ใบงานที่ 1.2 เรื่อง การรับ รู้ จากระยะไกล เฉลย

หน่วยการเรียนรู้ที่๒ ปรากฎการณ์ทางภูมิศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5                                         เวลาเรียน  4  ชั่วโมง

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559

1.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

       ส 5.1   ม.4-6/1   ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ

                             อย่างมีประสิทธิภาพ

2.สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

       เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีความสำคัญต่อการให้ข้อมูล และข่าวสารภูมิลักษณ์ ภูมิอากาศ และภูมิสังคมไทย และภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก

3.สาระการเรียนรู้

 3.1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

  3.2 ภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์

4.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

       4.1   ความสามารถในการสื่อสาร

       4.2   ความสามารถในการคิด

       4.3   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต                    

5.คุณลักษณะอันพึงประสงค์                                        

       1.     มีวินัย                                                     

       2.  ใฝ่เรียนรู้

       3.     มุ่งมั่นในการทำงาน

6.ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

    ป้ายนิเทศ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์

7.การวัดและการประเมินผล

7.1    การประเมินก่อนเรียน

       -    แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และ

            ภูมิสารสนเทศศาสตร์

          7.2     การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

              1) ใบงานที่ 1.1   เรื่อง  เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

              2)  ใบงานที่ 1.2   เรื่อง  การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สืบค้นข้อมูลภูมิอากาศ

              3)  ใบงานที่ 2.1   เรื่อง  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

              4)  ใบงานที่ 2.2   เรื่อง  วิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

              5)  ประเมินการนำเสนอผลงาน

              6)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

       7.3   การประเมินหลังเรียน

       -    แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และ

            ภูมิสารสนเทศศาสตร์

       7.4   การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

       -    ประเมินป้ายนิเทศ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์

8.กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1-2 (วิธีสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์)

           1.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์

2.  ครูสนทนาทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทต่าง ๆ และ

วิธีการใช้เครื่องมือแต่ละประเภท

3.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน ตามความสมัครใจให้แต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลความรู้เรื่อง เครื่องมือ

ทางภูมิศาสตร์ จากหนังสือเรียน หรือหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม หรือแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ตามความเหมาะสม ในหัวข้อต่อไปนี้

    1)   แผนที่

         - ความหมายของแผนที่                      - ชนิดของแผนที่

       -  องค์ประกอบของแผนที่                    - การอ่านแผนที่

       -  ประโยชน์ของแผนที่

     2)     ลูกโลกจำลอง

       -  รูปทรงของโลก                             - ข้อมูลที่แสดงบนลูกโลกจำลอง

    3)   รูปถ่ายทางอากาศ

       -  ประเภทของรูปถ่ายทางอากาศ               - หลักการแปลความหมายจากรูปถ่ายทางอากาศ

       -  ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศ

   4)    ภาพจากดาวเทียม

       -  ชนิดของดาวเทียม                            - การแปลความหมายจากภาพถ่ายดาวเทียม

       -  ประโยชน์ของข้อมูลจากดาวเทียม

4.   นักเรียนแต่ละกลุ่มนำความรู้ที่ได้ศึกษามาร่วมกันตอบคำถามในใบงานที่ 1.1 เรื่อง เครื่องมือ

ทางภูมิศาสตร์

5.      ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 1.1 แล้วร่วมกันสรุปสาระสำคัญ

เรื่อง เครื่องมือ ทางภูมิศาสตร์

6.      นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์คุณค่า และความสำคัญของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อ

การดำเนินชีวิต ของมนุษย์

7.      ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภูมิอากาศในประเทศไทย

หรือภูมิภาคต่างๆ ในโลก ในช่วงเวลา 1 เดือนนี้ โดยใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ตามความ

เหมาะสม

       8.   นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกและตัดสินใจใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มาประกอบการสืบค้นข้อมูล

       9.   สมาชิกแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภูมิอากาศในประเทศไทย หรือภูมิภาคต่างๆ

ในโลก แล้วนำเสนอตามหัวข้อที่กำหนดในใบงานที่ 1.2 เรื่อง การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สืบค้นข้อมูลภูมิอากาศ

       10. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานจากการสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อในใบงาน

ที่ 1.2 ที่หน้าชั้นเรียนโดยให้นักเรียนกลุ่มผู้ฟังช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ครูเป็นผู้ตรวจสอบ

ความถูกต้อง

ชั่วโมงที่ 3-4  (วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม) 

11. ครูนำข่าวเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลที่มีการสนับสนุนประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บางพื้นที่ที่สามารถปลูกยางพาราได้ จากการใช้ข้อมูลสารสนเทศทำให้รู้ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพ

ภูมิอากาศและดินเหมาะสมกับการปลูกยางพารา จากนั้นครูให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างการนำ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในหน่วยงานต่างๆ

       12. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์

แล้วครูอธิบายความรู้เกี่ยวกับภูมิสารสนเทศศาสตร์ ให้นักเรียนฟังในหัวข้อต่อไปนี้

            1)     ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

            2)     การรับรู้จากระยะไกล

            3)     ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

       13. นักเรียนแต่ละกลุ่ม (กลุ่มเดิมจากกิจกรรมที่ 1) ศึกษาความรู้เรื่อง ภูมิสารสนเทศศาสตร์ จากหนังสือ

            เรียน หรือหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม ตามความเหมาะสม

        14. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เสร็จแล้วนักเรียน

และครูช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 2.1

        15. ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น

ในบริเวณต่างๆ ของโลกในรอบเดือน แล้วนำมาตอบคำถามตามหัวข้อที่กำหนดในใบงานที่ 2.2 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลทางภิมิศาสตร์