สงครามเก้าทัพไทยรบกับพม่าเกิดขึ้นในรัชสมัยใด

สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับกรุงรัตนโกสินทร์หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘  พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือนเช่นกรุงศรีอยุธยา  สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง ๙ ทัพ รวมกำลังพลมากถึง ๑๔๔,๐๐๐ นาย เวลานั้นทางฝ่ายไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง ๗๐,๐๐๐ นาย จัดกองทัพออกเป็น ๔ ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ

สงครามเก้าทัพไทยรบกับพม่าเกิดขึ้นในรัชสมัยใด

อานามสยามยุทธ เกิดขึ้นระหว่างไทยกับเวียดนามเพื่อแย่งชิงกัมพูชาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง ในสมัยรัชกาลที่ ๒

ไทยรบพม่าที่เมืองเชียงตุง เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างไทย-พม่า ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๖

สงครามปราบฮ่อ เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพ.ศ. ๒๓๙๔ ฮ่อ หรือกองกำลังชาวจีน ที่ต่อต้านราชวงศ์แมนจู ได้ก่อการกบฏโดยเรียกกลุ่มตัวเองว่า กบฏไท้ผิง เพื่อปลดปล่อยตนเองออกจากการปกครองของราชวงศ์แมนจูที่เป็นใหญ่ยึดครองประเทศจีนอยู่ในขณะนั้น จนเกิดการรบพุ่งกันเป็นการใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๕ พวกไท้ผิงพ่ายแพ้ต้องหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขาในมณฑลต่าง ๆ ของจีน ทั้งในมณฑลยูนนาน ฮกเอี้ยน กวางไส กวางตุ้ง เสฉวน และส่วนหนึ่งหลบหนีมายังตังเกี๋ย ทางตั้งเกี๋ยจึงดำเนินการปราบปรามทำให้พวกฮ่อต้องหนีมาอยู่ที่เมืองซันเทียน เมื่อปี พ.ศ. 2408 ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ขณะนั้นพวกฮ่อภายใต้การนำของ "ปวงนันชี" ซึ่งใช้ธงสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ ได้ซ่องสุมกำลังที่ทุ่งไหหิน และได้ประพฤติตนเป็นโจรเที่ยวปล้นบ้านเมืองในดินแดนสิบสองจุไทและเมืองพวน ซึ่งขณะนั้นถือเป็นอาณาเขตของฝ่ายไทย

เริ่มที่สงคราม พ.ศ.2310 ที่จริงพม่าตั้งใจจะปล้นเอาผู้คน เสบียงอาหาร ทรัพย์สิน แถวๆเมืองเหนือของไทย เอาไปใช้เป็นกำลังตั้งท่ารบกับจีนเท่านั้น

พอเริ่มๆรุกเข้ามา ก็พบว่าไทยเราบ้อท่ามาก เจาะเอาเมือง เมืองไหนก็ง่ายๆ พม่าได้ใจ ใช้เวลาล้อมอยู่แค่ 1 ปี 2 เดือน รุกเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาไปเฉยเลย

พ.ศ.2328 พม่ามาอีก พระเจ้าปดุงทำสงครามเก้าทัพ แต่ละทัพมาจากทุกทิศทุกทาง ดังต่อไปนี้

ทัพที่ 1 มีทั้งทัพบกทัพเรือ ทัพบกตีตั้งแต่เมืองชุมพรลงไปถึงสงขลา ทัพเรือตีหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตก ตั้งแต่เมืองตะกั่วป่าลงไปถึงเมืองถลาง เมืองเหล่านี้มีหน้าที่หาเสบียงอาหารให้กองทัพ

ทัพที่ 2 เริ่มเดินทัพที่เมืองทวายเข้ามาทางด่านบ้องตี้ ตีเมืองราชบุรี เพชรบุรี ไปบรรจบกับทัพที่ 1 ที่ชุมพร

ทัพที่ 3 เข้าทางเชียงแสน ตีลำปาง สวรรคโลก สุโขทัย นครสวรรค์ ลงมาบรรจบที่กรุงเทพฯ

ทัพที่ 4 เริ่มที่เมาะตะมะ รุกเข้าไทยก่อน แล้วให้ทัพที่ 5-6-7-8 เดินทัพหนุนตามมาตามลำดับ ทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ลงมาตีกรุงเทพฯ ทัพที่ 9 ตีหัวเมืองเหนือริมฝั่งแม่น้ำปิง ตั้งแต่ตาก กำแพงเพชร ลงมากรุงเทพฯ

ฝ่ายไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ท่านได้บทเรียนคราวเสียกรุง ไม่ตั้งทัพรับที่เมืองหลวง จัดสี่กองทัพ แยกกันชิงบุกทัพพม่าก่อน

ทัพที่ 1 กรมพระราชวังบวรฯ รับผิดชอบด้านตะวันตก ยกทัพไทย ทัพใหญ่ที่สุดไปโจมตีพม่าที่ด่านพระเจดีย์สามองค์ วังหน้าทรงคาดว่าพระเจ้าปดุง แม่ทัพใหญ่พม่า จะคุมกองทัพหลวงมาด้วยพระองค์เอง

ทัพที่ 2 กรมพระราชวังหลัง รับผิดชอบทางเหนือ สกัดทัพพม่าที่นครสวรรค์ ทัพที่ 3 เจ้าพระยาธรรมา (บุญรอด) ร่วมกับเจ้าพระยายมราช โจมตีพม่าที่จะมาทางใต้และด่านบ้องตี้

ทัพที่ 4 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเป็นแม่ทัพหลวง ตั้งมั่นอยู่กรุงเทพฯ มีหน้าที่เป็นทัพหนุน ศึกหนักด้านใดก็จะยกไปช่วยด้านนั้น

แม้ทัพไทยจะมีกำลังน้อยกว่า แต่มีผู้นำที่ดีมีความสามารถ ทหารไทยมีกำลังใจเข้มแข็งในการสู้รบ ทั้งยังมีประสบการณ์จากการ กู้ชาติครั้งพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงสามารถตีเก้าทัพพม่าแตกพ่ายไปในที่สุด

เหตุพม่าปราชัยในสงครามเก้าทัพ พระเจ้าปดุงอัปยศอดสูนัก วางแผนสงครามครั้งใหม่ ด้วยยุทธวิธีใหม่

พ.ศ.2329 พระเจ้าปดุง เป็นแม่ทัพใหญ่ยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ทางเดียว สร้างยุ้งฉางสะสมเสบียงอาหาร ตั้งค่ายถาวรเป็นระยะๆจากท่าดินแดงถึงสามสบ ขุดคูปักขวากแน่นหนา ชักปีกกาถึงกัน

แผนพระเจ้าปดุง พักบำรุงขวัญไพร่พลจนกล้าแข็งแล้ว ก็จะตรงเข้าตีกรุงเทพฯจุดเดียว

แต่ผิดคาดฝ่ายไทยไม่รั้งรอ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเป็นแม่ทัพหลวง กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพหน้า นำสองทัพพร้อมกันไปตีค่ายพม่า แตกพ่ายในเวลาเพียงสามวัน

จับเชลย ยึดยานพาหนะ เสบียงอาหาร ศัสตราวุธได้เป็นจำนวนมาก นับเป็นชัยชนะพม่าขั้นเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

ผมอ่านประวัติศาสตร์สงครามไทยพม่า แล้วรู้สึกคึกมาก! ตะโกน ไชโย้ ไชโย อึงในใจ วีรกรรมกษัตริย์ไทย คงเป็นแบบอย่างให้ผู้นำไทยรุ่นต่อๆมา จนถึงรุ่นปัจจุบัน ได้ฮึกเหิม...ตามมองไปทั้งโลกมองรอบบ้านถึงเมืองเรา...รุนแรงกว่าครั้งสงครามเก้าทัพ ผมว่าผู้นำเราฉลาดและกล้าหาญพอ จะพาพวกเราเอาตัวรอดไปด้วยกัน

การล่องเรือเพื่อชมวัดใต้น้ำหรือเมืองบาดาล เรียกได้ว่าเป็นไฮไลท์อีกหนึ่ง อย่างเมื่อมายังเมืองสังขละบุรี ไม่แพ้ไปกับการถ่ายรูปที่สะพานมอญเลยก็ว่าได้ เนื่องด้วยประวัติอันน่าสนใจ ของเมืองสังขละบุรีเกี่ยวกับวัดเก่าทั้ง 3 อันเป็นตัวแทน ของ 3 เชื้อชาติ ประกอบด้วย วัดวังก์วิเวการาม วัดของชาวมอญ, วัดศรีสุวรรณ วัดของชาวกระเหรี่ยง, และวัดสมเด็จ วัดของชาวไทย โดยในบรรดาวัดของทริป ล่องเรือนั้น มี 2 วัดที่จมอยู่ใต้น้ำหรือโผล่พ้นเหนือน้ำ นั่นก็คือวัดวังก์วิเวการามเก่า หรือวัดหลวงพ่ออุตตมะ และวัดศรีสุวรรณ ส่วนวัดสมเด็จเก่า จะประดิษฐานอยู่บน เนินเขา และสังเกตุได้ว่า วัดทั้ง 3 ทำมุมเป็น 3 เหลี่ยมครอบจุดบรรจบของแม่น้ำทั้ง สามสาย หรือที่เรียกว่า "สามประสบ" บริเวณเนินที่มีแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำบิคลี่ ซองกาเลีย และรันตี แม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านท้องถิ่นมาช้านาน

อ่านต่อ

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใดของไทย

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2328-2329 โดยเรียกชื่อสงครามตามจำนวนกองทัพของพม่าที่แบ่งกองทัพมาเป็นเก้ากองเพื่อโจมตีสยามจากหลายทิศทาง ซึ่งนับเป็นสงครามครั้งแรกที่เกิดขึ้นระหว่างอาณาจักรพม่ากับกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 หลังจากการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีได้ ...

ใครต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพ

สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง 9 ทัพ รวมกำลังพลมากถึง 144,000 นาย โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น 5 ทิศทาง ทัพที่ 1 ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช

สงครามเก้าทัพก่อให้เกิดวีรสตรีคนใด

ท้าวเทพกระษัตรี (เกิดราวปี พ.ศ. 2278 หรือ 2280 - ราวปี พ.ศ. 2336) และ ท้าวศรีสุนทร (ไม่ทราบปีเกิด) นามเดิมว่าคุณหญิงจันและคุณมุกตามลำดับ เป็นสองวีรสตรีในประวัติศาสตร์ไทย ผู้มีบทบาทในการป้องกันเมืองถลางเกาะภูเก็ตจากการรุกรานของพม่าในสงครามเก้าทัพเมื่อพ.ศ. 2328.

สงครามใดที่เป็นสงครามต่อเนื่องจากสงครามเก้าทัพ

สงครามท่าดินแดง เป็นสงครามระหว่างสยามอาณาจักรรัตนโกสินทร์และอาณาจักรพม่าราชวงศ์โก้นบอง เป็นการรุกรานของพม่าครั้งที่สองในสมัยรัตนโกสินทร์และเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากสงครามเก้าทัพ เกิดขึ้นหลังจากสงครามเก้าทัพหนึ่งปีในพ.ศ. 2329 หลังจากที่ฝ่ายพม่าซึ่งนำโดยพระเจ้าปดุงปราชัยไปในสงครามเก้าทัพและถอยทัพกลับ ในปีต่อมาฝ่ายพม่า ...