Descriptive analytics คืออะไร

สำหรับในการวางแผนใด ๆ ก็ตามสิ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญนั่นก็คือข้อมูล เพราะเป็นสิ่งที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ ที่เคยขึ้นซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการวางแผนเพื่อรับมือ แก้ไขปัญหาหรือคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้ ในการวางแผนการตลาดข้อมูลนั้นจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการตลาดโดยการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นจะมีลำดับขั้นและรูปแบบที่เรียกว่า 4 Types of Data Analytics รูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะช่วยในนักการตลาดสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นลำดับและมีประสิทธิภาพสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

4 Types of Data Analytics คืออะไร

4 Types of Data Analytics คือการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ โดยข้อมูลที่นำมาใช้มีทั้งข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน รวมไปถึงการพยากรณ์ข้อมูลในอนาคต เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ ข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญของธุรกิจ เพราะสามารถใช้สร้างศักยภาพให้กับธุรกิจได้โดยในการวิเคราะห์นั้นจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 รูปแบบนั่นก็คือ

  1. Descriptive analytics วิเคราะห์ให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  2. Diagnostic Analytics วิเคราะห์ต่อให้รู้ว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร
  3. Predictive Analytics แล้วอีกหน่อยจะเกิดอะไรขึ้นได้อีกบ้าง
  4. Prescriptive Analytics ถ้าเราทำแบบนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

จากทั้ง 4 รูปแบบนี้ รูปแบบที่ 1 และ 2 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในปัจจุบันและอดีต ส่วนรูปแบบที่ 3 และ 4 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับในบทความนี้เราจะเน้นพูดถึง Descriptive analytics ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นไปของธุรกิจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง

Descriptive analytics คืออะไร

Descriptive analytics คือ การวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจบ้าง โดยอาจจะแสดงผลเป็น รายงานการขาย สถิติการใช้บริการ ค่าเฉลี่ยหรือการแสดงผลแบบอื่น ๆ โดยในขั้นนี้จะใช้เพื่อหา Signal ว่ามีอะไรที่เกิดขึ้นผิดปกติกับธุรกิจหรือไม่ เช่น ยอดขายในเดือนนี้สูงขึ้นจนผิดปกติ หรือ ลดลงอย่างรวดเร็วจนน่าแปลกใจ ซึ่งเมื่อนักการตลาดได้วิเคราะห์ข้อมูลในส่วนนี้แล้วก็จะนำไปสู่กระบวนการวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อไปว่าเพราะไร ทำไมสิ่งนี้ถึงเกิดขึ้นนั่นก็คือการวิเคราะห์รูปแบบ Diagnostic Analytics นั่นเอง

Descriptive analytics มีประโยชน์อย่างไร

Descriptive analytics ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้สามารถไปสู่กระบวนการวิเคราะห์ในรูปแบบอื่น ๆ ได้ ทำให้นักการตลาดเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ เป็นหนึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะช่วยทำให้ธุรกิจรู้จักและเข้าใจลูกค้า สามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น ผ่านแคมเปญหรือแผนการตลาดที่ถูกออกแบบมากจากการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตนั่นเอง

บทความวันนี้เราจะมาทำเข้าใจความหมายของและประเภทของ Data Analytics กันครับ..

Data Analytics

Data Analytics เนี่ยคือการนำข้อมูลจากหลายๆ Source มาประมวลผลวิเคราะห์ด้วยคณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อให้ได้ insight ช่วยให้เราตัดสินใจและ Action อะไรบางอย่างเพื่อให้ปรับปรุงกระบวนการทำงาน การตลาด การออกแบบสินค้า เพื่อให้ได้ผลการทำธุรกิจที่ดีขึ้น

สาเหตุที่ Data Analytics เป็นส่วนที่สำคัญในการทำธุรกิจในปัจจุบัน คือ การเพิ่มปริมาณของข้อมูลอย่างมหาศาล จากการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาใช้งานออนไลน์มากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดข้อมูลประเภท Unstructured data ที่ไม่ได้มีการจัดเก็บเป็นรูปแบบชัดเจน ประกอบกับการพัฒนาของเทคโนโลยี และราคาของ Analytics Solution ที่สามารถจับต้องได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Big Data, Business Intelligence เหล่านี้มาประกอบกัน ทำให้หลายธุรกิจตื่นตัว และนำ Data ไปใช้ในการบริหารจัดการภายในองค์กรมากขึ้น

โดย Data Analytics นั้นจะแบ่งเป็น 5 ระดับครับได้แก่ Descriptive, Diagnostic, Predictive, Prescriptive, Cognitive & AI

Descriptive Analytic

Descriptive จะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามที่ว่า ที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นบ้าง? เราจะคุ้นเคยกับ Analytics ประเภทนี้ค่อนข้างมาก เป็นการทำ Report เช่น การทำรายงานกำไรขาดทุน รายงานด้านบัญชี เพื่อบอกเราว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?

Diagnostic Analytic

Diagnostic เป็นการหาเหตุผลว่าไอ้ที่มันเกิดขึ้นแบบนี้เพราะอะไร? (Tell me why it happened) ที่กำไรของเราดีขึ้นเนี่ยเป็นเพราะอะไร? เพราะลูกค้าเพิ่มขึ้น หรือว่าเป็นเพราะเราลดต้นทุน? ก็เริ่มมีการนำ Business Intelligence เข้ามาใช้งาน เริ่มใช้ Interactive Dashboard สามารถ Drill-down เพื่อให้มีมุมมองของข้อมูลได้หลากหลายมากขึ้น

Predictive Analytic

Predictive เนี่ยจะเป็นการพยากรณ์ครับ อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตและบอกเหตุผลมาประกอบได้ (Tell me what is likely to happen and Why ?) เช่น การ Predict ว่าลูกค้าจะซื้อสินค้าอะไรเป็นชิ้นต่อไปจากการซื้อสินค้าในอดีตที่ผ่านมา หรือที่เราเรียกว่า Recommendation System

Prescriptive Analytic

Prescriptive เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ใช่แค่พยากรณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่จะช่วยบอกเราว่า เราควรทำอะไรดี (Tell me what should I do?) โดยจะบอกด้วยว่าผลลัพธ์ของแต่ละสิ่งที่แนะนำมานั้นมันเป็นอย่างไร ตัวอย่างการใช้งานใน Level นี้คือการใช้ Google Map ในการนำทางนั่นเองครับ ที่เค้าจะบอกเส้นทางที่สามารถไปถึงจุดหมาย และบอกด้วยว่าเราจะใช้เวลาในการเดินทางในแต่ละตัวเลือกใช้เวลาเท่าไหร่

Cognitive & AI

Cognitive & Artificial Intelligence เป็นการนำ AI เทคโนโลยีมาช่วยเพื่อให้วิเคราะห์และบอกเราได้ว่า เราควรจะทำอะไร สาเหตุ และวิธีการทำ เป็นขั้นสูงสุดของ Analytics Maturity ในปัจจุบัน ตัวอย่างการใช้งานคือการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการสร้าง Self-driving car หรือรถยนต์ไร้คนขับ รวมไปจนถึง Apple Siri, Google Assistant ที่เป็น Companion App ของเรานั่นเองครับ

Analytics Maturity

จาก Analytics Maturity จะเห็นได้ว่า ยิ่งเรานำ Data Analytics ไปพัฒนาใช้ในแต่ละ Level มูลค่าของธุรกิจหรือ Business Value จะยิ่งเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น ตอนนี้เราเข้าใจถึงประเภทของ Data Analytics แล้ว ลำดับต่อไปคือการนำไปประยุกต์ใช้ในแต่ละขั้นตอนของการทำธุรกิจเพื่อให้เกิด Impact และเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจต่อไป

ชอบกด Like ใช่กด Share แย่ติชมด้วยนะครับ

ข้อใดเป็นรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Descriptive

การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้นฐาน (Descriptive analytics) เป็นการวิเคราะห์ เพื่อแสดงผลของรายการทางธุรกิจ เหตุการณ์ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้น หรืออาจกำลัง เกิดขึ้นในลักษณะที่ง่ายต่อการเข้าใจ หรือต่อการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น รายงานการขาย รายงานผล การดำเนินงาน

Prescriptive Analytic มีจุดประสงค์อะไร

ตัดสินใจไปในทางที่ถูกต้อง • การวิเคราะห์แบบพยากรณ์ (Predictive. analytics) เป็นการวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์สิ่งที่ กำาลังจะเกิดขึ้นหรือน่าจะเกิดขึ้น โดยใช้ข้อมูล ที่ได้เกิดขึ้นแล้วกับแบบจำาลองทางสถิติ หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ (Artificial intelligence) ตัวอย่างเช่น การพยากรณ์ยอดขาย

Descriptive Analytic มีจุดประสงค์อย่างไร * * คำตอบของคุณ

Descriptive analytics คือ การพรรณาข้อมูลจากอดีต เพื่อให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในอดีตในรูปแบบที่ง่ายที่สุด และคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น รายงานการขาย และรายงานผลการดำเนินการ เป็นต้น

Analytics คืออะไร

(adj) เกี่ยวกับการวิเคราะห์, See also: ซึ่งใช้การวิเคราะห์, Syn. analytical, systematic. analytics.