คนซ้อนท้าย เบิก พรบ ได้ไหม

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วก็จะมีเรื่องราวต่าง ๆ ตามมา เช่น การได้รับบาดเจ็บต่อร่างกาย ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินเป็นต้น

โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ เช่น ขับขี่รถจักรยานยนต์ล้มเอง ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี ทำให้ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วยตนเอง จนเกิดเป็นคำถามว่า กรณีรถล้มเอง เบิกพรบ.รถจักรยานยนต์ได้หรือไม่ ???

ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ทราบดีว่า  จะต้องทำพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นข้อบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งสามารถคุ้มครองผู้กระสบภัยจากการประสบอุบัติเหตุ โดยเงื่อนไขการคุ้มครองก็จะมีความแตกต่างกันตามสถานะของผู้ได้รับอุบัติเหตุ

แต่ถ้าเป็นกรณี รถล้มเอง ไม่มีคู่กรณี คราวนี้ พ.ร.บ. จะยังสามารถคุ้มครองได้หรือไม่?

กรณี รถล้มเอง พรบ คุ้มครองได้หรือไม่ ?

ก่อนอื่นต้องเข้าใจเรื่องของ  พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์สั้นๆ ก่อน

พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์มีเพื่อคุ้มครองและเป็นหลักประกันให้กับผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนว่า จะได้รับเงินชดเชยเบื้องต้น หรือกล่าวได้ว่าหน้าที่หลักของ พ.ร.บ. คือการคุ้มครองค่าใช้จ่ายของผู้ขับขี่

ซึ่งในกรณีที่หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น รถล้มเอง หรือ รถชนสิ่งกีดขวาง หรือแม้กระทั่งสุนัขตัดหน้ารถแล้วเสียหลัก จนได้รับบาดเจ็บและอาจถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุแบบนี้ เป็นแบบที่ไม่มีคู่กรณี เอาผิดคู่กรณีไม่ได้โดยตรง ซึ่ง พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ นั้น จะยังให้ความคุ้มครองและสามารถเบิก พ.ร.บ.ได้เช่นกัน

โดยเงื่อนไขของการเบิกนั้น รถจักรยานยนต์คันที่เกิดอุบัติเหตุจะต้องมี พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็น พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ (พ.ร.บ. ไม่ขาด) ซึ่งไม่มีใบขับขี่ก็ยังสามารถเบิกได้ (แต่เรื่องทางกฏหมายจราจรก็อีกเรื่อง) ผู้ประสบเหตุรวมถึง ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก ที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุครั้งนั้น โดยจะคุ้มครองค่าใช้จ่ายเฉพาะ ค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น โดยทางบริษัทประกันที่ทำ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์จะเป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทั้งหมดให้ภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับเอกสารคำร้อง

การจ่ายค่าชดเชยของเหตุการณ์รถล้มเอง หรือรถล้มแบบไม่มีคู่กรณีนั้น จัดอยู่ในการเกิดอุบัติเหตุโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งจะแบ่งการจ่ายชดเชย ดังนี้

กรณีบาดเจ็บ

สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) วงเงินชดเชยสูงสุดคนละไม่เกิน 30,000 บาท

กรณีเสียชีวิต, สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ

วงเงินชดเชยสูงสุดได้คนละ 35,000 บาท

หากได้รับความเสียหายทั้ง 2 กรณี (บาดเจ็บ และเสียชีวิต / ทุพพลภาพถาวร / สูญเสียอวัยวะตามมา) สามารถเบิกรวมกันไม่เกินคนละ 65,000 บาท

คนซ้อนท้าย เบิก พรบ ได้ไหม

รถล้มเอง เบิก พ.ร.บ. ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องเตรียมกรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลตัวจริง

เอกสารที่ต้องเตรียมกรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ใบรับรองแพทย์
  • หนังสือรับรองคนพิการ
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

เอกสารที่ต้องเตรียมกรณีเสียชีวิต

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิต
  • ใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรม
  • สำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

ใช้สิทธิ์ พ.ร.บ. จากรถได้ที่โรงพยาบาลพริ้นซ์อุทัยธานี คุ้มครองสูงสุด 80,000 บาท

เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถ สามารถมาใช้บริการที่โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี ได้โดยใช้สิทธิ์ พ.ร.บ. จากรถจักรยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุโดยมีคู่กรณี หรือ แบบไม่มีคู่กรณี  ซึ่งหากมีคู่กรณีจะได้รับสิทธิ์ พ.ร.บ. คุ้มครองสูงสุด 80,000 บาท (ในกรณีที่เอกสารครบ, พ.ร.บ. ไม่ขาด, และพิสูจน์แล้วว่าผู้ใช้สิทธิ์เป็นฝ่ายถูก)

รายละเอียดการคุ้มครองนั้น ตัว พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถยนต์ เพิ่มความคุ้มครองส่วนเพิ่ม 50,000 บาท รวมค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น 30,000 บาท เป็น 80,000 บาท

ภายหลังการพิสูจน์เรื่องถูกผิดแล้ว โดยมีการบันทึกลงในใบแจ้งความ ว่าเป็นผู้ถูกกระทำให้เกิดความบาดเจ็บ (เป็นผู้ถูก) จะได้รับความคุ้มครองส่วนเพิ่มอีก 50,000 บาท

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย

ปฏิเสธ อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ที่ต้องต่อเป็นประจำทุกปี รู้หรือไม่ว่าหากเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด สามารถเบิกอะไรได้บ้าง 

คนซ้อนท้าย เบิก พรบ ได้ไหม

ใครที่มีรถมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์น่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับคำว่า พ.ร.บ. เพราะเป็นสิ่งที่เจ้าของรถทุกคนจะต้องดำเนินการต่อให้เรียบร้อยพร้อม ๆ กับการต่อภาษีประจำปี ทั้งนี้ พ.ร.บ. คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และยานพาหนะทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำทุกคัน เพื่อเป็นหลักประกันในเบื้องต้นให้กับผู้ที่ใช้รถใช้ถนน ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณี หรือบุคคลอื่นที่ประสบอุบัติเหตุ จะได้รับความคุ้มครองเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพ ซึ่งรายละเอียดความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์นั้นมีอะไรอีกบ้าง เบิกได้ที่ไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง วันนี้เรารวบรวมมาให้ดูกันแล้ว

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ มีความสำคัญอย่างไร ?

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ หรือ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ เปรียบเสมือนการทำประกันภัยชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ โดยจะอยู่ในความดูแลของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ซึ่งประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. นั้นจะให้ความคุ้มครองแค่ตัวบุคคล ไม่รวมทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ

ไม่ต่อ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ จะมีความผิดอย่างไร ?

การขับขี่มอเตอร์ไซค์ที่ไม่มีหรือยังไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. หากถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจจะมีความผิดและมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากต่อ พ.ร.บ. เรียบร้อยแล้วแต่ไม่แสดงเครื่องหมายหรือติดป้ายสี่เหลี่ยมแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ เบิกอะไรได้บ้าง ?

หากเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะให้ความคุ้มครองในเบื้องต้นทันที โดยยังไม่ต้องมีการพิสูจน์ความผิด รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น ล้มเอง หรือเฉี่ยวชนกับสิ่งกีดขวางบนท้องถนน ทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารบาดเจ็บหรือเสียชีวิต พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครอง ดังนี้

  • เบิกค่ารักษาพยาบาลตามค่าใช้จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

  • หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาทต่อคน

  • หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะตามมาภายหลังเข้ารับการรักษา จะได้รับเงินชดเชยสูงสุด 65,000 บาท

กรณีเกิดอุบัติเหตุ พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก

เมื่อพิสูจน์แล้วว่าอุบัติเหตุในครั้งนี้เราเป็นฝ่ายถูก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมซึ่งครอบคลุมตัวผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลตามค่าใช้จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 80,000 บาท

  • หากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ จะได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท

  • หากสูญเสียอวัยวะ จะแบ่งออกเป็น

- นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท

- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท

- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท

  • หากต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือผู้ป่วยใน จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

คนซ้อนท้าย เบิก พรบ ได้ไหม

กรณีเกิดอุบัติเหตุ พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายผิด

สำหรับกรณีที่เกิดอุบัติเหตุซึ่งมีการพิสูจน์ทราบแล้วว่าเราเป็นฝ่ายผิด หากเกิดการบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่ผิดจะได้รับความคุ้มครองแค่ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนฝ่ายที่ถูกจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น และได้รับเงินสินไหมทดแทนเพิ่มเติม

เบิก พ.ร.บ. จักรยานยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

เบิก พ.ร.บ. จักรยานยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย

2. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

เบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยใน

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย

2. ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล หรือใบสรุปหน้างบ หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจากโรงพยาบาล

กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย

2. ใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายเพราะประสบภัยจากรถ และหลักฐานรับรองแสดงถึงการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร เช่น หนังสือรับรองความพิการ

3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย

3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย

4. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน และ/หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะประสบภัยจากรถ

การจ่ายค่าเสียหายของบริษัทประกันภัยจะจ่ายให้กับตัวผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้น หากผู้เสียหายนั้นไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้กับบุคคลใดที่ไว้วางใจให้มากระทำการแทนได้ โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ การจ่ายค่าเสียหายนั้นทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายเป็นเช็คชื่อผู้ประสบภัยที่แท้จริง เว้นแต่กรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะจ่ายเช็คให้กับทายาทโดยธรรมตามกฎหมายเท่านั้น

ทั้งนี้ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ถือว่ามีความสำคัญมากหากเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด เพราะจะให้ความคุ้มครองรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทุกกรณี รวมถึงเงินชดเชยกรณีทุพพลภาพถาวร สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต หากพิสูจน์แล้วว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นฝ่ายถูกยังได้รับเงินสินไหมทดแทนเพิ่มเติมอีกด้วย อย่างไรก็ดี แม้จะมี พ.ร.บ. ที่ให้ความคุ้มครองแต่ก็เป็นสิทธิ์ที่ไม่ควรใช้ เราควรขับขี่มอเตอร์ไซค์หรือยานพาหนะต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวัง สวมหมวกกันน็อก คาดเข็มขัดนิรภัย ใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนด เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง