ใบงานที่ 7 เรื่อง การ สรุป หลักการ พูด แสดงความรู้ และ ความคิดเห็น จากเรื่องที่ฟังและดู

1.หลักเบื้องต้นของการฟังและการดู
1.1ความหมายของการฟังและการดู
การฟังและการดู หมายถึง การที่มนุษย์รับรู้เรื่องราวต่างๆ จากแหล่งของเสียง
หรือภาพ หรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นการฟังจากผู้พูดโดยตรงหรือฟังและดูผ่านอุปกรณ์ หรือ
สิ่งต่างๆ แล้วเกิดการรับรู้แล้วนาไปใช้ประโยชน์ได้ โดยต้องศึกษาจนเกิดความถูกต้องว่องไว
ได้ ประสิทธิภาพ
1.2 หลักการฟังและการดูที่ดี
1) ต้องรู้จุดมุ่งหมายของการฟังและการดูและต้องจดบันทึกเพื่อเตือนความจำ
2) ต้องฟังและดูโดยปราศจากอคติ เพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์ที่ตรงประเด็น
3) ให้ความร่วมมือในการฟังและการดู ด้วยการร่วมกิจกรรม
2. จุดมุ่งหมายของการฟังและการดู
2.1 ฟังและดูเพื่อความรู้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางวิชาการเพื่อพัฒนาสติปัญญาของตน
2.2ฟังและดูเพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่ การฟังเพลง ฟังดนตรี ดูภาพยนตร์
ดูภาพสวยงาม ฟังนิทาน เป็นต้น
2.3 ฟังและดูเพื่อความซาบซึ้งต้องมีพื้นฐานในเรื่องที่ฟังและดู จึงจะเกิดประโยชน์
เช่น ฟังบทกลอน กวีนิพนธ์ ดูภาพนามธรรมต่างๆ
3. การฟังและดูเพื่อวิเคราะห์เรื่องจากสาร
เป็นทักษะต่อจากการฟังและดู แล้วสรุปและจับใจความสำคัญ แล้ววิเคราะห์ว่า
สิ่งใดเป็นข้อเท็จจริง สิ่งใดเป็นข้อคิดเห็น สิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งใดเป็นผล เพื่อจะใช้ข้อมูลใน
การประเมินค่าและการตัดสินใจ

จุดมุ่งหมายในการฟังและดู
การฟังและการดูเป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยอาจได้รับสารจากบุคคลหรือจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สื่อเหล่านี้อาจรับสารด้วยวิธีการฟังหรือการดูในลักษณะตอบโต้หรือสื่อสารทาง เดียวก็ได้ จุดมุ่งหมายของการฟังและการดูมีดังนี้

1. เพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เป็นการฟังและการดูที่ต้องใช้สติปัญญาและวิจารณญาณ ตลอดจนทักษะในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างฉับไว
2. เพื่อความเพลิดเพลิน เป็นการฟังและดูเพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลาย และคล้อยตามไปกับเรื่องที่ฟังและดู เช่น ฟังและดูดนตรี นิยาย ละคร บทร้อยกรอง โดยผู้ฟังและดูควรมีความรู้ในเรื่องที่ฟังและดูพอสมควร
3. เพื่อรับความรู้ เป็นทักษะที่ผู้รับสารใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน เช่น ฟังคำอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ ฟังครูอธิบาย ผู้ฟังต้องฝึกทักษะการจับใจความ และฝึกการบันทึกช่วยจำ
4. เพื่อได้คติชีวิตและความจรรโลงใจ เป็นการฟังเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ เพื่อกลั่นกรองความรู้ ความคิดเหล่านั้นมาเป็นองค์ความรู้ เพื่อเป็นความคิดและประสบการณ์ของตนเอง เพื่อให้เกิดคุณค่าในชีวิต

การฟังและการดูที่มีการตั้งจุดมุ่งหมายไว้เบื้องต้น จะทำให้ผู้รับสารพุ่งจุดสนใจจากที่ได้รับได้ดียิ่งขึ้น และส่งผลให้ผู้รับสารมีสรรถภาพในการฟัง การดู เพิ่มมากขึ้น


(อ้างอิง : https://www.youtube.com/watch?v=HPO9mnr5kCU)

การจับใจความการสรุปประเด็น

การจับใจความ
การจับใจความสำคัญ เป็นการอ่าน/ฟังเพื่อให้ทราบว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และผลเป็นอย่างไร เเล้วจดบันทึกใจความสำคัญนั้นไว้
หลักการจับใจความสำคัญ มีวิธีปฏิบัติดังนี้
1. ตั้งใจอ่าน/ฟังเรื่อง
2. คิดตั้งคำถาม และตอบคำถามจากเรื่อง ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ผลเป็นอย่างไร และให้ข้อคิดอย่างไร แล้วเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง
3. เขียนเรียบเรียงสรุปใจความสำคัญของเรื่องด้วยสำนวนภาษาของตนเอง
4. อ่านทบทวน เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย และความถูกต้อง
การสรุปประเด็น
ประเด็นคือ สาระสำคัญ ใจความสำคัญ แก่นของเรื่อง ดังนั้นเราจึงต้องฝึกทักษะในการจับประเด็นเพราะเราต้องสื่อสารและรับสารจากผู้อื่น

การจับประเด็นจะต้องปฏิบัติดังนี้
1. การหาสาระของเรื่อง
2. การจับใจความสำคัญของเรื่อง
3. การสรุปใจความสำคัญของเรื่อง
4. การจับหลักคิด/แนวคิดของเรื่อง
จากนั้นหยิบเอาความคิดหลักหรือประเด็นสำคัญมากล่าวย้ำให้เด่นชัด โดยใช้ประโยคสั้นๆ เรียบเรียงให้เป็นระเบียบ
สิ่งที่เราได้จากการฝึกทักษะจับประเด็น คือ ทำให้เราได้ฝึกหัดตั้งคำถามตนเองทุกครั้งที่อ่านหนังสือหรือฟังเรื่องราวต่างๆ ว่า
* อะไร คือ ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้
* หัวใจของเรื่อง อยู่ที่ไหน
* คนเขียน/คนพูดเรื่องนี้ ต้องการบอกอะไรกับเรา
* สาระสำคัญของเรื่อง อยู่ที่ไหน

การใช้เทคนิค 5W1H ในการวิเคราะห์ปัญหา หรือจับใจความการสรุปประเด็น
การใช้เทคนิค 5W1H จะใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมุติฐานมีรายละเอียดดังนี้
ปัญหาคืออะไร หรือ อะไรคือปัญหา
Who ใคร (ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง)
What ทำอะไร (แต่ละคนทำอะไรบ้าง)
Where ที่ไหน (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน)
When เมื่อไหร่ (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด)
Why ทำไม (เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ)
How อย่างไร (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเป็นอย่างไรบ้าง)

มารยาทในการฟัง
ใบงานที่ 7 เรื่อง การ สรุป หลักการ พูด แสดงความรู้ และ ความคิดเห็น จากเรื่องที่ฟังและดู

มารยาทในการฟังที่ดี มีดังนี้
1.ฟังด้ายความสงบ
2.ฟังด้วยความตั้งใจ
3.ปรบมือเมื่อชอบใจ
4.มองหน้าผู้พูด
5.เมือมีขอสงสัยควรถาม เมื่อผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม ไม่ควรถามแทรกขณะที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่
6.ไม่สงเสียงรบกานผู้อื่น
7.ไม่ควรแสดงท่าทางไม่พอใจเมื่อไม่ชอบใจ
8.ตั้งใจฟังตังแต่ต้นจนจบ
9.ไม่ควรแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม เช่น โฮร้อง
10.ไม่ควรเดินเข้าเดินออกขณะที่ผู้พูดกำลังพูดหากมีความจำเป็นควรทำความเข้ารพก่อน

มารยาทในการดู
มารยาทในการดู มีดังนี้
1.ดูอย่างสงบเรียบร้อยไม่สงเสียงดังรบกวนผู้อื่น
2.ดูอย่างตังใจ
3.ไม่คุยหรือเล่นในขณะที่ดู ไม่สงเสียงดังรบกวนผู้อื่น
4.ปรมมือเมื่อจบการแสดง
5.ไปถึงสถานที่ที่มีการแสดงก่อนเวลา ประมาณ ๑๕ นาที่
6.ไม่นำอาหาร-เครื่องดื่มเข้ไปในงาน
7.ไม่ลุกเดินไปมา