การ เขียน รายงาน โครง งาน วิทยาศาสตร์ 13 ขั้น ตอน

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

การ เขียน รายงาน โครง งาน วิทยาศาสตร์ 13 ขั้น ตอน

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ คือ การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  เป็นการเสนอ      ผลงานการดำเนินการเป็นเอกสาร จัดว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของโครงงาน  เมื่อนักเรียน      ดำเนินการทำโครงงานจนครบ ขั้นตอนได้ข้อมูล  ทำการวิเคราะห์ข้อมูล  พร้อมทั้งแปรผล  และสรุป        ผลแล้ว  งานขั้นต่อไปที่ต้องทำคือการเขียนรายงาน

ขั้นตอนการเขียนรายงาน มีดังต่อไปนี้ คือ

1. ชื่อโครงงาน

การ เขียน รายงาน โครง งาน วิทยาศาสตร์ 13 ขั้น ตอน

2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน

3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

4. บทคัดย่อ

5. กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)

6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน

8. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)

9. ขอบเขตของการทำโครงงาน

10.วิธีดำเนินการ

11.ผลการศึกษาค้นคว้า

12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ

13. เอกสารอ้างอิง

1. ชื่อโครงงาน

ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และควรกำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย การตั้งชื่อโครงงานของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นิยมตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง

2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน

การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใครและสามารถติดตามได้ที่ใด 

3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

การเขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้ให้คำแนะนำการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จนบรรลุเป้าหมาย

4. บทคัดย่อ

อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้

ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อประมาณ 300-350 คำ

5.  กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)

ส่วนใหญ่โครงงานวิทยาศาสตร์มักจะเป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย

ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ  จึงควรได้กล่าวขอบคุณบุคลากร

6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ในการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา 

- แนวทางตั้งสมมติฐานของเรื่องที่ศึกษา

- แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมูล

- ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้แล

7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน

วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน

8. สมมติฐานของการศึกษา

สมมติฐานของการศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงาน   ต้องให้ความสำคัญ เพราะจะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ 

9. ขอบเขตของการทำโครงงาน

ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตการทำโครงงาน เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ การกำหนดประชากร

1. การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ การกำหนดประชากรที่ศึกษาอาจเป็นคนหรือสัตว์หรือพืช ชื่อใด กลุ่มใด ประเภทใด อยู่ที่ไหน เมื่อเวลาใด 

2. ตัวแปรที่ศึกษา การศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่วนมากมักเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป 

10. วิธีดำเนินการ

การ เขียน รายงาน โครง งาน วิทยาศาสตร์ 13 ขั้น ตอน
      วิธีดำเนินการ หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำ โครงงาน ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ 
ซึ่งประกอบด้วย

       1. การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา

       2. การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล

       3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

       4. การวิเคราะห์ข้อมูล

11. ผลการศึกษาค้นคว้า

         นำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย 

12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ

        อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐาน ควรระบุด้วยว่าข้อมูล 

ที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมติฐานที่ตั้งไว้  หรือยังสรุปไม่ได้    อกจากนี้ยังควรกล่าวถึงการนำผล

การทดลองไปใช้ประโยชน์

 13. เอกสารอ้างอิง

        เอกสารอ้างอิง คือ รายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงาน      วิทยาศาสตร์  ตลอดจนการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรเขียนตามหลักการ 

ขอขอบคุณเว็ป http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~cpornth2/Web_SciProject/a11.htm