หน่วยความจําสํารอง

ออปติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้

3.1 ซีดีรอม คือ หน่วยความจำรองที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว

3.2 ซีดีอาร์ คือ หน่วยความรองที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่นแล้วข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

3.3 ซีดีอาร์ดับบลิว คือ หน่วยความจำรองที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่นและสมารถเขียนข้อมูลลงแผ่นเดิมได้

3.4 ดีวีดี เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยม มีการใช้เทคโนโลยีกราบีดอัดข้อมูลมากขึ้น

3.5 บลูเรย์ดิสก์ เป็นเทคโนโลยีแบบแสงล่าสุดที่สามารถบันทึกข้อมูลความละเอียดสูงได้ถึง100กิกะไบต์

4.แผ่นซีดี (Compact Disk : CD ) วิวัฒนาการของการใช้หน่วยความจำรองได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์แผ่นซีดี

ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก การเก็บข้อมูลบนแผ่นซีดีใช้หลักการทางแสง แผ่นซีดีที่อ่านได้อย่างเดียว เรียกกันว่า

ซีดีรอม (CD- ROM) ข้อมูลที่บันทึกจะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิตเหมือนการบันทึกเพลงหรือภาพยนตร์

ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้มาก สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า 750 เมกะไบต์ต่อแผ่น

แผ่นซีดีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตแผ่นซีดีได้ก้าวหน้าขึ้น

จนสามารถเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดีได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า ออปติคัลดิสก์ (optical disk)

ข้ามไปยังเนื้อหา

หน่วยความจำคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำ แบ่งเป็น หน่วยความจำหลัก กับ หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำหลัก

1หน่วยความจำแบบชั่วคราว (Random Access Memory : RAM)
แรม เป็นหน่วยความจําหลัก RAM  ย่อมาจาก Random Access Memory หมายถึง การที่ซีพียูสามารถเข้าถึงหน่วยความจําได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านส่วนอื่น ต่างกับการเข้าถึงข้อมูลในเทปเสียงหรือภาพซึ่งจะต้องรอให้เทปเล่นผ่านส่วนนั้น การใช้คําว่า “Random” ซึ่งแปลว่า  “สุ่ม” จึงเป็นการใช้คําที่ไม่ถูกต้องนักเพราะการเข้าถึงของแรมถูกกําหนดไว้ล่วงหน้าแล้วโดยโปรแกรมเมอร์ไมใช้เป็นการเข้าถึง แบบสุ่ม ซึ่ง บริษัท IBM จะใช้คําว่า Direct Access Memory แทนที่จะใช้ Random Access Memory เหมือนที่ใช้กันทั่วๆ ไปแรมสามารถเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยง
ข?อมูลที่อยู?ภายในแรมก็จะหายไป แรมมีหน?าที่เก็บชุดคําสั่งและข?อมูลในขณะที่ระบบคอมพิวเตอร?กําลังทํางานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการนําเข้าข้อมูล (Input) หรือการนําออกข?อมูล (Output) โดยหน้าที่ของแรมถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1) Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนําเข้าซึ่งได?รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้า โดยข้อมูลนี้จะถูกนําไปใช?ในการประมวลผลต่อไป
2) Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข?อมูลซึ่งอยู่ในระหว่างการประมวลผล
3) Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ซึ่งได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออกยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
4) Program Storage Area เป็นสวนที่ใช่เก็บชุดคําสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อให?คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคําสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทําหน้าที่ดึงคําสั่งจากส่วนนี้ไปทีละคําสั่งเพื่อทําการแปลความหมายว่าคําสั่งนั้นสั่งให้ทําอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทํางานดังกล่าวให้ทํางานตามคําสั่งนั้น ๆ

แรมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

หน่วยความจําสํารอง

1) SDRAM (Synchronous DRAM) มี 168 ขา SDRAM จะใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกําหนดการ
ทํางานโดยใช้ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเป?นตัวกําหนด และมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 528 MB ต่อวินาที

2) DDR SDRAM หรือ SDRAM II (นิยมเรียก DDR RAM) มี 184 ขาDDR RAM แยกออกมาจาก SDRAMโดยจุดที่ต?างกันหลัก ๆ คือ DDR SDRAM สามารถใช้งานได?ทั้งขาขึ้นและขาลงของ สัญญาณนาฬิกาเพื่อส่งถ่ายข้อมูล ทำให้อัตราการส่งถ่ายเพิ่มขึ้นได?ถึงเท?าตัว ซึ่งมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1 G ต?อวินาที

หน่วยความจําสํารอง

ผู้ใช้ต้องเลือกประเภทของแรมให?ตรงข?อกําหนดของเมนบอร?ดว?าให?ใช?กับ RAM Module ประเภทใด โดยมีขนาดความจุให?เลือก ได?แก? 128 Mb, 256 Mb, 256 Mb  512 Mb 1024 Mb และ 2048 Mb

2 หน่วยความจำแบบถาวร (Read Only Memory – ROM)
คือ หน่วยความจำที่นำข้อมูลออกมาใช้งานเพียงอย่างเดียว (Read Only) โดยได้มีการบันทึกข้อมูลไว้ล่วงหน้าแล้ว สามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าในการรักษาข้อมูล แม้เราจะปิดเครื่อง หรือไม่มีไฟฟ้าไปหล่อเลี้ยง ข้อมูลที่อยู่ในรอมก็จะยังคงอยู่ ไม่สูญหายไป ในปัจจุบัน หน่วยความจำถาวรนี้ เปิดโอกาสให้สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลได้ เช่น การปรับปรุง/แก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ (System Configuration) เป็นต้น

หน่วยความจําสํารอง

หน่วยความจำสำรอง

เนื่องจากส่วนความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Main Memory/Primary Storage) ที่ใช้บันทึกข้อมูลในขณะประมวลผลไม่สามารถรักษาข้อมูลไว้ได้หลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การบันทึกข้อมูลลงบนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จึงมีความจำเป็นในอันที่จะรักษาข้อมูลไว้ใช้ในอนาคต และทำให้สามารถนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เคลื่อนย้ายไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบเดียวกันได้อีกด้วย
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง แบ่งออกตามความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้ 2 ประเภท ดังนี้
1.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยลำดับ (Sequential Access Storage)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่ต้องมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลโดยการเรียงลำดับ การสืบค้นหรือเข้าถึงข้อมูลจึงล่าช้า เพราะต้องเป็นไปตามลำดับก่อนหลังของการบันทึก ซึ่งหน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่ เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
2.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Random/Direct Access Storage)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้โดยตรงโดยไม่ต้องอ่านเรียงลำดับ เหมาะกับงานที่ต้องอาศัยการประมวลผลแบบโต้ตอบ ที่ต้องการข้อมูลที่รวดเร็ว ซึ่งได้แก่ จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ซีดีรอม (CD-ROM) และ ดีวีดี (DVD) นั่นเอง

ตัวอย่างหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ได้แก่
– ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
ฟลอปปี้ดิสก์ หรือที่นิยมเรียกว่า ดิสก์เก็ต (Diskette) มีลักษณะเป็นแผ่นแม่เหล็กสีดำทรงกลม ทำจากแผ่นพลาสติกไมล่า เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก บรรจุอยู่ในซองพลาสติกแข็งรูปสี่เหลี่ยม เพื่อป้องกันแผ่นดิสก์เก็ต จากฝุ่นละออง สิ่งสกปรก การขูดขีด และอื่นๆ

– ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลความเร็วสูง ที่ทำจากจานแม่เหล็กซึ่งหมุนด้วยความเร็วหลายพันรอบต่อนาที และมีหัวอ่านคอยวิ่งไปอ่านหรือบันทึกข้อมูลตามคำสั่งจากซีพียู ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์หลักซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแต่ใช้เก็บข้อมูลเวลาที่ปิดเครื่องเท่านั้น แต่ยังเป็นที่พักข้อมูลระหว่างการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ของโปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการด้วย ฮาร์ดดิสก์มีลักษณะเป็นจานแม่เหล็กหลายแผ่นวางซ้อนกัน โดยอาจมีจำนวนแผ่น 3-11 แผ่น ซึ่งจะไม่เรียกว่าดิสก์ แต่จะเรียกว่าแพลตเตอร์ (Platter) แทน ซึ่งแต่ละแพลตเตอร์จะสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน เนื่องจากแพลตเตอร์ผลิตจากสารจำพวกโลหะหรือแก้วบางชนิด จึงไม่สามารถงอไปงอมาได้เหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์ ทำให้ต้องมีโลหะปิดไว้ทุกด้านเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน
นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์ยังมีหัวอ่าน/บันทึกข้อมูลอยู่ภายในตัวเดียวกัน ทำให้สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ด้วยตนเอง และเนื่องจากฮาร์ดดิสก์มีแพลตเตอร์หลายๆ แผ่นซ้อนกันอยู่ ดังนั้นฮาร์ดดิสก์ตัวหนึ่งๆ จะมีหัวอ่านเขียนเท่ากับจำนวนแพลตเตอร์พอดี และหัวอ่านแต่ละหัวจะมีการเคลื่อนที่เข้าออกพร้อมกัน แต่เมื่อจะทำการอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ก็จะมีเพียงหัวอ่าน 1 หัวเท่านั้น ที่จะทำการอ่านหรือบันทึกข้อมูล ฮาร์ดดิสก์สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก แล้วแต่ความจุของแต่ละรุ่น เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 40 GB, 80 GB เป็นต้น

หน่วยความจําสํารอง

– ซีดีรอม (CD-ROM) และ ดีวีดี (DVD)
ซีดีรอม (CD-ROM : Compact Disk Read Only Memory) มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร (4 3/4 นิ้ว) ทำมาจากแผ่นโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) ซีดีรอมนี้ใช้หลักของแสงในการอ่าน/บันทึกข้อมูล เหมาะสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อทำการบันทึกข้อมูลลงไปแล้ว จะไม่สามารถนำกลับมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่ได้อีก ยกเว้นแต่จะใช้แผ่นลักษณะพิเศษที่สามารถลบและบันทึกใหม่ได้ แผ่นซีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 700 MB หรือเก็บข้อมูลที่เป็นภาพและเสียงเช่น ภาพยนตร์หรือเพลงได้นานถึง 74 นาที ส่วนดีวีดี (Digital Video Disk) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองอีกชนิดที่มีลักษณะคล้ายกับแผ่นซีดีรอม แต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าซีดีรอม 7 เท่าตัว (4.7 GB) ซีดีรอมและดีวีดีไม่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง จะต้องมีตัวอ่านข้อมูลเช่นเดียวกับแผ่นดิสก์เก็ต อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอม เรียกว่า ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)  ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่านดีวีดี เรียกว่า ดีวีดี ไดร์ฟ (DVD Drive) โดยที่ดีวีดีไดร์ฟ สามารถอ่านข้อมูลได้ทั้งแผ่นดีวีดี และจากแผ่นซีดีรอมได้ด้วย แต่ซีดีรอมไดร์ฟไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีได้ คุณสมบัติของไดร์ซีดีรอมที่ต้องพิจารณาคือ ความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูล ซึ่งปัจจุบันมีไดร์ซีดีรอมที่มีความเร็วที่ 60x (1x มีอัตราการถ่านโอนข้อมูล 150 kb/sec)

หน่วยความจําสํารองคืออะไร มีอะไรบ้าง

หน่วยความจำรอง.
ซีดีรอม(CD-ROM : Compact Disk-Read-Only Memory) ... .
ซีดีอาร์ (CD-R : Compact Disk Recordable) ... .
ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW : Compact Disk Rewrite) ... .
ดีวีดี (DVD : Digital Video Disk) ... .
บลูเรย์ดิสก์ (Blue Ray Disk).

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง คืออะไร

หน่วยความจําสํารองหรือ Secondary Memory คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลในรูปแบบถาวรที่ User สามารถจะเรียกขึ้นมาใช้งานได้ตามความต้องการ โดยเมื่อได้เปรียบเทียบขนาดของหน่วยความจำรองกับตัวหลักแล้ว จะเห็นถึงความแตกต่างของปริมาณความจำได้อย่างชัดเจน ราคาก็ถูกกว่า แต่ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลและเรียก ...

ข้อใดเป็นหน่วยความจําสํารอง (Secondary Storage)

หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage ) หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคต หรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา ฮาร์ดแวร์ทีทำหน้าที่ในหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเกตต์ ...

หน่วยความจําหลัก มีอะไรบ้าง

หน่วยความจำหลัก.
หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียวหรือรอม (Read Only Memory : Rom) ... .
หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้หรือแรม (Random Access Memory : RAM) เป็น ... .
หน่วยความจำแคช ( Cache Memory) เป็นหน่วยความจำแรมแบบเอสแรมที่เพิ่มความเร็ว ... .
หน่วยความจำวิดีโอแรมหรือวีแรม (Video RAM : VRAM) เป็นหน่วยความจำแรมที่มีพื้น.