นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน

บทความงาน > บทความนักศึกษาจบใหม่ > เด็กอาชีวะกับงาน > ปวส. สาขาบัญชี ยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานอยู่หรือไม่

ปวส. สาขาบัญชี ยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานอยู่หรือไม่

  • 11 October 2021

นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน
นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน
นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน
นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน
นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน
นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน
นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน

           น้อง ๆ นักเรียนที่กำลังมองหาข้อมูลเพื่อเลือกเรียนต่อ ปวส. สาขาบัญชี อาจยังลังเลและมีคำถามมากมายว่า สถานการณ์แบบนี้ เราควรต่อ ปวส. สาขาบัญชีดีไหมนะ สาขานี้น่าสนใจอย่างไรบ้าง เรียนจบแล้วหางานได้ง่ายหรือยากมากน้อยแค่ไหน มีตลาดงานรองรับมากน้อยเพียงใด เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ ต้องเรียนจบอะไร มีคุณสมบัติอย่างไรจึงจะเรียน ปวส. สาขาบัญชี ได้ และสาขานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง วันนี้ JobsDB ได้รวบรวมข้อมูลมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกัน

นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน

           สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเรียนต่อสาขาบัญชี ต้องเริ่มต้นจากการวางแผนการเรียนเอาไว้ล่วงหน้าก่อนว่าจะตัดสินใจเลือกเรียนสายสามัญ (เพื่อต่อเข้ามหาวิทยาลัย) หรือเรียนสายอาชีพ (อาชีวศึกษา) เนื่องจากทั้ง 2 สายมีความแตกต่างกัน

           สำหรับคนที่ตัดสินใจได้แล้วว่าจะเรียนสาขาบัญชีสายอาชีพ การจะต่อวุฒิ ปวส. ได้นั้น หลังเรียนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 น้อง ๆ ต้องเข้าเรียน ปวช. สาขาบัญชี 3 ปี เพื่อให้ได้วุฒิเสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะสามารถเข้าเรียนในระดับ ปวส. ได้ เมื่อเรียน ปวส. ครบ 2 ปีแล้ว ก็สามารถเลือกเรียนต่อวุฒิปริญญาตรีอีก 2 ปี หรือจะเรียนต่อเพื่อเพิ่มวุฒิอีกก็ย่อมได้ 

           เนื้อหาที่ ปวส. สาขาบัญชี จะได้เรียนโดยทั่วไป 

  • การทำงบการเงินของสถานประกอบการ  
  • การตรวจสอบทั้งบัญชีภายใน ภายนอก ของสถานประกอบการ 
  • การวิเคราะห์งบการเงิน 
  • การทำบัญชีเกี่ยวกับภาษีอากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 
  • การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์กับงานบัญชี

            ดังนั้น คนที่เรียนจบ ปวส. สาขาบัญชี มาจะมีความรู้ในเรื่องของการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ มีความสามารถในการวิเคราะห์ แปลความหมายของข้อมูลทางบัญชีและการเงิน เพื่อช่วยให้ข้อมูลในการพิจารณาทางเลือกในการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหารได้อย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ เพราะหลักสูตรจะครอบคลุมทั้งเนื้อหาพื้นฐานและความรู้ที่จำเป็นที่ช่วยในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจทั้งวิธีการและแนวทางที่สามารถนำไปใช้ประยุกต์ในโลกการทำงานจริง

           หากสำเร็จการศึกษาเนื้อหาของหลักสูตร ปวส. สาขาบัญชี แล้ว สำหรับใครที่อยากจะต่อวุฒิ ปริญญาตรี อีก 2 ปีในสาขาบัญชี ยังสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อเพื่อเรียนรู้เนื้อหาเหล่านี้ในระดับมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชนได้ เราก็จะได้เรียนรู้เนื้อหาเพิ่มเติมอย่าง 

  • เศรษฐศาสตร์มหภาค
  • เศรษฐศาสตร์จุลภาค
  • การเงินการบัญชี
  • วิธีการทำวิจัยทางสถิติ
  • การลงทุนร่วม
  • การจัดการบัญชีและการตัดสินใจ
  • การวิเคราะห์งบการเงินและบัญชี
  • ข้อกำหนดทางกฎหมาย
  • พฤติกรรมของเศรษฐศาสตร์และการเงิน
  • การเงินขั้นสูง
  • ภาษี

           เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง 

           นักบัญชี เจ้าหน้าที่ทางการเงิน (Accountant)

           หน้าที่หลัก ๆ ของนักบัญชี คือ การจัดการงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำและรวบรวมเอกสารทางบัญชี บันทึกรายการและจัดทำรายงานการเงินและงบการเงินต่าง ๆ วิเคราะห์และร่วมวางแผน ตรวจสอบดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัทหรือองค์กร ดังนั้น แทบทุกองค์กรจึงต้องมีเจ้าหน้าที่การเงิน และการบัญชี เช่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย องค์กรธุรกิจเอกชน รัฐบาล และสถานประกอบการต่าง ๆ รวมไปถึงบริษัทที่รับทำบัญชีให้บริษัทอื่นอีกที

           อัตราเงินเดือน

           จบใหม่: 15,000 – 25,000 บาท

           มีประสบการณ์: 28,000 – 40,000 บาท

           ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี (Tax Specialist) 

           เรียกได้ว่าเป็นที่ปรึกษาด้านภาษี อาชีพนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษากับองค์กรด้านภาษีอากรต่าง ๆ ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษี เช่น การคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง การยื่นแบบรายการทางภาษี การวางแผนภาษีให้หน่วยงานหรือบริษัท เพื่อเสียภาษีที่ถูกต้องและประหยัด และแก้ปัญหาภาษีต่าง ๆ ให้แก่องค์กร ยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ทุกประเภท ซึ่งปัจจุบันอาชีพนี้เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก

           อัตราเงินเดือน

            จบใหม่: 18,000 – 25,000 บาท 

           มีประสบการณ์: 30,000 – 50,000 บาท

           รายได้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ หน้าที่ความรับผิดชอบ และขนาดของบริษัท

           ผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) 

           ผู้ตรวจสอบบัญชีหรือผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor) ทำหน้าที่วางแผน ตรวจสอบการปฏิบัติงานหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร ออกแบบและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานและความต้องการของผู้บริหาร ปรับปรุงแนวทางการจัดเก็บเอกสารให้สอดคล้องกับมาตรฐานการควบคุมภายใน ออกแบบและปรับปรุงผังการทำงาน (Workflow) เพื่อควบคุมติดตามการปฏิบัติงานต่าง ๆ และกำกับดูแลการทำงานให้แก่สถานประกอบการ สถาบัน บริษัท หรือหน่วยงานรัฐบาล การตรวจสอบภายในนี้ยังช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง การควบคุม และกระบวนการกำกับดูแลกิจการอย่างเป็นระบบระเบียบ หากเป็นผู้ตรวจสอบภายในสากล (CIA) จะมีโอกาสก้าวหน้าในวิชาชีพมากยิ่งขึ้น ทำได้ทั้งอาชีพอิสระและทำงานในองค์กรโดยตรง

           อัตราเงินเดือน

           จบใหม่: 20,000 – 28,000 บาท 

           มีประสบการณ์: 30,000 – 60,000 บาท 

           กรณีทำงานอิสระ รายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนบริษัทที่รับงานตรวจสอบภายใน ขนาดของบริษัทและชั่วโมงการทำงาน เฉลี่ยประมาณปีละ 3 ล้าน ถึง 10 ล้านบาท

           ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

           หากน้องคนไหนสนใจอยากทำงานนี้ อาจต้องต่อวุฒิปริญญาตรีก่อน เนื่องจากคุณสมบัติที่เปิดรับคือต้องเรียนจบวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี โดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชี จะมีคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี (กกบ.) เป็นผู้ออกระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์การปฏิบัติงานการตรวจสอบบัญชี เพื่อกำกับควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาต มีหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสาร กระบวนการการจัดทำรายงานการเงินของบริษัทต่าง ๆ เพื่อรวบรวมหลักฐานจากการตรวจสอบที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อการแสดงความเห็นต่อความถูกต้องและครบถ้วนของรายงานการเงินของบริษัท ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นอาชีพอิสระรายได้ดี และเป็นที่ใฝ่ฝันของนักบัญชีหลายคน

           อัตราเงินเดือน

            จบใหม่: 20,000 – 28,000 บาท 

            มีประสบการณ์: 30,000 – 60,000 บาท

            รายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนบริษัทที่รับงานสอบบัญชีและขนาดของบริษัทเฉลี่ยประมาณปีละ 100,000 ถึง 3,000,000 บาท

            ที่ปรึกษาทางบัญชี 

             อาชีพนี้จะรับผิดชอบให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำด้านการบัญชีการเงิน การบัญชีบริหาร อาจรวมถึงการวางแผนการเงินและการวางระบบ ปรับปรุงระบบสารสนเทศทางบัญชีของบริษัท เป็นได้ทั้งอาชีพอิสระและทำงานในองค์กรโดยตรง ซึ่งเป็นอีกสายงานที่มีรายได้สูง เพราะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์

             อัตราเงินเดือน

             จบใหม่: 20,000 – 28,000 บาท 

             มีประสบการณ์: 30,000 – 60,000 บาท

             รายได้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ หน้าที่ความรับผิดชอบ ขนาดของบริษัทและ ชั่วโมงการทำงาน

            ธุรกิจส่วนตัว

            หากเรียนจบด้านพาณิชย์และการบัญชีมา เราสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปประกอบธุรกิจส่วนตัวได้โดยง่าย เพราะมีความเข้าใจในระบบการบริหารจัดการรายได้ต่าง ๆ อย่างดี โดยนักบัญชีที่ผันตัวมาประกอบธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์การทำงานมานานและเก็บเกี่ยวความรู้ ทักษะการทำธุรกิจและการบริหารงานมาแล้วพอสมควร แต่รายได้ก็จะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของธุรกิจ

            คุณครู อาจารย์ หรือติวเตอร์ด้านบัญชี

             นอกเหนือจากการทำงานด้านบัญชีโดยตรงแล้ว นักบัญชียังสามารถใช้วิชาชีพที่มีไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นด้วยการเป็นอาจารย์หรือติวเตอร์ ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันผู้ที่จะเป็นอาจารย์ไม่จำเป็นต้องจบครุศาสตร์เท่านั้น เพียงแค่ใช้วิชาชีพที่จบมาสอนได้ แต่ถ้าน้อง ๆ จบปริญญาตรี ระดับที่สามารถสอนได้คือ ปวช. ปวส. แต่ถ้าอยากเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ต้องเรียนต่อปริญญาโท สาขาบัญชี ก็สามารถกลับมาเป็นอาจารย์เพื่อถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่นักศึกษาได้เช่นกัน

            อัตราเงินเดือน

           จบใหม่: 15,000 – 28,000 บาท 

           มีประสบการณ์: 30,000 – 45,000บาท

           ข้าราชการ

            การเป็นนักบัญชี ผู้อำนวยการบัญชี นักวิเคราะห์และวางแผนการเงิน หรือตำแหน่งอื่น ๆ ในหน่วยงานราชการ อันดับแรก ต้องเริ่มจากเริ่มจากสมัครและสอบเข้า ก.พ. หรือสอบตรง แล้วจึงจะสามารถสมัครเข้าทำงานอีกที ข้อดีของการเป็นพนักงานบัญชีของรัฐนั้นก็คือ ความมั่งคง สวัสดิการดี ดูแลเรื่องการเจ็บป่วยของพ่อแม่และครอบครัว ถ้าอยู่จบเกษียณก็จะมีเงินบำนาญไว้ให้อุ่นใจในบั้นปลายชีวิตนั่นเอง นักบัญชีที่รับราชการ เงินเดือนที่ได้รับจะตามฐานรายได้ของราชการ โดยมีฐานเงินเดือนปัจจุบัน ดังนี้ 

  • ระดับ ปวช. 9,400 บาท/เดือน
  • ระดับ ปวท. และอนุปริญญา หลักสูตร 2 ปี 10,840 บาท/เดือน
  • ระดับ ปวส. และอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี 11,500 บาท/เดือน
  • ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน
  • ระดับปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน
  • ระดับปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน

           ถึงแม้ว่าคู่แข่งในตลาดแรงงานของคนที่เรียนจบ ปวส. สาขาบัญชีจะเป็นคนที่เรียนจบปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็ตาม แต่จุดเด่นและข้อได้เปรียบของ ปวส. สาขาบัญชี ที่มีเหนือกว่าคือเรื่องของประสบการณ์จากการเรียนและทำงานไปด้วย เนื่องจากนักเรียนสายอาชีพทุกคนจะได้ทำงานจริง หยิบจับอุปกรณ์จริง และได้สร้างผลงานเป็นของตนเอง รวมถึงยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานโดยไม่ต้องรอฝึกงานจากการต่อมหาวิทยาลัย เมื่อต้องการจะสมัครงาน บริษัทส่วนใหญ่มักจะต้องการคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว หรือระบุเลยว่าต้องจบมาในวุฒิ ปวช./ปวส. อยู่ในคุณสมบัติของผู้สมัคร ทำให้คนที่จบ ปวส. สาขาบัญชี มามีงานรองรับ และยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานแน่นอน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เส้นทางสู่การขอขึ้นทะเบียนการเป็นนักทำบัญชี
วางแผนภาษีอย่างไรให้ได้เงินคืน

Accountant  การค้นหางาน  งานบัญชี  งานภาษี  อัตราเงินเดือน

บทความยอดนิยม

Can Be Term Paper Writing Services worth the Price?

Students have many choices available to them when they’re...

นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน

10 เช็คลิสต์เคลียร์งานก่อนหยุดยาว

ช่วงปลายปีถือเป็นถือช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทุกคนรอคอยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ที่ถือเป็นเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤ...

นักวิเคราะห์บัญชี เงินเดือน

ตำแหน่ง Data Engineer คืออะไร? ต้องทำอะไรบ้าง

ยุคที่สายงานด้าน Tech เติบโตอย่างรุ่งเรืองแบบก้าวกระโดด จะเห็นได้ว่ามีชื่อตำแหน่งงานใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเกิด...