ใบงานที่1.1เรื่อง

ใบงานที่ 1.1

ใบงานที่ 1.1 ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทเบื้องต้น 

ให้นักเรียนตอบคำถามดังต่อไปนี้ 

1.  บทละคร คือ 

 บทละคร คือ บทประพันธ์ที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นพาหะในการนำเสนอเรื่องราว ความคิดของผู้ประพันธ์ต่อผู้ชมในรูปแบบของการแสดง บทละครมิได้เขียนขึ้นสำหรับแสดงให้คนดู บทละครมิใช่ละคร แต่เป็นเพียงองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของละคร

2.  ให้บอกข้อคำนึงการเขียนบท  

  1.  แนวคิดหลัก (Idea & Main Idea) เป็นเสมือน โครงหรือแก่นของเรื่องนั้นๆ ผู้เขียนบทจะต้องจับ หรือดึงเอาข้อมูลหรือเนื้อหาบางอย่างมาเป็นแกนของเรื่องให้ได้ 

               2. การเลือกเรื่องผู้เขียนและผู้จัดรายการบทความต้องพิจารณาว่า บทความควรจะเป็นเรื่องอะไร ที่ส่วนใหญ่สนใจ เหตุผลที่จะเขียนเรื่องนั้น ตั้งประเด็นให้แน่นอนลงไปว่าจะเขียนเพื่อจุดประสงค์อะไร สนับสนุนหรือคัดค้านอะไร หรือเพียงแต่ให้ข้อเท็จจริงแล้วเขียนให้อยู่ในประเด็น  

             3. การศึกษาค้นคว้า เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้วผู้เขียนบทต้องศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระต่างๆ มาวิเคราะห์แยกย่อยหัวเรื่องประเด็น กำหนดขอบเขตเนื้อหา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของบทจะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าบทนั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม โดยซักถามจากนักวิชาการที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ค้นคว้าจากห้องสมุดหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ที่จัดเก็บเอาไว้ เสร็จแล้วก็ลำดับเรื่องก่อนหลังตามความส าคัญของเหตุการณ์หรือเวลา   

                4.  การจัดลำดับข้อมูลหรือเนื้อหา การจัดทำลำดับเนื้อหา เรื่องราวของบทเรียน เป็นการนำกรอบเนื้อหา ที่แบ่งออกเป็นเฟรมๆ ตั้งแต่เฟรมแรกจนถึงเฟรมสุดท้าย นำมาลำดับเรื่องก่อนหลังตามความสำคัญของเหตุการณ์หรือเวลา การจัดลำดับเนื้อหาต้อง เข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน วกวน หรือยืดยาว ประโยคแต่ละประโยคควรมีแนวความคิดเดียว เป็นประโยคสั้นๆ ที่มีความหมายจบในประโยคนั้น แต่เพื่อความน่าฟังควรจะสลับกับประโยคยาวบ้าง ตามแต่ความสำคัญของใจความ  

                5. ความยาว สิ่งที่จำเป็นอีกประการหนึ่งสำหรับผู้เขียนบท ก็คือต้องทราบว่าเวลาสำหรับนำเสนอรายการนั้นมีระยะเวลาเท่าไร ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเข้าใจถ่องแท้ เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของสื่อ ที่เกี่ยวกับเวลาด้วยแล้วจึงกำหนดรูปแบบของรายการ 

            6.  การวางเค้าโครงเรื่องมีจุดประสงค์เพื่อให้งานชิ้นที่เขียนมีจุดหมายที่แน่นอนไม่วกเวียนออกนอกเรื่อง ทำให้วางแนวในการเขียนได้ถูกต้องและทำให้เขียนบทความตามที่ต้องการได้เร็วขึ้น และกำหนดบทนำ ตัวเรื่องและการจบให้มี

หลักเกณฑ์ที่ดี 

3.  หลักการเขียนบทมีอะไรบ้าง 

1. โครงเรื่อง ต้องมีลักษณะกะทัดรัด ไม่ยืดยาว ดำเนินเรื่องฉับไว ลักษณะของโครงเรื่องขึ้นอยู่กับชนิดของเรื่อง แต่เรื่องสั้นที่สร้างความประทับใจผู้อ่านมักเป็นเรื่องสั้นชนิดผูกเรื่องโดยหักมุมจบให้ผู้อ่านคาดไม่ถึง

                2. ตัวละคร ไม่ควรมีหลายตัว ต้องมีลักษณะสมจริง สะท้อนชีวิตหรือเป็นตัวแทนของบุคคลจริง  

                3. ฉากต้องสมจริง ให้ภาพจินตนาการชัดเจน น่าสนใจ 

                4. ถ้อยคำหรือบทสนทนา สมจริง ใช้ภาษาประณีต คมคาย ชวนติดตาม 

4.  ให้อธิบายขั้นตอนการเขียนบท 

1. ก าหนดวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย สิ่งแรกที่ควรคำนึงก่อนลงมือเขียน คือวัตถุประสงค์ของการเขียน เขียนไปเพื่ออะไร ต้องการให้อะไรกับผู้ชมเช่น ความคิดความรู้ ความบันเทิง เปลี่ยนเจตคติ สร้างค่านิยมที่ดี ปลูกฝังความสำนึกที่ดีงามหรือให้เกิดทักษะ ความชำนิช านาญในด้านใด เสร็จแล้วต้องวิเคราะห์ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายนั่นก็คือเขียนเพื่อใคร 

การศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจและคุณลักษณะอื่นๆ เช่นไร มีการก าหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก (target group) 

เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถเลือกใช้สื่อได้ตรงตามที่กลุ่มเป้าหมายเปิดรับ สามารถกำหนดเนื้อหา และรูปแบบได้ตรงตามที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ ซึ่งจะทำให้การผลิตประสบความสำเร็จ 

                2. กำหนดหัวข้อเรื่อง เมื่อทราบเงื่อนไขต่างๆ ดังที่กล่าวมาในตอนต้นแล้ว จะทำให้กำหนดหัวข้อเรื่อง  

               3. กำหนดขอบข่าย เนื้อหา เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้วผู้เขียนบทต้องศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระต่างๆ มาวิเคราะห์แยกย่อยหัวเรื่องประเด็น กำหนดขอบเขตเนื้อหา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย  

                4. ลงมือเขียนบท การเขียนบทถือเป็นหัวใจของขั้นก่อนการผลิต (Pre - Production) และกระบวนการผลิตทั้งหมด เนื่องจากบททำหน้าที่เสมือนแบบแปลนในการสร้างบ้าน นอกจากนั้นแล้วบทเป็นจุดชี้วัดจุดแรกที่จะบอกได้ว่าสื่อนั้นๆจะประสบความส าเร็จหรือไม่ 

5. ให้อกความสำคัญของการเขียนและประโยชน์ที่ได้รับ

 1) เป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่ต้องการถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ และ

ประสบการณ์ของตนเองออกเสนอผู้อ่าน 

            2) เป็นการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูล ที่ตนได้มีประสบการณ์มาก่อน 

            3) เป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ในเรื่องที่ผู้เขียนเกิดความรู้สึกประทับใจหรือมีประสบการณ์ 

            4) เป็นเครื่องถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม เช่น ถ่ายทอดสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง เป็นต้น 

            5) เป็นเครื่องมือพัฒนาสติปัญญา เนื่องจากการเรียนรู้ทุกอย่างต้องอาศัยการเขียนเป็นเครื่องมือสำหรับบันทึกสิ่งที่ได้ฟังและได้อ่านและนำไปสู่การพัฒนาสืบไป 

            6) เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ตามจุดประสงค์ที่แต่ละคนปรารถนา เช่น เพื่อต้องการทำให้รู้เรื่องราว ทำให้รัก ทำให้โกรธและสร้างหรือทำลายความสามัคคีของคนในชาติ  

            7) เป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของผู้เขียน 

            8) เป็นอาชีพอย่างหนึ่ง 

            9) เป็นการพัฒนาความสามารถและบุคลิกภาพ ทำให้บุคคลมีความเชื่อมั่นในตัวเองในการแสดง

ความรู้สึกและแนวคิด 

            10)  เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม