ใบงาน เรื่อง ยาเสพติด ป. 5

นโยบายความเป็นส่วนตัว | เงื่อนไขข้อตกลงการใช้บริการ

เลขที่ 5 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 02-247-0901-19 โทรสาร 02-246-8526, 02-247-7217

HOME | Contact us: | ONCB Website Version 4. ปรับปรุงเมื่อ 01/04/2557

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม © Copyrights 2013 http://www.oncb.go.th

Recommended basic browser : IE8 up, Mozilla Firefox 30.0, Google Chrome 35.0

   

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติด

    ปัจจัยที่ทำให้คนเสพสารเสพติดมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุดังนี้

        ครอบครัว

    ปัญหาครอบครัว เช่น พ่อแม่ทะเลาะกัน พ่อแม่ไม่มีเวลา พ่อแม่เสพสารเสพติดทำให้ลูกติดสารเสพติดได้ง่าย

        เพื่อน

    บางคนทดลองเสพสารเสพติดตามเพื่อน บางคนกลัวเพื่อนไม่ให้เข้ากลุ่ม

        สื่อ

    สื่อแสดงการเสพสารเสพติด จึงทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ

        สังคม

    สภาพสังคมที่มีแหล่งเสื่อมโทรมและคนในสังคมขาดการมีส่วนร่วม การช่วยเหลือ การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบีบยอาจทำให้คนในชุมชนติดสารเสพติดได้

        ปัญหาสุขภาพ

    บางคนเจ็บป่วยเรื้อรังและมีการใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้ติดยาได้

        ค่านิยม ความเชื่อ

    ค่านิยม หรือความเชื่อว่าการเสพสารเสพติดเป็นสิ่งที่เท่ห์ เก่ง และทันสมัย ทำให้คนติดสารเสพติด

    2. ผลกระทบของการใช้สารเสพติด

    การเสพสารเสพติดมีผลกระทบในหลายด้าน ดังนี้

        ด้านร่างกาย

    -ทำลายสุขภาพทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม

    -ไร้ความสามารถในการทำงาน

    -เกิดโรคและเจ็บป่วยได้ง่าย

    -ประสบอุบัติเหตุได้ง่าย

    -ทำให้เสียชีวิต

        ด้านจิตใจ

    -ทำให้เกิดความเครียด

    -ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนวย

    -จิตใจหดหู่ เศร้าหมอง

        ด้านสังคม

    -สิ้นเปลืองงบในการดูแลรักษา

    -ขาดแคลนแรงงานในการพัฒนาประเทศ

    -เกิดปัญหาอาชญากรรม

        ด้านสติปัญญา

    -ดำเนินชิวตต่อไปไม่ได้ตามปกติ

    -ความจำเสื่อมลง

    3. การหลีกเลียงสารเสพติด

    สารเสพติดมีอันตรายมาก ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงสารเสพติดโดยการปฏิบัติ ดังนี้

        1. ไม่ทดลองใช้สารเสพติดทุกชนิด ถ้ามีผู้ชักชวนต้องรีบปฏิเสธทันที

        2. ไม่คบกับผู้ที่เสพสารเสพติดหรืออยู่ใกล้ผู้ที่เสพสารเสพติด

        3. ถ้ามีปัญหาควรขอคำปรึกษาจากพ่อ แม่ หรือครู หรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้

        4. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดอยู่เสมอ

        5. ใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกับเพื่อนๆ เช่น ออกกำลังกาย เล่นดนตรี อ่านหนังสือ

        6. เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านสารเสพติด เช่น สมัครเป็นสมาชิกโครงการทูบีนัมเบอร์วัน

        7. ถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับสารเสพติดควรแจ้งผู้ใหญ่หรือตำรวจทันที