เพราะเหตุใดองค์การสันนิบาตชาติจึงไม่ประสบความสําเร็จในการรักษาสันติภาพของโลก

สยามรัฐออนไลน์ 22 กันยายน 2559 13:44 น. บทบรรณาธิการ

เพราะเหตุใดองค์การสันนิบาตชาติจึงไม่ประสบความสําเร็จในการรักษาสันติภาพของโลก

Show

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติคือ 1. รักษาสันติภาพของโลก 2. พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ 3. ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีฐานะยากจนให้มสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพอนามัย ความรู้รวมถึงสิทธิและเสรีภาพ 4. เป็นศูนย์ช่วยเหลือแก่ประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้เมื่อดูจากประวัติการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติแล้ว ย่อมเห็นว่าภาระหน้าที่สำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติคือการรักษาสันติภาพโลก ภารกิจหลักของสหประชาชาติคือการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ หน้าที่ของสหประชาชาติคือให้คณะมนตรีความมั่นคงเข้าไปแทรกแซงโดยเปิดการเจรจาระหว่างคู่กรณีเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงระงับความขัดแย้งอย่างสันติ ระหว่างการเจรจาคณะมนตรีความมั่นคงจะพิจารณาว่าความขัดแย้งดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลกหรือไม่ และอาจเสนอแนะแนวทางต่างๆ เพื่อหาทางออกหากการเจรจาไม่เป็นผลและเกิดการรุกรานด้วยกองกำลังติดอาวุธ คณะมนตรีความมั่นคงมีอำนาจบีบบังคับด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งทางการทูต เศรษฐกิจและการแทรกแซงทางทหาร เพื่อให้การปะทะกันยุติลง หลังมีข้อตกลงหยุดยิงอาจมีการส่งผู้รักษาสันติภาพเข้าไปยังพื้นที่ประเทศที่ขัดแย้งกันในกรณีที่ประเทศดังกล่าวยินยอม บางกรณีคณะมนตรีความมั่นคงอาจให้กำลังรบของประเทศสมาชิกเข้าแทรกแซงแต่ไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชาของสหประชาชาติ แต่เมื่อดูเหตุการณ์ทั่วโลกตั้งแต่ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติเป็นต้นมาปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นในทุกทวีปตลอดเวลา นี่คือความล้มเหลวที่สุดขององค์การสหประชาชาติ สหประชาชาติมีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่ก็ไมอาจยับยั้งสงครามได้เลย ในความพยายามที่จะรักษาสันติภาพ สหประชาชาติมีบทบาทสำคัญในความพยายามด้านการลดและลดอาวุธ การวางระเบียบของอาวุธยุทธภัณฑ์ รวมไปถึง การเขียนกฎบัตรสหประชาชาติในปี 1945 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่จะลดการใช้ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางเศรษฐกิจในการ ผลิตอาวุธ สหประชาชาติถูกวิจารณ์จากความล้มเหลวในการรักษาสันติภาพเพราะมีประเทศมหาอำนาจที่นึกว่าตัวยิ่งใหญ่กว่าองค์การสหประชาชาติ หลายกรณีที่รัฐสมาชิกปฏิบัติการด้วยความไม่เต็มใจ หรือไม่ยอมปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติก็ทำอะไรไม่ได้ ว่ากันว่าสหรัฐฯ นั้นช่วยงบประมาณให้กับสหประชาชาติประมาณหนึ่งในห้า เป็นพี่เอื้อยในสหประชาชาติ แต่อำนาจนี้ก็กำลังถูกท้าทาย ตั้งแต่สมัยเลขาธิการสหประชาชาติคนก่อน ก็มีความพยายามจะปรับปรุงองค์การสหประชาชาติ ให้เป็นที่ซึ่งสามารถกลับมาเป็นที่พึ่งของโลกได้อีก โดยจัดทีมพิเศษคัดจากผู้เชี่ยวชาญ 16 คน ซึ่งเป็นทั้งอดีตทูตและนักการเมืองสำคัญๆ มาช่วยงาน เพื่อประเมินว่ามีอะไรที่สำคัญและเป็นภัยต่อมนุษยชาติบ้าง และยูเอ็นควรทำอะไรบ้าง ทั้งหมดมีหน้าที่ให้คำปรึกษาว่ายูเอ็นควรปรับปรุงอย่างไร แต่มาจนถึงเลขาธิการคนปัจจุบันก็ไม่มีความเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลน่าพอใจ

                      หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่  1 (ค.ศ.1913-1921) ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้น         ซึ่งเป็นแนวความคิดที่จะป้องกันมิให้เกิดสงครามร้ายแรงที่จะทำลายล้างประชาชาติขึ้นอีก         โดยให้สถาปนาองค์การสันนิบาตชาติขึ้นเพื่อเป็น องค์กรกลางที่จะใช้แก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างประเทศ โดยสันติวิธีเพื่อดำรงรักษาสันติภาพอันถาวรไว้ โดยประชุมครั้งแรก         ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ค.ศ.1920

                                        ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)แห่งสหรัฐอเมริกา

องค์การสันนิบาตชาติ

สมาชิกภาพ

  ประเทศที่เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกประเทศได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญา    สันติภาพและเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติโดยอัตโนมัติ
                ประเทศที่แพ้สงครามมีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกขององค์การนี้ได้แต่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญา สันติภาพให้เรียบร้อยเสียก่อน   ส่วนประเทศอื่น จะเข้าเป็นสมาชิกได้เมื่อได้รับความเห็นชอบ   จากการออกเสียงสองในสามของประเทศสมาชิก
               ส่วนสหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดตั้งองค์การนี้ไม่ได้เป็นสมาชิก เนื่องจากสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบัน

วัตถุประสงค์

          การดำรงสันติภาพและป้องกันสงครามในอนาคต ประเทศสมาชิกต่างให้   สัตยาบันที่จะเคารพเอกราช และบูรณภาพแห่ง อาณาเขตของประเทศต่าง ๆ

         ในกรณีที่ประเทศสมาชิกใดถูกรุกรานทั้งทางด้านเศรษฐกิจหรือกำลังทหาร ต้องเป็นหน้าที่ของประเทศสมาชิกอื่นในการร่วมมือกันต่อต้านผู้รุกราน

 องค์การสันนิบาตชาติมีหลักการในความร่วมมือกัน ดังนี้
1. ร่วมมือกันรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. เป็นองค์กรกลางในการตัดสินชี้ขาดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ
3. ร่วมมือกันดำเนินการลดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์
4. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต

การดำเนินงาน

 

                   การดำเนินงานขององค์การสันนิบาตชาติมีองค์กรต่าง ๆ ทำหน้าที่และรับผิดชอบ  ดังนี้
             - สมัชชา ที่ประชุมใหญ่ขององค์การ ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทั้งหมด   คือ  ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะส่งผู้แทนไปประจำได้ประเทศละ 3 คน เป็นอย่างมากแต่การออกเสียง แต่ละประเทศลงคะแนนได้ 1 เสียง มีวาระการประชุมปีละครั้งเพื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อสันติภาพของโลก
             - คณะมนตรี ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารองค์การประกอบด้วยสมาชิกประเภทถาวร 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น และสมาชิกประเภทไม่ถาวร ที่มาจากการเลือกตั้งอีก 4 ประเทศ
              
คณะมนตรีนี้ประชุมกันปีละครั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลกและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของสมัชชา

             - สำนักงานเลขาธิการ มีเลขาธิการซึ่งได้รับเลือกจากคณะมนตรีมีหน้าที่เป็นสำนักงานจัดทำรายงานรักษาเอกสารหลักฐาน อำนวยการวิจัยและประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ

              - คณะกรรมาธิการ   มีคณะกรรมาธิการฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการด้าน
เศรษฐกิจและสังคม ได้แก่    องค์การอนามัยระหว่างประเทศ  สำนักแรงงานสากล  และคณะกรรมาธิการฝ่ายดินแดนในอาณัติ
              - ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  ทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีต่าง ๆ และกรณีพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน

ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติ

           การปฏิบัติงานขององค์การสันนิบาตชาติในฐานะองค์การระหว่างประเทศอาจนับได้ว่าล้มเหลวแม้ได้ทำการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งได้สำเร็จอยู่บ้างแต่ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อสังคมโลกและเป็นปัญหาที่ชาติมหาอำนาจไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง
                       ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติที่ประสบความสำเร็จ เช่น
กรณีหมู่เกาะโอลันด์ (Aland Islands) ที่สวีเดนและฟินแลนด์ต่างแย่งชิงกันจะเข้าครอบครองใน ค.ศ. 1917 สวีเดนถือโอกาสส่งกองทหารเข้าไปยึดหมู่เกาะนี้ แต่ถูกกองทัพเยอรมนีซึ่งสนับสนุนขบวนการกู้ชาติของฟินแลนด์ขับไล่ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงมีการเสนอปัญหานี้ให้องค์การสันนิบาตชาติพิจารณาตัดสินให้มอบหมู่เกาะโอลันด์อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของฟินแลนด์ แต่ต้องเป็นดินแดนปลอดทหารและมีสถานภาพกึ่งอิสระ


           ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติที่ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น


                เหตุการณ์รุนแรงที่เกาะคอร์ฟู(Corfu Incident)ใน ค.ศ. 1923
อิตาลีใช้กำลังเข้ายึดครองเกาะคอร์ฟูของกรีซ เพื่อบีบบังคับรัฐบาลกรีซให้ชดใช้ค่าเสียหายกรณีฆาตกรรมนายพลอิตาลี เหตุการณ์นี้ท้าทายความมีประสิทธิภาพของการประกันความมั่นคงร่วมกันขององค์การสันนิบาตชาติซึ่ง  ไม่สามารถยับยั้งหรือลงโทษอิตาลีได้ ทั้ง ๆ ที่กรีซและอิตาลีต่างก็เป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ


               เหตุการณ์ญี่ปุ่นรุกรานแคว้นแมนจูเรียของจีนในค.ศ. 1931

องค์การสันนิบาตชาติก็ไม่สามารถใช้มาตรการใดลงโทษญี่ปุ่น

ได้วิกฤตการณ์ระหว่างประเทศที่แสดงถึงความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ

             ที่ชัดเจนที่สุด คือ สงครามอะบิสซิเนีย(Abyssinian War) ที่อิตาลีส่งกองทัพบุกอะบิสซิเนียโดยไม่ประกาศสงครามเมื่อ ค.ศ.1935และสามารถยึดกรุงแอดดิสอาบาบาได้ในค.ศ. 1936 ซึ่งสมัชชาขององค์การสันนิบาตชาติได้ลงมติประณามอิตาลีว่าเป็นฝ่ายรุกรานอิตาลีจึงตอบโต้องค์การสันนิบาตชาติด้วยการลาออกจากการเป็น
สมาชิกองค์การสันนิบาตชาติใน ค.ศ. 1937
             เหตุการณ์ทั้ง 2 เหตุการณ์นี้ทำให้
     - ญี่ปุ่น    ถอนตัวออกไปใน ค.ศ. 1933
     - อิตาลี   ถอนตัวออกไปใน  ค.ศ. 1937
             ตั้งแต่ ค.ศ. 1937 ประเทศมหาอำนาจที่ยังคงเป็นสมาชิกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจึงมีเพียง
        อังกฤษ และ ฝรั่งเศส


 

จุดอ่อนขององค์การสันนิบาตชาติ

              แม้องค์การสันนิบาตชาติจะได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จในช่วงต้น ๆ หลายกรณี  แต่ต่อมาก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลง ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

                    1.  การที่ประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิก ทำให้กฎข้อบังคับขององค์การ  สันนิบาตชาติบังคับใช้ได้ผลก็เฉพาะกับประเทศสมาชิก
ที่ไม่ค่อยมีอำนาจและบทบาทมากนัก ไม่มีผลบังคับประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่

                    2. ประเทศมหาอำนาจโจมตีประเทศอื่น
                       มหาอำนาจหลายประเทศได้แสดงความก้าวร้าวรุกรานประเทศอื่นเสียเอง ได้แก่ ฝรั่งเศสและเบลเยียมเข้ายึดครองเหมืองถ่านหินในแคว้นรูห์ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นโลหิตใหญ่ของเยอรมนี
            เยอรมนีตอบโต้ด้วยการนัดหยุดงานทั่วประเทศการที่ประเทศต่างๆไม่ได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ขององค์การสันนิบาตชาติ ซึ่งมีจุดหมายที่จะนำสันติภาพมาสู่มนุษยชาติ ทำให้การดำเนินงานขององค์การนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ

                     ดังนั้นแม้ว่าจะมีองค์การสันนิบาตชาติ แต่เมื่อประเทศมหาอำนาจต้องการผลประโยชน์หรือเสียผลประโยชน์ มหาอำนาจเหล่านี้จะเพิกเฉยต่อบทบาทและหน้าที่ขององค์การสันนิบาตชาติ    หรือลาออกจากการเป็นสมาชิก ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติก็ไม่สามารถปฏิบัติการใดๆอันเป็นการตอบโต้ต่อประเทศ เหล่านั้นได้ หลังจากการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติมาได้ 20 ปี สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้น

เพราะเหตุใดองค์การสันนิบาตชาติจึงไม่ประสบความสําเร็จในการรักษาสันติภาพของโลก