พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงตั้งกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงตั้งกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง

ถอดความหมาย ไขที่มาของชื่อเต็ม กรุงเทพฯ

Focus

  • 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ตรงกับวันเกิดของ กรุงเทพฯ
  • เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาราชธานีใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมการฉลองพระนครเสร็จแล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา”

แม้ กรุงเทพฯ จะเป็นเมืองหลวง แต่ก็มีวันเกิดนั่นคือ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 โดยเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาราชธานีใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมการฉลองพระนครเสร็จแล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา”

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแก้พระนามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” ครั้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า “บวร” เป็น “อมร” เปลี่ยนคำว่า “มหินทอยุธยา” เป็น “มหินทรายุธยา” โดยใช้วิธีสนธิศัพท์ เปลี่ยนการสะกดคำว่า “สินท์” เป็น “สินทร์” พร้อมเติมสร้อยนามต่อ ทำให้ กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก คือ “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

สำหรับความหมายของชื่อเต็ม กรุงเทพฯ มีดังนี้

กรุงเทพมหานคร : พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร

อมรรัตนโกสินทร์ : เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต

มหินทรายุธยา : เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะ

มหาดิลกภพ : มีความงามอันมั่งคงและเจริญยิ่ง

นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ : เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการน่ารื่นรมย์ยิ่ง

อุดมราชนิเวศมหาสถาน : มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย

อมรพิมานอวตารสถิต : เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา

สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ : ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้

ต้นเรื่อง : นิตยสารสารคดี มกราคม 2540

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงตั้งกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง


Post Views: 655

21 เมษายน พ.ศ. 2325 วันสถาปนากรุงเทพมหานคร หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเมื่อวันที่ 6 เมษายนปีเดียวกัน จากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วจัดพิธี ยกเสาหลักเมืองที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้มีการก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วขึ้น พร้อมทั้งพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” เป็นชื่อเมืองที่ยาวที่สุดในโลก มีความหมายว่า “พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครสามารถรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้ว 9 ประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้”  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงเปลี่ยนจาก “…บวรรัตนโกสินทร์…” เป็น “…อมรรัตนโกสินทร์…”

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงตั้งกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง

ในปี พ.ศ.2425ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นปีที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบหนึ่งศตวรรษ หรือ 100 ปี หรือหากนับอย่างปีรัตนโกสินทร์ ก็คือ ร.ศ.100 ในปีนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานสมโภชพระนครครบรอบศตวรรษอย่างยิ่งใหญ่ โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดงานแสดงสินค้าแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ณ ท้องสนามหลวง หรือที่เรียกว่า “แนชันนาลเอกษฮีบิชัน” พร้อมกันนี้ ยังทรงให้จัดทำเหรียญที่ระลึก สำหรับพระราชทานให้แก่ผู้ที่นำสินค้าแปลก ๆ มาจัดแสดงในงานสมโภชพระนครด้วย พร้อมกันนั้นทรงมีพระราชประสงค์ให้บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่เริ่มทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา ให้กลับมาสวยงามดังเดิมพร้อมกับงานฉลองพระนคร โดยพระองค์ได้พระราชทานเหรียญที่ระลึกให้แก่ผู้ที่ร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามจนแล้วเสร็จในครั้งนี้ด้วย

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงตั้งกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง
งานเฉลิมฉลองสมโภชพระนครครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ.2475 เนื่องในสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 150 ปี ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ให้บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามตามพระราชประเพณี และได้มีการจัดทำเหรียญที่ระลึกฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปี และนำเหรียญดังกล่าวแจกจ่ายให้กับผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงตั้งกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง

การเฉลิมฉลองงานสมโภชพระนครอมรรัตนโกสินทร์ 150 ปีนั้นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุด คือ การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมจังหวัดพระนครและธนบุรีเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการขยายพระนคร และช่วยให้การคมนาคมติดต่อกันเป็นไปได้สะดวกขึ้น โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2472 และมีพิธีเปิดในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475 ซึ่งครั้งนั้นมีการจัดงานมหรสพรื่นเริง เพื่อเฉลิมฉลองการเปิดสะพานต่อเนื่องกันถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงตั้งกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2514 รัฐบาลได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี 2515 เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ เสาหลักเมืองมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 ซม. สูง 27 ซม. แต่ชำรุดจึงสร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4 ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว ตั้งอยู่ภายในอาคารยอดปรางค์ ภายในศาลหลักเมืองยังมีเทวรูปสำคัญ คือ เทพารักษ์ เจ้าพ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงตั้งกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง

ปี พ.ศ.2525 ได้เกิดงานเฉลิมฉลองสมโภชพระนครอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้ง ซึ่งเป็นปีที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี หรือสองศตวรรษ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งในปีนั้น ทางราชการได้จัดประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์เป็นครั้งแรก และตั้งชื่อว่า “ตราสัญลักษณ์งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี”

นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมทั้งประกอบพระราชพิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์ พระสยามเทวาธิราช พระเทพารักษ์ และพระราชพิธีสมโภชหลักเมือง เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่พระมหานครรัตนโกสินทร์


กระปุกดอทคอม.  (ม.ป.ป.).  21 เมษายน พ.ศ.2325 วันสถาปนากรุงเทพมหานคร.  เข้าถึงได้จาก https://hilight.kapook.com/view/70269
ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร.  (2556).  ประวัติการก่อตั้งกรุงเทพมหานคร.  เข้าถึงได้จาก http://203.155.220.230/m.info/bmahistory/
Guru.com.  (2556).  วันสถาปนา กรุงเทพมหานคร.  เข้าถึงได้จาก https://guru.sanook.com/26106/

วันสถาปนากรุงเทพมหานคร Foundation day Bangkok