ต่อภาษีรถยนต์ ไม่ใช่ เจ้าของ ต่อได้ไหม

ต่อภาษีรถยนต์ ไม่ใช่ เจ้าของ ต่อได้ไหม

ต่อภาษีรถยนต์ ไม่ใช่ เจ้าของ ต่อได้ไหม

เมื่อเราใช้รถมาครบปี จะมีสิ่งหนึ่งที่เราต้องต่อเป็นประจำทุกปี ก็คือ พรบ. นั้นเอง และหลายๆ คนมักเข้าใจผิด คิดว่าป้ายสี่เหลี่ยมๆ ที่ติดหน้ารถนั้นคือ พ.ร.บ. แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย!! ป้ายสี่เหลี่ยมๆ ที่ติดหน้ารถนั้น จะเรียกว่า ป้ายภาษี

ต่อภาษีรถยนต์ ไม่ใช่ เจ้าของ ต่อได้ไหม

 

ส่วนพรบ. นั้น สำหรับรถยนต์จะเป็นกระดาษ A4 และ สำหรับรถจักรยานยนต์จะเป็นกระดาษสลิป เล็กๆ ยาวๆ

ต่อภาษีรถยนต์ ไม่ใช่ เจ้าของ ต่อได้ไหม

 

เอาล่ะ เมื่อเราเข้าใจตรงกันแล้ว ต่อมาก็จะมาพูดถึงเอกสารที่เราจำเป็นต้องใช้สำหรับต่อ พ.ร.บ. และภาษีกัน เอกสารที่ต้องใช้ก็คือ สมุดเล่มทะเบียนรถ หรือ จะเป็นสำเนาหน้าทะเบียนรถก็ได้ ใช้อย่างใดอย่างนึง

ต่อภาษีรถยนต์ ไม่ใช่ เจ้าของ ต่อได้ไหม

 

ต่อภาษีรถยนต์ ไม่ใช่ เจ้าของ ต่อได้ไหม

และถ้าเราจะต่อป้ายภาษี ไว้ติดหน้ารถนั้น เราก็ต้องมี
1. สมุดทะเบียนรถ หรือสำเนาก็ได้
2. หางของ พ.ร.บ. ตามกฎหมายรถทุกคันต้องทำพรบ. ไม่ทำถือว่ามีความผิด
3. ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. เฉพาะรถที่ถึงเกณฑ์ที่ต้องตรวจสภาพรถแล้ว ดูเกณฑ์รถที่ต้องตรวจสภาพได้ที่นี่
4. ใบตรวจสภาพแก๊ส เฉพาะรถที่ติดตั้งแก๊สเท่านั้น

ต่อภาษีรถยนต์ ไม่ใช่ เจ้าของ ต่อได้ไหม

 

บทสรุป
เอกสารที่ใช้ต่อ พ.ร.บ และต่อภาษีรถก็ คือ สมุดหน้าทะเบียนรถ หรือสำเนาก็ได้
พ.ร.บ. คือ กรมธรรม์ที่ไว้คุ้มครองผู้บาดเจ็บ ที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นคนขับ หรือคนที่ข้ามถนน ถ้าเกิดเหตุจากรถก็ได้รับความคุ้มครอง
ป้ายภาษี หรือป้ายสี่เหลี่ยมๆ ที่ติดหน้ารถ คือ ป้ายภาษีที่เอาไว้แสดงว่ารถของเรานั้นได้เสียภาษีให้แก่รัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ใบตรวจสภาพรถ คือ ใบยืนยันว่ารถของท่านพร้อมใช้งานตามที่กรมขนส่งกำหนดไว้
ใบตรวจสภาพถังแก๊ส คือ ใบยืนยันว่าแก๊สในรถของท่านยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ ไม่รั่ว เป็นต้น

การต่อภาษีรถยนต์ในปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายมากขึ้น จากช่องทางให้บริการต่อภาษีที่สำนักงานขนส่งแบบเดิม ช่องไดรฟ์ทรู ไปรษณีย์ไทย หรือแม้กระทั่งการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ที่เลือกได้ตามสะดวก แต่อาจต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีประจำปีตามเงื่อนไขที่กำหนด แรบบิท แคร์ รวบรวมประเด็นสำคัญที่ควรต้องรู้เมื่อต้องต่อภาษีรถยนต์ประจำปีมาฝาก

1. ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ไหม ต้องทำอย่างไร?

1.1 กรณีต่อภาษีตามปกติ หรือต่อล่วงหน้า

การชำระภาษีรถประจำปีล่วงหน้าสามารถทำได้ 2 กรณี แบ่งเป็น 1) การชำระภาษีล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน และมีภาษีเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เมื่อชำระแล้วจะได้ป้ายภาษีใหม่ภายใน 7-14 วัน และ 2) การชำระภาษีล่วงหน้า 3 เดือน จะได้รับป้ายภาษีใหม่ทันที โดยสามารถเลือกต่อภาษีได้ในทุกช่องทางที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ทั้งการต่อภาษีรถแบบปกติหรือการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

ข้อควรระวังที่ต้องทราบในการต่อภาษีรถยนต์ คือ พ.ร.บ. ต้องยังไม่หมดอายุ หรือมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน หาก พ.ร.บ. มีอายุน้อยกว่า 90 วัน ต้องซื้อ พ.ร.บ.ใหม่ เพื่อประกอบการขอต่อภาษีรถยนต์ประจำปี

1.2 กรณีค้างชำระ

กรณีรถค้างชำระภาษีเกินกว่า 1 ปี หรือรถที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพรถกับสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ก่อนเริ่มดำเนินการชำระภาษีรถผ่านช่องทางต่างๆ โดยต้องชำระภาษีที่ค้างตามจริง อิงตามอัตราภาษีรถประจำปีของรถแต่ละประเภท พร้อมเสียภาษีเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือคิดเป็น 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือนจนถึงวันที่ชำระ

และมีค่าตรวจสภาพรถยนต์ราคาอยู่ที่ 150-200 บาท ตามประเภทเเละขนาดน้ำหนักของรถยนต์ มีรายละเอียดการดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ของรถที่ค้างค่าภาษีรถประจำปีดังนี้

  • รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพที่ ตรอ. เท่านั้น
  • รถยนต์ที่อายุการใช้งานยังไม่ครบ 7 ปี หรือครบกำหนดตรวจสภาพ และมีการค้างชำระภาษี ไม่เกิน 1 ปี ไม่ต้องนำรถไปตรวจสภาพ ทำเรื่องชำระภาษีเพียงอย่างเดียว
  • รถยนต์ที่อายุการใช้งานยังไม่ครบ 7 ปี หรือครบกำหนดตรวจสภาพ และมีการค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สำนักงานขนส่ง หรือ ตรอ.
  • กรณีค้างชำระภาษีเกิน 3 ปี ต้องตรวจสภาพรถและชำระภาษีที่สำนักงานขนส่งเท่านั้น

2. ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการต่อภาษีรถประจำปี?

  • คู่มือจดทะเบียนรถ หรือสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ 
  • หลักฐานตาราง พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ/ยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครอง
  • ใบผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
  • หนังสือรับรองการตรวจทดสอบกรณีรถติด LPG/CNG
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล อายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีเป็นนิติบุคคล)
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกดำเนินการ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
ต่อภาษีรถยนต์ ไม่ใช่ เจ้าของ ต่อได้ไหม

3. ต่อภาษีรถยนต์ที่ไหนได้บ้าง?

ปัจจุบันมีช่องทางการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีให้เลือกได้ตามสะดวก หากไม่สะดวกไปต่อภาษีรถด้วยตัวเองที่สำนักงานขนส่งในวันทำการตามปกติ สามารถเลือกจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปีได้ที่ไปรษณีย์ไทย ห้างสรรพสินค้า ช่องบริการแบบไดรฟ์ทรู แอปพลิเคชั่น Wallet แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax หรือเว็บไซต์ eservice.dlt.go.th โดยไม่ต้องเดินทางไปทำเรื่องที่สำนักงานขนส่งอีกต่อไป สามารถเลือกต่อภาษีรถยนต์ได้ตามสถานที่ดังนี้

3.1 สำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ

  • กรมการขนส่งทางบก เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 (เขตบางขุนเทียน)
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 (เขตตลิ่งชัน)
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (เขตพระโขนง)
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 (เขตหนองจอก)
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (เขตจตุจักร)
  • สำนักงานขนส่งประจำจังหวัด

3.2 บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)

เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) คือ บริการการรับชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านช่องบริการแบบไดรฟ์ทรู (Drive Thru) โดยไม่ต้องลงจากรถที่กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครทั้ง 5 พื้นที่ และสำนักงานขนส่งประจำจังหวัดทั่วประเทศ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.30-15.30 น.

การต่อภาษีรถยนต์แบบไดรฟ์ทรูนี้ สามารถต่อภาษีให้กับรถยนต์ที่จดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ได้ และเมื่อชำระเงินเงินเรียบร้อยเเล้วจะได้รับป้ายภาษีใหม่ทันที เเละต้องเตรียมหลักฐานนำมายื่นต่อภาษีรถกับบริการเลื่อนล้อต่อภาษีเหมือนกับการต่อภาษีรถยนต์ด้วยตัวเองที่สำนักงานขนส่งตามปกติ

3.3 แอปพลิเคชัน Truemoney Wallet 

สามารถต่อภาษีรถประจำปีผ่านแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ทได้โดยเมื่อเติมเงินเข้า Wallet เรียบร้อย ให้เลือกเมนู ‘Pay Bill’ จากนั้นเลือกจ่ายบิลในหมวดสาธารณูปโภค และเลือกจ่ายบิล ‘กรมการขนส่งทางบก’ กรอกรายละเอียดข้อมูลรถยนต์ ข้อมูล พ.ร.บ. และข้อมูลผู้เสียภาษีให้ครบถ้วน และเมื่อชำระเงินเรียบร้อย เอกสารต่อภาษีรถยนต์ประจำปีจะจัดส่งให้ภายใน 7 วัน

3.4 แอปพลิเคชัน mPAY 

3.5 ที่ทำการไปรษณีย์ไทย (ปณท)

สามารถชำระภาษีรถประจำปีได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศที่ไม่ใช้ตัวแทน โดยต้องมีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถเล่มจริงไปแสดง และจะมีค่าธรรมเนียมไปรษณีย์ 40 บาท โดยจะได้รับใบเสร็จเพื่อเป็นหลักฐานทันทีหลังชำระเงินและมีอายุหลักฐาน 30 วัน

เมื่อจัดเตรียมและจัดส่งเอกสารทั้งหมดที่สำนักงานไปรษณีย์เรียบร้อยแล้ว ปณท จะนำส่งเงินค่าภาษีรถ ใบคู่มือจดทะเบียนรถเเละเอกสารอื่นๆ ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดส่งต่อไปยังสำนักงานขนส่งสาขาที่รถจดทะเบียนไว้ จากนั้นเมื่อต่อภาษีเรียบร้อยเเล้ว จะจัดส่งคืนใบคู่มือจดทะเบียนรถ แผ่นป้ายเครื่องหมายเเสดงการเสียภาษีรถและใบเสร็จรับเงินให้ผู้ใช้บริการทางไปรษณีย์ภายใน 10-15 วัน หรือประมาณ 2 สัปดาห์

3.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)

ผู้ที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ผ่าน ธ.ก.ส. ต้องสอบถามข้อมูลการให้บริการจากสาขาที่ต้องการเข้าใช้บริการล่วงหน้าก่อน เนื่องจากบริการต่อภาษีรถยนต์จะเปิดให้บริการเฉพาะบางสาขาเท่านั้น เนื่องจากบางสาขายังไม่ได้รับต่อภาษี แต่เป็นเพียงตัวแทนการรับชำระเท่านั้น

การต่อภาษีรถยนต์กับ ธ.ก.ส. อาจเป็นการบริการต่อภาษีพร้อมชำระค่าธรรมเนียมเบ็ดเสร็จที่สาขา หรืออาจต้องกรอกข้อมูลในระบบการต่อภาษีรถยนต์ในเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกให้เรียบร้อยแล้ว จากนั้นนำเอกสารที่มีแถบบาร์โค้ดมายื่นชำระค่าธรรมเนียมต่อภาษีรถยนต์ประจำปีไที่ ธ.ก.ส เเละมีค่าธรรมเนียม 60-90 บาท

3.7 เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11

3.8 ห้างสรรพสินค้า (โครงการ ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี : Shop Thru For Tax)

หน่วยให้บริการของกรมการขนส่งทางบกที่ออกตั้งจุดให้บริการรับชำระภาษีรถประจำปีที่ห้างสรรพสินค้าหรือแหล่งชุมชน ตามโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี : Shop Thru For Tax” ในทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ ตั้งเเต่เวลา 09.00-18.00 น.ได้แก่

  • ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี จำนวน 11 สาขา (สาขาบางบอน บางปะกอก เพชรเกษม อ่อนนุช สุวิทวงศ์ รัชดาภิเษก สุขาภิบาล 3 ลาดพร้าว รามอินทรา สำโรง และสมุทรปราการ)
  • ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค
  • เซ็นทรัลศาลายา
  • เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ
  • เซ็นทรัล Westgate
  • เซ็นทรัล รามอินทรา 
  • เซ็นทรัลเวิลด์
  • เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
  • ศูนย์บริการร่วมคมนาคม ณ เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน

3.9 เว็บไซค์ eservice.dlt.go.th และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการขนส่งทางบกรองรับการต่อภาษีทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้ทุกอายุการใช้งาน แต่หากอายุเกินหรือครบกำหนดตรวจสภาพรถ ต้องผ่านการตรวจสภาพรถยนต์เรียบร้อยแล้ว สามารถชำระภาษีรถล่วงหน้าได้ภายใน 90 วัน ก่อนวันที่ภาษีรถสิ้นอายุ และสามารถเลือกจ่ายแบบหักจากบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต/เดบิต หรือเคาท์เตอร์ธนาคารได้ตามสะดวก

ต่อภาษีรถยนต์ประจำปีเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมต่อประกันภัยรถยนต์หรือเช็กระยะเวลาคุ้มครองของประกันรถยนต์ให้พร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องด้วย เพราะนอกจากประกันรถยนต์จะไม่มีค่าปรับหรือระเบียบบังคับให้ต้องคอยต่ออายุเหมือนกับภาษีรถยนต์ประจำปี หรือ พ.ร.บ. ที่ต้องต่ออายุอย่างต่อเนื่องทุกปีแล้ว อุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ และจะร้ายแรงมากขึ้นเมื่อไม่มีประกันรถ หรือประกันรถขาดพอดี

ลองให้ แรบบิท แคร์ ช่วยดูแลประกันรถยนต์ของคุณสิ! เพราะที่ แรบบิท แคร์ พร้อมส่งมอบทุกความแคร์ให้เฉพาะลูกค้า แรบบิท แคร์ อย่างคุณเท่านั้น! ไม่ว่าจะเป็นประกันรถตัวเด็ดจากทุกบริษัทชั้นนำที่มีให้เลือกครบเฉพาะที่นี้เท่านั้น โปรโมชั่นผ่อนประกันรถยนต์ดอกเบี้ยต่ำสุด 0% นานสูงสุด 3-10 เดือน พร้อมส่วนลดสูงสุดถึง 70% และบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางถนนเพิ่มเติมตลอด 24 ชั่วโมง ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย! รับสิทธิพิเศษเมื่อเลือกซื้อประกันรถกับ แรบบิท แคร์ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทักเลย!