จังหวัดใดของประเทศไทย

เว็บไชต์จังหวัด : http://www.prachuapkhirikhan.go.th

สภาพทั่วไป

  1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์
    • จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 323 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 6,367.620 ตร.กม. หรือ ประมาณ 3,979,762 ไร่
    • ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเพชรบุรี
      ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดชุมพร
      ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย
      ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศเมียนม่าร์
  2. แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขต

    จังหวัดใดของประเทศไทย

  3. ลักษณะทางการปกครอง
    จังหวัดประจวบคีรีขันธ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 48 ตำบล และ 427 หมู่บ้าน หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แยกเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 15 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 45 แห่ง
  4. ประชากร
    จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีประชากรรวมทั้งสิ้น488,477 คน รายได้ประชากร 64,278 บาท/ปี/คน
  5. คำขวัญของจังหวัด
    “ เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด สวย สด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ”
  6. สินค้า OTOP
    กล่องที่ระลึก (หัตถกรรมกระดาษใบสับปะรด)
  7. วิสัยทัศน์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    “เป็นเมืองหลวงการผลิตและแปรรูปสับปะรดส่งออก เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเหล็ก
    ที่ได้มาตรฐานเพื่อตอบสนองตลาดภายในของประเทศ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำหรับครอบครัว
    และสุขภาพ”
  8. เป้าประสงค์ของจังหวัด
    1. เพิ่มรายได้จากการผลิตและแปรรูปสับปะรดที่ได้มาตรฐาน ตรงความต้องการของตลาด
    2. ขยายปริมาณการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้มากขึ้น และเพิ่มรายได้จากอุตสาหกรรมเหล็ก
    3. เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
    4. ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำชายฝั่ง

    ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด

    • พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและแปรรูปสับปะรดที่ได้มาตรฐานในการส่งออก
    • การเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพของอุตสาหกรรมหล็กและการค้าระหว่างประเทศ
    • ทำประจวบคีรีขันธ์ให้เหมาะแก่การเป็นเมืองท่องเที่ยวสำหรับครอบครัวและสุขภาพ
    • พัฒนาสภาพแวดล้อมชายฝั่งและสิ่งแวดล้อมเมือง

ยุทธศาสตร์ / กลยุทธ์ของจังหวัด

  1. ปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตและแปรรูปสับปะรดให้ได้มาตรฐาน
  2. ส่งเสริมการตลาดเพื่อการค้าสับปะรดและสับปะรดแปรรูป
  3. สร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กและการค้าระหว่างประเทศ
  4. ส่งเสริมการขยายกำลังการผลิตอุตสาหกรรมเหล็ก
  5. พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้มาตรฐานโลก
  6. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพให้มีความพร้อม เป็นที่รู้จักและสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว
  7. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหานิเวศ
  8. การเร่งการบังคับใช้กฎหมายผังเมือง

เว็บไชต์จังหวัด : http://www.phetchaburi.go.th

สภาพทั่วไป

  1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์
    • จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 120 ก.ม. มีเนื้อที่ประมาณ 6,225.138 ตร.ก.ม. หรือประมาณ 3,890,711 ไร่
    • ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม
      ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
      ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย
      ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศเมียนม่าร์
  2. แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขต

    จังหวัดใดของประเทศไทย

  3. ลักษณะทางการปกครอง
    จังหวัดเพชรบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ 93 ตำบล และ 685 หมู่บ้าน มีหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แยกเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 12 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 69 แห่ง สภาตำบล 13 แห่ง
  4. ประชากร
    จังหวัดเพชรบุรี มีประชากรรวมทั้งสิ้น 461,339 คน รายได้ประชากร 54,573 บาท/ปี/คน
  5. คำขวัญของจังหวัด
    “ ขนมวังคู่บ้าน ขนมหวาน เมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม ”
  6. สินค้า OTOP
    หมวกและกระเป๋าจากป่านศรนารายณ์
  7. วิสัยทัศน์ของจังหวัดเพชรบุรี
    “เพชรบุรีเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตน่าอยู่และน่าเที่ยว เป็นศูนย์ประชุมสัมมนานันทนาการหลากหลายรูปแบบ เป็นแหล่งผลิต ผัก ผลไม้สดปลอดสารพิษ และอุตสาหกรรมที่ไม่ เป็นภัยต่อสภาพแวดล้อม”
  8. เป้าประสงค์ของจังหวัด
    1. ทำให้เพชรบุรีน่าอยู่
    2. ทำให้เพชรบุรีน่าเที่ยว
    3. เพิ่มรายได้จากสินค้าเกษตรปลอดสารพิษทั้งในและต่างประเทศ
    4. เพิ่มสัดส่วนอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

    ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด

    • การทำให้เพชรบุรีสวย สะอาด น่าอยู่
    • การพัฒนาให้เป็นศูนย์ประชุมสัมมนา-นันทนาการหลากหลายรูปแบบ
    • การเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตรปลอดสารพิษเพื่อการส่งออกและเพื่อการบริโภคในประเทศ
    • การส่งเสริมอุตสาหกรรมเบา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ยุทธศาสตร์ / กลยุทธ์ของจังหวัด

  1. วางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เหมาะสม
  2. พัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองและแม่น้ำสายหลัก
  3. พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางเลือกด้านประวัติศาสตร์ ศิลป วัฒนธรรมควบคู่กับการส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มประชุมสัมมนา นันทนาการ และสร้างความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวหลัก
  4. ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว
  5. ควบคุมมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดสารพิษเพื่อการส่งออก
  6. ส่งเสริมการผลิตผัก ผลไม้ปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคในประเทศ
  7. สนับสนุนให้มีนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมสำหรับโรงงานขนาดเล็ก
  8. สนับสนุนให้โรงงานอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด