เพราะเหตุใดจึงต้องมีการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เฉลย

ความสำคัญของประวัติศาสตร์ และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

      ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวและพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาและยุคสมัยต่าง ๆ กัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาว่ามนุษย์ในอดีตได้คิดอะไร และกระทำสิ่งใด อีกทั้งความคิดและการกระทำดังกล่าวมีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์ทั้งในช่วงเวลาดังกล่าว และช่วงเวลาต่อมาอย่างไร หากแต่อดีตของมนุษย์นั้นมีระยะเวลายาวนานมาก จึงจำเป็นจะต้องมีการแบ่งช่วงเวลาดังกล่าวออกเป็นยุคสมัยต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอดีต ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และเพื่อให้เห็นถึงลักษณะสำคัญของแต่ละช่วงเวลา

      ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์, สมัยกึ่งประวัติศาสตร์, และ สมัยประวัติศาสตร์ สำหรับสิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดอายุคือ “ตัวอักษร ดังนั้นแล้ว ในแต่ละสังคมหรือแหล่งอารยธรรมต่าง ๆ ในโลก จึงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับว่าสังคมหรืออารยธรรมใดสามารถประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ได้ก่อน

      สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistorical Period) คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเรื่องราว ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่มีหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร เช่น เอกสาร หรือจารึกที่บันทึกเรื่องราวให้มนุษย์ในยุคหลังทราบได้  
      ดังนั้น การศึกษาเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงต้องอาศัยการสันนิษฐาน และการตีความจากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ, เครื่องประดับ, ภาพเขียนสีบนเพิงผาและผนังถ้ำ, หลุมฝังศพ เป็นต้น สำหรับตัวอย่างหลักฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น โครงกระดูกของมนุษย์โครมันยอง, โครงกระดูกของมนุษย์ชวา, โครงกระดูกของมนุษย์ปักกิ่ง, แหล่งโบราณคดีชุมชนบ้านเชียง เป็นต้น
      สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคหิน และยุคโลหะ
      สมัยกึ่งประวัติศาสตร์ (Protohistorical Period) คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ในสังคมนั้น ๆ ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเพื่อใช้บันทึกเรื่องราว แต่ได้มีมนุษย์จากสังคมอื่น ๆ ซึ่งได้เดินทางผ่านมาเพื่อติดต่อค้าขาย และได้บันทึกเรื่องราวของมนุษย์จากสังคมเหล่านั้นเอาไว้    
      สมัยประวัติศาสตร์ (Historical Period) คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ในสังคมเริ่มรู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ทำให้มนุษย์ในยุคหลังสามารถเข้าใจเรื่องราวในช่วงเวลาดังกล่าว ผ่านการศึกษาและตีความจากหลักฐานลายลักษณ์อักษรต่าง ๆ เช่น ศิลาจารึก พงศาวดาร หนังสือ เป็นต้น ดังนั้น แต่ละสังคมจะเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน
      สมัยประวัติศาสตร์ หากแบ่งตามประวัติศาสตร์สากลแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 4 สมัยได้แก่ ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ และประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน 

ห้องไหนที่ไม่ได้ใบงานลอกโจทย์แล้วจดใส่สมุดด้วยนะครับ

ใบงานเรื่อง  การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อาศัยหลักเกณฑ์ใดบ้าง

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาจใช้หลักเกณฑ์การแบ่งตามเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยแบ่งเป็นยุคหินกับยุคโลหะ หรือแบ่งตามลักษณะการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยแบ่งเป็นยุคล่าสัตว์ ที่มนุษย์รู้จักเก็บหาอาหาร ล่าสัตว์ป่า ยังไม่มีการตั้งถิ่นฐานที่ถาวร ยุคสังคมเกษตรกรรม มนุษย์รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มีการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่รวมกัน                เป็นชุมชน และยุคสังคมเมือง ชุมชนพัฒนาไปเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากขึ้น มีการจัดระเบียบการปกครอง               เป็นต้น

สมัยประวัติศาสตร์ จะใช้หลักเกณฑ์การแบ่งเมื่อมนุษย์รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ         ซึ่งอาจบันทึกลงบนกระดูก ไม้ไผ่ แผ่นดินเหนียว ศิลา เป็นต้น

2. การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ตามแบบสากล มีกี่สมัย และแต่ละสมัยเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด

การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ ตามแบบสากลมี 4 สมัย ได้แก่

1)  ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์ตัวอักษรของชาวซูเมเรียเมื่อ 3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราชจนถึงกรุงโรมของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกพวกอนารยชนตีแตกใน ค.ศ. 476              

2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังกรุงโรมแตก ค.ศ. 476 จนถึงพวกเติร์กตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลของจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออกแตกใน ค.ศ. 1453

3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2                 ใน ค.ศ.1945

4) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน             

3. การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ตามแบบสากลและแบบไทย เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ของไทยจะแตกต่างจากแบบสากลเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย โดยสากลจะแบ่งออกเป็นสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบันร่วมสมัย ส่วนไทยจะแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ออกหลายแบบ เช่น แบ่งตามอาณาจักร เช่น สมัยทวารวดี สมัยละโว้ สมัยศรีวิชัย แบ่งตามราชธานี เช่น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา  แบ่งตามราชวงศ์ เช่น สมัยราชวงศ์พระร่วง สมัยราชวงศ์อู่ทอง สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ แบ่งตามรัชกาล เช่น สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยรัชกาลที่ 1 แบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น สมัยสมบูรณา ญาสิทธิราชย์ เป็นต้น

กรณีตัวอย่างที่ 1

                ครั้นศักราช ๘๙๑ ปีฉลูศก ญ วันอาทิตย์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดกันกับแม่อยู่หัว     ศรีสุดาจันทร์ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา แต่พระศรีศิลป์น้องชาย  พระชนม์ได้เจ็ดพรรษานั้นเลี้ยงไว้ สมเด็จพระยอดฟ้าอยู่ในราชสมบัติปีกับสองเดือน

1. จากกรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยใด        สมัยกรุงศรีอยุธยา

2. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นศักราชใด      จุลศักราช                              

3. เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด       วันอาทิตย์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน  ๘  ปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๘๙๑             

กรณีตัวอย่างที่ 2

                        “...ภายหลังมานับถอยหลังขึ้นไปในรัตนโกสินทร์ศก ๘๕ มีจีนคนหนึ่งชื่อเจ๊กฮง จัดตั้งโรงรับจำนำขึ้นโรงหนึ่งที่    ริมประตูผีนี้เอง...

1. จากกรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยใด        สมัยกรุงรัตนโกสินทร์        

2. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นศักราชใด      รัตนโกสินทร์ศก

3. เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด       รัตนโกสินทร์ศก ๘๕          

กรณีตัวอย่างที่ 3

                เมื่อก่อนลายสือไทนี้ บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทนี้  ลายสือไทนี้      จึ่งมีเพื่อพ่อขุนผู้นั้นใส่ไว้

1. จากกรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยใด        สมัยสุโขทัย          

2. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นศักราชใด      มหาศักราช                            

3. เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด       ๑๒๐๕  ศก ปีมะแม

เพราะเหตุใดจึงต้องมีการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ เป็นยุคสมัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตและช่วยให้ เข้าใจง่ายขึ้น ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ 1) สมัยก่อนประวัติศาสตร์

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์มีอะไรบ้าง

ดังนั้น แต่ละสังคมจะเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน สมัยประวัติศาสตร์ หากแบ่งตามประวัติศาสตร์สากลแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น ๔ สมัยได้แก่ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ประวัติศาสตร์ สมัยใหม่และประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน

เวลามีความสําคัญต่อประวัติศาสตร์อย่างไร เฉลย

การศึกษาเหตุการณ์สำคัญในอดีตนั้นย่อมมีช่วงเวลาและสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลานักประวัติศาสตร์จําเป็นต้องอาศัยอ้างอิงช่วงเวลาด้วยคำต่างๆเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงและรายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆเวลาจึงมีความสำคัญต่อการศึกษาสังคมมนุษย์ในอดีตเพราะเวลาจะช่วยบอกได้ว่าสังคมในพื้นที่ต่างๆมีเรื่องราวสำคัญเกิดขึ้นในแต่ละช่วง ...

การศึกษาประวัติศาสตร์ตามลําดับเวลามีประโยชน์ในเรื่องใดมากที่สุด

ลำดับก่อน-หลังของเหตุการณ์มีประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร.
ทำให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดน่าเชื่อถือกว่ากัน.
ทำให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ.
ทำให้ทราบความสัมพันธ์กันของเหตุการณ์ต่างๆ.