ใบ งาน ศิลาจารึกหลักที่ 1 doc

SelectionFile type iconFile nameDescriptionSizeRevisionUserĉโครงสร้างรายวิชา ท๒๒๑๐๑.docx
ดู ดาวน์โหลด26 กิโลไบต์เวอร์ชัน 1dlit027 sesao33Ċโคลงภาพพระราชพงศาวดาร.pdf
ดู ดาวน์โหลด282 กิโลไบต์เวอร์ชัน 1dlit027 sesao33ćนำเข้าสู่ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง.pptx
ดู ดาวน์โหลด447 กิโลไบต์เวอร์ชัน 1dlit027 sesao33ĉแบบทดสอบ เรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร.docx
ดู ดาวน์โหลด29 กิโลไบต์เวอร์ชัน 1dlit027 sesao33ĉแบบทดสอบ เรื่อง บทเสภาสามัคคีเสวก.docx
ดู ดาวน์โหลด24 กิโลไบต์เวอร์ชัน 1dlit027 sesao33ćศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย ม.๒.pptx
ดู ดาวน์โหลด1135 กิโลไบต์เวอร์ชัน 1dlit027 sesao33ĉศิลาจารึก เพิ่มเติม ม.๒.docx
ดู ดาวน์โหลด16 กิโลไบต์เวอร์ชัน 1dlit027 sesao33ĉหน่วยที่ ๑ สมบัติวรรณคดีของไทย.docx
ดู ดาวน์โหลด458 กิโลไบต์เวอร์ชัน 1dlit027 sesao33ĉหน่วยที่ ๒โคลงภาพพระราชพงศาวดาร.doc
ดู ดาวน์โหลด2149 กิโลไบต์เวอร์ชัน 1dlit027 sesao33ĉหน่วยที่ ๔ หลักศิลาจารึกหลักที่๑.docx
ดู ดาวน์โหลด11774 กิโลไบต์เวอร์ชัน 1dlit027 sesao33ĉเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ ๑.docx
ดู ดาวน์โหลด257 กิโลไบต์เวอร์ชัน 1dlit027 sesao33

พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง...ขึ้นต้นมาแบบนี้ เพื่อน ๆ คงรู้แล้วใช่ไหมว่าสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงคือ ศิลาจารึก หลักที่ ๑ นั่นเอง โดยบันทึกเรื่องราวพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง และยังรวมไปถึงเรื่องราวในด้านอื่น ๆ อีกหลายด้าน เช่น สภาพสังคม การเมือง การปกครอง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของผู้คนในสมัยสุโขทัย เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น เรามาติดตามกันต่อเลย

นอกจากในบทความนี้ เพื่อน ๆ ยังสามารถเรียนรู้กันได้แบบจุใจในรูปแบบแอนิเมชันได้ที่แอปพลิเคชัน StartDee เลย

ใบ งาน ศิลาจารึกหลักที่ 1 doc

 

ประวัติความเป็นมาของศิลาจารึก หลักที่ ๑

รัชกาลที่ ๔ ทรงค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ปราสาทเมืองสุโขทัย ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ได้จารึกขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ. ๑๘๒๖ เป็นต้นมา จนกระทั่งหลัง พ.ศ. ๑๘๓๕ จึงจารึกครบทั้ง ๔ ด้าน ทั้งนี้ ในหนังสือจารึกสมัยสุโขทัย ได้กำหนดเป็น “ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พ.ศ. ๑๘๓๕ ” ตามปีศักราชที่ระบุไว้ในจารึก ลักษณะของจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นแท่งศิลารูปสี่เหลี่ยมยอดแหลมปลายมนสูง ๑ เมตร ๑๑ เซนติเมตร มีถ้อยคำจารึก ๔ ด้าน 

ด้านที่ ๑ และด้านที่ ๒ มีจารึกด้านละ ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓ และด้านที่ ๔ มีจารึกด้านละ ๒๗ บรรทัด รวมทั้งสิ้น ๑๒๔ บรรทัด ผู้แต่งศิลาจารึกหลักที่ ๑ สันนิษฐานว่า อาจมีมากกว่า ๑ คน สำหรับตอนที่ ๑ เชื่อว่าผู้แต่ง คือ พ่อขุนรามคำแหง เพราะใช้สรรพนามแทนตนว่า “กู” อยู่ในเนื้อความ ส่วนตอนที่ ๒ และ ตอนที่ ๓ สันนิษฐานว่า ผู้อื่นแต่งเพิ่มเติมภายหลัง

 

ลักษณะคำประพันธ์ในศิลาจารึก หลักที่ ๑

แต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนใหญ่เป็นประโยคความเดียวที่สื่อความหมายตรงตัว เข้าใจง่าย อีกทั้งบางตอนมีเสียงสัมผัสคล้องจอง เช่น ในนํ้ามีปลา ในนามีข้าว ทำให้เกิดความไพเราะ

 

จุดประสงค์ในการแต่งศิลาจารึก หลักที่ ๑

เพื่อบันทึกเรื่องราวสำคัญในสมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะการปกครอง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎร ตลอดจนบรรยายถึงความเจริญรุ่งเรือง และความสมบูรณ์พูนสุขของกรุงสุโขทัย เนื้อความในศิลาจารึก ทำให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงแต่เพียงคร่าวๆ ไม่ได้บ่งบอกถึงรายละเอียดชัดเจนนักว่า ทรงพระราชสมภพแต่เมื่อปีพุทธศักราชใดแน่ชัด บอกแต่เพียงว่าพระองค์ทรงมีพี่น้อง ๕ คน โดยพ่อขุนรามคำแหงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๓ ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระองค์มีพระเชษฐา ๒ พระองค์ และพระขนิษฐา ๒ พระองค์ พระเชษฐาพระองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาพระองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชสมบัติต่อ จากพระราชบิดา และเมื่อพ่อขุนบานเมืองได้เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนรามคำแหงจึงเสวยราชสมบัติต่อมา

หากเพื่อน ๆ อยากรู้เรื่องราวความเป็นมาของพ่อขุนรามคำแหง และพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ แห่งอาณาจักรสุโขทัย สามารถอ่านได้ที่บทเรียนออนไลน์เรื่องการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย แม้จะเป็นของน้อง ๆ ป.4 แต่ข้อมูลจัดเต็มน้า

 

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ แบ่งออกได้ ๓ ตอน

นักวิชาการหลายท่านได้แบ่งเรื่องราวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงออกเป็น ๓ ตอน ได้แก่

ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ ถึงบรรทัดที่ ๑๘ กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหงที่เล่าพระราชประวัติของพระองค์เองว่าเป็นใคร อีกทั้งเล่าถึงการสู้รบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดา เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พ่อขุนรามคำแหงทรงปรนนิบัติรับใช้พระเชษฐาคือพ่อขุนบานเมือง เฉกเช่นเดียวกับที่เคยปรนนิบัติรับใช้พระราชบิดา จนกระทั่งเมื่อพระเชษฐาเสด็จสวรรคต พ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นลำดับต่อมา

ในส่วนของตอนที่ ๒ นับตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ จนจบด้าน ด้านที่ ๒ ทั้งหมด และด้านที่ ๓ ถึงบรรทัดที่ ๑๐ เนื้อความไม่ปรากฏสรรพนาม "กู" แต่ใช้คำว่า “พ่อขุนรามคำแหง” ในส่วนนี้จะเล่าถึงเหตุการณ์บ้านเมือง และความเจริญรุ่งเรืองในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง กล่าวถึงการค้าขายเสรี การร้องทุกข์ สภาพภูมิศาสตร์ ตลอดจนขนบธรรมเนียม และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นของเมืองในขณะนั้น ในส่วนนี้ผู้ที่ศึกษาศิลาจารึกได้คาดเดาออกเป็นสองทางว่า

๑. มีผู้บันทึกไว้หลังจากสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง เนื่องจากในตอนที่ ๒ นี้ เริ่มที่ว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำ แหง..."

๒. พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นผู้รับสั่งให้มีการบันทึกต่อเพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยที่พระองค์กำลังครองราชย์ 

ตอนที่ ๓ ตั้งแต่ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ ถึงด้านที่ ๔ บรรทัดสุดท้าย เป็นส่วนสรรเสริญพระเกียรติคุณพ่อขุนรามคำแหง กล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญต่าง ๆ ของพระองค์ อีกทั้งกล่าวถึงการที่พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยตามแบบที่ใช้จารึกบนหลักศิลานี้ และยังมีการบันทึกว่าพระองค์ทรงมีความรู้เฉลียวฉลาดกล้าหาญ จนหาใครเปรียบได้ยาก สามารถปราบข้าศึกและขยายอาณาเขตได้อย่างกว้างขวาง บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์และทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม

ทั้งนี้เนื้อความในตอนที่ ๓ นี้ สันนิษฐานกันว่าได้บันทึกโดยคนรุ่นหลัง ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากการบันทึกในตอนที่ 2 แล้วหลายปี

จารึกพ่อขุนรามคำแหงหรือศิลาจารึกหลักที่ ๑ นับเป็นศิลาจารึกหลักสำคัญของประเทศไทย และได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทยที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แม้เนื้อความสั้นเพียง ๑๒๔ บรรทัด แต่ได้บันทึกเรื่องราวที่บริบูรณ์ด้วยคุณค่าทางวิชาการหลากหลายสาขาเอาไว้ องค์กรยูเนสโก (UNESCO) ซึ่งประชุมกันระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๖ ณ ประเทศโปแลนด์ จึงมีมติสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นทะเบียนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก

นับเป็นเรื่องน่าดีใจจริง ๆ ที่เพื่อนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ได้มีโอกาสเรียนวรรณคดีเรื่องแรกของประเทศไทยแบบนี้ ใครอ่านจบแล้ว ไปต่อกันได้เลยที่บทเรียนออนไลน์วิชาคณิตศาสตร์ บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส และการนำไปใช้ หรือจะย้ายไปเรียนวิชาสังคมศึกษากับบทเรียนเรื่ององค์ประกอบของแผนที่ ส่วนวิชาภาษาไทย ยังมีบทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมาและสามัคคีเสวก สำหรับใครที่อยากข้ามขั้นเรียนของชั้น ม.๓ ลองอ่านบทเรียนเรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทรดูสิ สนุกไม่แพ้กัน