัดของชาวไทย โดยในบรรดาวัดของทริป ล่องเรือนั้น มี 2 วัดที่จมอยู่ใต้น้ำหรือโผล่พ้นเหนือน้ำ นั่นก็คือวัดวังก์วิเวการามเก่า หรือวัดหลวงพ่ออุตตมะ และวัดศรีสุวรรณ ส่วนวัดสมเด็จเก่า จะประดิษฐานอยู่บน เนินเขา และสังเกตุได้ว่า วัดทั้ง 3 ทำมุมเป็น 3 เหลี่ยมครอบจุดบรรจบของแม่น้ำทั้ง สามสาย หรือที่เรียกว่า "สามประสบ" บริเวณเนินที่มีแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำบิคลี่ ซองกาเลีย และรันตี แม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านท้องถิ่นมาช้านาน

อ่านต่อ

     เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับกรุงรัตนโกสินทร์หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือนเช่นกรุงศรีอยุธยา สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง 9 ทัพ รวมกำลังพลมากถึง 144,000 นาย เวลานั้นทางฝ่ายไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง 70,000 นาย จัดกองทัพออกเป็น 4 ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ

สาเหตุ การทำสงครามเก้าทัพ ในสมัย รัชกาลที่ 1

จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สงครามเก้าทัพ

เมื่อเอาชนะอาณาจักรที่ไม่เคยพ่ายอย่างอารากัน เป็นพลังครั้งสำคัญที่พาให้พระองค์เกิดความฮึกเหิมได้ใจ ไร้สามัญสำนึกที่จะประมาณศักยภาพของไพร่พลกำลังรบที่แท้จริง พระองค์ถึงกับทรงประกาศว่า "เราจะทำสงครามเพื่อพิชิตโมกุล (อินเดีย) จีน และโยดะยาให้ได้ "   ลุถึงปี พ.ศ. ๒๓๒๗ พระเจ้าปดุง สั่งเกณฑ์กองทัพจำนวนกว่า ๑๒๐,๐๐๐ คน ซึ่งนับเป็นไพร่พลที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์การยุทธของพม่าและสยาม จัดเป็น ๙ ทัพ แยกเป็น ๕ เส้นทาง หมายตีกรุงรัตนโกสินทร์ให้ย่อยยับเช่นเดียวกับอารากันและมณีปุระ

พระองค์ทรงเป็นจอมทัพ โดยตั้งฐานบัญชาการที่เมืองเมาะตะมะ เมืองท่าด้านอ่าวเบงกอล อันเป็นชุมทางทัพเข้าตีบ้านเมืองสยามในครั้งก่อน แต่เมื่อพระองค์เสด็จจากอมรปุระมายังเมืองเมาะตะมะแล้ว ก็ทรงทราบว่า ทางหัวเมืองเบงกอลไม่สามารถเตรียมเสบียงและยุทธปัจจัยในการสงครามได้ทันภารกิจ พระองค์ทรงพิโรธมากถึงขนาดขว้างหอกซัดเข้าใส่แม่ทัพใหญ่ที่รับผิดชอบในภารกิจท่ามกลางที่ประชุมพลทันที และพระองค์ก็ยังทรงละเลย นิ่งเฉย หรือจะเรียกว่าไม่ทรงสนพระทัยกับข้อด้อยทางทหาร ที่ก่อให้เกิดความไม่พร้อมของกองทัพใหญ่โดยรวม ซึ่งนั้นก็คือสัญญาณแห่งหายนะครั้งใหญ่ของมหากองทัพที่จะตามมาในอีกไม่ช้านี้

เสียอยุธยาครั้งที่สอง ไทยย้ายเมืองหลวงมาอยู่กรุงเทพฯ พ.ศ.2328 พระเจ้าปะดุง กษัตริย์พม่า ก็ยังย่ามใจ ใช้ยุทธวิธีเดิม จัดทัพเป็น 9 ทัพ

ทัพที่ 1 แบ่งเป็นทัพบกทัพเรือ ทัพบก ตีหัวเมืองปักษ์ใต้ ตั้งแต่ชุมพรไปถึงสงขลา ตัดการช่วยเหลือจากหัวเมืองปักษ์ใต้ ทัพเรือ ตีหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตก ตั้งแต่เมืองตะกั่วป่าลงไปถึงเมืองถลาง

ได้หัวเมืองแถวนี้ไว้ เท่ากับได้แหล่งเสบียงสำคัญเลี้ยงกองทัพพม่า

ทัพที่ 2 รวบรวมพลที่เมืองทวาย เดินทัพเข้าทางด่านบ้องตี้ ตีเมืองราชบุรี เพชรบุรี มีจุดหมายไปบรรจบทัพที่ 1 ที่เมืองชุมพร

ทัพที่ 3 ยกเข้าทางเมืองเชียงแสน ตีเมืองลำปาง สวรรคโลก สุโขทัย นครสวรรค์ ลงมาบรรจบกับทัพหลวง ที่กรุงเทพฯ

ทัพ 4 ทัพ 5 ทัพ 6 ทัพ 7 และทัพ 8 ชุมนุมกันที่เมืองเมาะตะมะ เดินทัพมาตามลำดับ เข้าไทยทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ลงมาตีกรุงเทพฯ

ทัพ 9 ตีหัวเมืองเหนือ ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตั้งแต่เมืองตาก กำแพงเพชร ลงมาบรรจบที่กรุงเทพฯ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเห็นว่า สงครามครั้งนี้ พม่ามีรี้พลมากกว่าไทย ทั้งยังยกมาทุกทิศทุกทาง หากไทยจะรอรับศึกในกรุงเหมือนสมัยอยุธยา ก็คงจะรักษากรุงไว้ไม่ได้

ทรงใช้ยุทธวิธีใหม่ จัดทัพออกไปวางแผนโจมตีพม่า ในจุดที่สำคัญไว้ก่อน

แม้พม่าจะยกมา 9 ทัพ แต่รวมกันแล้วมีจุดที่ตั้งรับและรบได้ใน 4 ทิศ รัชกาลที่ 1 จึงจัดทัพออกเป็น 4 ทัพ ทัพ 1 รับผิดชอบข้าศึกทิศตะวันตก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพ ยกทัพไปโจมตีพม่าที่เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์

ทัพวังหน้าเป็นไทยที่ใหญ่ที่สุด คาดว่าพระเจ้าปะดุงจะยกทัพหลวงเข้ามาทางนี้

ทัพ 2 รับผิดชอบทิศเหนือ กรมพระราชวังหลัง ขณะยังทรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ เป็นแม่ทัพยกไปโจมตีพม่า ที่จะยกมาทางนครสวรรค์ สกัดไม่ให้พม่าเข้ามาถึงเมืองหลวง

ทัพ 3 รับผิดชอบทิศใต้ เจ้าพระยาธรรมา (บุญรอด) เป็นแม่ทัพ ร่วมกับพระยายมราช มีหน้าที่โจมตีพม่าที่ยกมาทางใต้และด่านบ้องตี้

ทัพ 4 ทัพหลวง รัชกาลที่ 1 ทรงเป็นจอมทัพ ตั้งมั่นอยู่ในกรุงเทพฯ ทำหน้าที่เป็นกองหนุน ศึกหนักด้านใดก็จะยกทัพไปช่วยด้านนั้น

ผลของสงคราม...ทัพไทยมีกำลังน้อยกว่า แต่มีผู้นำที่ดี มีความสามารถและเด็ดเดี่ยว ทหารมีทั้งประสบการณ์และมีหัวใจในการสู้รบ ตีทัพพม่าแตกพ่ายไปได้ทุกทัพ

บ้านเมืองเราตอนนี้ เหมือนมีสงคราม ม็อบทั้งเล็กใหญ่ ม็อบสามจังหวัดชายแดนใต้ แนวรบเขมร นับรวมๆกันก็คงได้ไม่น้อยกว่า 9 ทัพ แต่เมื่อมีผู้นำดี แม่ทัพมีใจให้ คงเอาชนะทุกทัพไปได้ไม่ยาก

เป็นห่วงอยู่ทัพเดียว ทัพประชาชนที่หงุดหงิดเพราะหาซื้อน้ำมันปาล์มไม่ได้ ยิ่งรู้ว่าเหตุที่น้ำมันปาล์มขาดตลาด เพราะนักการเมืองไทย เล่นเกมกินหัวคิว 3 เด้ง

เด้ง 1 กินค่าหัวบริษัทน้ำมันปาล์มมาเลย์ อินโดฯ เด้ง 2 กินค่า หัวคิวบริษัทเอกชนในไทย เด้ง 3 เสนอขึ้นราคาขายปลีกรอบ 2 กินค่า หัวคิวลิตรละ 1 บาท

สาเหตุ ของ การ เกิด สงคราม เก้า ทัพ คือ อะไร

หลังจากการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีได้เพียงสามปี พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์โก้นบอง ได้มีพระราชโองการให้ยกทัพเข้าโจมตีอาณาจักรสยามเป็นจำนวนเก้าทัพมาจากหลายทิศทาง ฝ่ายสยามถึงแม้มีกำลังพลน้อยกว่าแต่สามารถต้านทานการรุกรานของพม่าได้สำเร็จ ทำให้ฝ่ายพม่าต้องปราชัย สงครามเก้าทัพเป็นการรุกรานของพม่าครั้งแรกในสมัย ...

สงคราม 9 ทัพ เกิดขึ้นในสมัยใด

ในส่วนของอุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพนั้นตั้งอยู่ในตำบลช่องสะเดา อำเภอเมืองกาญจนบุรี สร้างขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ตลอดจนเชิดชูวีรกรรมบรรพบุรุษนักรบไทยในการทำสงครามเก้าทัพกับพม่าในปี พ.ศ.2328 และเพื่อเป็นการ ...

สงครามเก้าทัพก่อให้เกิดวีรสตรีคนใด

ท้าวเทพกระษัตรี (เกิดราวปี พ.ศ. 2278 หรือ 2280 - ราวปี พ.ศ. 2336) และ ท้าวศรีสุนทร (ไม่ทราบปีเกิด) นามเดิมว่าคุณหญิงจันและคุณมุกตามลำดับ เป็นสองวีรสตรีในประวัติศาสตร์ไทย ผู้มีบทบาทในการป้องกันเมืองถลางเกาะภูเก็ตจากการรุกรานของพม่าในสงครามเก้าทัพเมื่อพ.ศ. 2328.

สงคราม9ทัพมีลักษณะอย่างไร

"สงครามเก้าทัพ" เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับราชอาณาจักรไทย หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่างๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรม ...