สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ทํางานอะไร

- คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบเข้าระดับปริญญาตรีมีอะไรบ้าง
- ภาควิชาภูมิศาสตร์เปิดรับสมัครนิสิตระดับปริญญาตรีผ่านโครงการจุฬา-ชนบทหรือไม่
- เมื่อสอบผ่านการคัดเลือกเข้ามาในสาขาภูมิศาสตร์แล้ว นิสิตจะสามารถเปลี่ยนไปเข้าสังกัดสาขาวิชาอื่นของคณะในภายหลังได้หรือไม่
- คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบเข้าระดับปริญญาโทมีอะไรบ้าง
- สถานที่ตั้งของภาควิชาภูมิศาสตร์อยู่ที่ไหน
- ภาควิชาภูมิศาสตร์มีอุปกรณ์การเรียนการสอนอะไรบ้าง
- จุดเด่นของนิสิตคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คืออะไร
- เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบเข้าระดับปริญญาตรีมีอะไรบ้าง
- ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
- สำหรับคุณสมบัติอื่นๆให้เป็นไปตามระเบียบของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการประจำภาควิชาฯพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิเข้าสมัครศึกษาได้
กลับสู่ด้านบน

ภาควิชาภูมิศาสตร์เปิดรับสมัครนิสิตระดับปริญญาตรีผ่านโครงการจุฬา-ชนบทหรือไม่
ภาควิชาฯเปิดรับสมัครนิสิตในโครงการจุฬา-ชนบท จำนวน 3 คนต่อปีการศึกษา สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คณะอักษรศาสตร์
กลับสู่ด้านบน

เมื่อสอบผ่านการคัดเลือกเข้ามาในสาขาภูมิศาสตร์แล้ว นิสิตจะสามารถเปลี่ยนไปสังกัดสาขาวิชาอื่นๆในคณะภายหลังได้หรือไม่
ไม่ได้ ทั้งนี้หากนิสิตต้องการเปลี่ยนสาขาวิชาเอกในภายหลัง นิสิตจำเป็นจะต้องสอบคัดเลือกผ่านระบบกลาง (Admissions) หรือระบบรับตรงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใหม่อีกครั้งในปีถัดไป
กลับสู่ด้านบน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบเข้าระดับปริญญาโทมีอะไรบ้าง
- ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต หรือเทียบเท่า
- สำหรับคุณสมบัติอื่นๆให้เป็นไปตามระเบียบของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการประจำภาควิชาฯพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิเข้าสมัครศึกษาได้
กลับสู่ด้านบน

สถานที่ตั้งของภาควิชาภูมิศาสตร์อยู่ที่ไหน
ภาควิชาฯมีีที่ทำการอยู่ที่ชั้น 8 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยสำนักงานของภาควิชาฯและห้องทำงานของอาจารย์ นอกจากนี้ยังมีห้องปฏิบัติการแผนที่ 1 ห้องและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง ตั้งอยู่ที่อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ อีกด้วย
กลับสู่ด้านบน

ภาควิชาภูมิศาสตร์มีอุปกรณ์การเรียนการสอนอะไรบ้าง
อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ใช้ในห้องปฏิบัติการแผนที่ประกอบด้วย โต๊ะแสง แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ กล้องระดับพร้อมไม้เล็ง กล้องสเตริโอสโคป และเครื่องจีพีเอส สำหรับห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ได้ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนทางด้าน Statistics Cartography GIS GPS และ Remote Sensing ไว้ด้วย
กลับสู่ด้านบน

จุดเด่นของนิสิตคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คืออะไร
เนื่องจากภาควิชาภูมิศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของคณะอักษรศาสตร์ การเรียนการสอนในช่วงสองปีแรกจะเน้นเนื้อหาด้านประวัติศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะทั้งในแง่การเขียนและการวิเคราะห์ ในขณะที่ช่วงสองปีหลังจะเน้นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นด้านภูมิศาสตร์ ดังนั้นบัณฑิตที่จบการศึกษาออกไปจึงมีจุดเด่นทั้งด้านการใช้ภาษาและมีความรู้ทางภูมิศาสตร์เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องได้
กลับสู่ด้านบน

เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง
บัณทิตที่สำเร็จการศึกษาในสาขาภูมิศาสตร์สามารถประกอบอาชีพในองค์กรภาครัฐและเอกชน อาทิ นักภูมิศาสตร์ นักภูมิสารสนเทศ นักวางแผนและพัฒนาเมือง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านสำรวจและวิเคราะห์พื้นที่ งานทำแผนที่ งานแปลและวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม/ภาพถ่ายทางอากาศ นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ในองค์กรพัฒนาชุมชนและธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นต้น
กลับสู่ด้านบน

       สามารถทำงานได้ทั้งในองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน ซึ่งนักเรียนในสาขานี้ส่วนมากแล้ว เมื่อเรียนจบก็มักจะไปสอนหรือทำวิจัยในสาขาที่ถนัดต่อไป   นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการทำงานในด้านอื่นๆเช่นกัน เช่น ปิโตรเลียม, วิศวกรรม, การสำรวจ, การจัดการน้ำ, สุขภาพและความปลอดภัย เป็นต้น

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)

ชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย:  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ)
     ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Science Program in Geography and Geoinformatics

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):  วิทยาศาสตรบัณฑิต (ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย):  วท.บ. (ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ):  Bachelor of Science (Geography and Geoinformatics)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):  B.Sc. (Geography and Geoinformatics)

วิชาเอกของหลักสูตร/แขนงวิชา 
     ไม่มี

จุดเด่นของหลักสูตร
     ผลิตบัณฑิตที่สามารถนำความรู้ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการสร้างองค์ความรู้ การทำวิจัย เพื่อการพัฒนาและการบริหารจัดการพื้นที่

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักภูมิศาสตร์
  • นักภูมิสารสนเทศ
  • นักพัฒนาโปรแกรมภูมิสารสนเทศ
  • เจ้าหน้าที่แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ
  • รับราชการในหน่วยงานภาครัฐ  อาทิเช่น  กรมพัฒนาที่ดิน   กรมชลประทาน   กรมที่ดิน   กรมอุทยานแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานสิ่งแวดล้อม กรมแผนที่ทหาร กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรธรณี กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สทอภ กรมการผังเมือง เป็นต้น
  • พนักงานในบริษัทเอกชน และบริษัทที่ปรึกษา ด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ