ใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

ปัจจัยการผลิต ( Factors of Production)

ปัจจัยการผลิต หมายถึง ทรัพยากรที่ใช้เพื่อการผลิตเป็นสินค้าและบริการ ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์แบ่งปัจจัยการผลิตเป็น 4 ประเภท ดังนี้

•  ที่ดิน (Land) ซึ่งใช้เป็นที่ของอาคารโรงงานที่ทำการผลิต รวมถึงทรัพยากรที่อยู่ในดิน โดยผลตอบแทนของที่ดินได้แก่ ค่าเช่า (Rent)
•  แรงงาน (Labour) หมายถึง ความคิดและกำลังกายของมนุษย์ได้นำไปใช้ในการผลิต โดยมีผลตอบแทนคือ ค่าจ้าง (Wage or Salary)
•  ทุน ( Capital) ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง สิ่งก่อสร้าง และเครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต นอกจากนี้ทุนยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

เงินทุน (Money Capital) หมายถึงปริมาณเงินตราที่เจ้าของเงินนำไปซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าจ้าง ค่าเช่า และดอกเบี้ย
สินค้าประเภททุน (Capital Goods) หมายถึง สิ่งก่อสร้าง รวมถึงเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเป็นต้น ผลตอบแทนจากเงินทุน คือ ดอกเบี้ย (Interest)

•  ผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) หมายถึง บุคคลที่สามารถนำปัจจัยการผลิตต่าง ๆ มาดำเนินการผลิตให้มีประสิทธิภาพที่สุด โดยอาศัยหลักการบริหารที่ดี การตัดสินใจจากข้อมูลหรือจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างรอบคอบ รวมถึงความรับผิดชอบ ผลตอบแทน คือ กำไร (Profit)

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หมายถึง การผลิต การแลกเปลี่ยน การบริโภค และการกระจายรายได้
•  การผลิต (Production) หมายถึงการนำปัจจัยการผลิตที่มีอย่างจำกัดมาผ่านกระบวนการผลิต ซึ่งต้องอาศัยการผลิต การบริหาร การตัดสินใจเลือกวิธีการผลิตที่เหมาะสม เพื่อให้ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำสุด ให้ได้สินค้าที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค
•  การแลกเปลี่ยน (Exchange) ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในสินค้าแลบริการต่าง ๆ เดิมเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้ากับสินค้า แต่ต่อมาได้ใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
•  การบริโภค (Consumption) หมายถึง การได้รับประโยชน์หรือความพอใจจากการซื้อสินค้าและบริการ เช่น การทานอาหาร ใช้ตู้เย็น เป็นต้น
•  การกระจายผลผลิต (Product Distribution) หมายถึง การปันส่วนหรือการจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการให้ถึงมือผู้บริโภค โดยการนำออกมาวางขาย หรือการสั่งซื้อทางสื่อสารต่าง ๆ รวมถึงการขนส่งด้วย
•  การกระจายรายได้ (Income Distribution) หมายถึง การปันรายได้ให้กับผู้ผลิตสินค้าและบริการ รวมถึงเจ้าของปัจจัยการผลิตอย่างเป็นธรรม ได้แก่ ค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และกำไรของเจ้าของปัจจัยการผลิต  

หน่วยเศรษฐกิจ (Economic Unit)
หน่วยเศรษฐกิจ หมายถึง หน่วยที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ แบ่งหน้าที่ต่าง ๆ กันเช่น

•  หน่วยครัวเรือน เป็นหน่วยที่มีบุคคลเดียวหรือหลาคนที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน ประกอบด้วยผู้บริโภคและเจ้าของปัจจัยการผลิต มีหน้าที่ขายปัจจัยการผลิต และเลือกการบริโภคที่ให้ ความพอใจสูงสุด ภายใต้วงเงินจำกัด
•  หน่วยผลิต มีหน้าที่วางแผนแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะแสวงความ กำไรสูงสุด
•  หน่วยรัฐบาล เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่องค์กรมีหน้าทีและบทบาทในระบบเศรษฐกิจอย่างมาก เช่น การเก็บภาษีอากรและนำไปพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นผู้ออกกฎหมาย รักษากฎหมาย และเป็นผู้พิพากษาให้ความเป็นยุติธรรมแก่สังคม รวมถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ บริการสูงสุดแก่สังคม

วงจรเศรษฐกิจ (Circular Plow)

ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ รับผิดชอบตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยเศรษฐกิจ วงจรเศรษฐกิจเป็นกระแสวงจรของการใช่จ่ายเงินและการผลิต ดังแสดงในรูป

ใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

เมื่อพูดถึงเศรษฐกิจ ย่อมหมายถึงการบริโภค การอยู่อาศัย หรือการกินการอยู่ของประชาชนว่าอยู่ดีกินดี มีสินค้าเพียงพอแก่ความต้องการของผู้บริโภค หมายถึงว่าเศรษฐกิจดี ตรงข้าม ถ้าการกินอยู่หรือสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการ ย่อมหมายถึงเศรษฐกิจไม่ดี ดังนั้น การผลิตจึงถือเป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ต้องศึกษา แบ่งเป็น 3 ข้อ ดังนี้

•  ผลิตอะไร (What to Produce) จำนวนเท่าใด เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอและตรงตามความต้องการขอผู้บริโภค และเมื่อใดผลิตสินค้าไม่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค หรือผลิตมากเกินไปย่อมทำให้เศรษฐกิจเสียหาย
•  ผลิตอย่างไร (How to Produce) นอกจากจะผลิตอะไร จำนวนเท่าไรแล้ว ผู้ผลิตต้องใช้เทคนิคการผลิตการจัดการอย่างไร เช่น เลือกวิธีผลิต หรือเลือกปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม •  ผลิตเพื่อใคร (or Whom to Produce) เป็นสำคัญมากที่ผู้ผลิตจะต้องทราบว่าสินค้าและบริการที่ผลิตได้จะจำแนกแจกจ่ายสู่ผู้บริโภคกลุ่มใด ด้วยเทคนิควิธีใด ที่จะสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง หน่วยธุรกิจ หรือสถาบันทางเศรษฐกิจจ่าง ๆ ร่วมกันดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้นโยบาย กฎหมาย ระเบียบ แบบแผน วัฒนธรรม และประเพณีเดียวกัน รูปแบบของระบบเศรษฐกิจที่ประเทศทั่วโลกนิยมใช้กันมี 3 รูปแบบที่สำคัญ ดังนี้

•  ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) เป็นระบบที่หลายประเทศนิยมกัน ได้แก่ อเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น บางประเทศเรียกระบบนี้ว่าเสรีนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ซึ่งมีลักษณะดังนี้
•  กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เอกชนมีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สิน สามารถสืบทอดเป็นมรดกได้
•  เสรีภาพในธุรกิจ เอกชนสามารถเลือกประกอบธุรกิจได้ตามต้องการ
•  การจัดตั้งหรือล้มเลิกธุรกิจ ทำได้โดยเสรี
•  ใช้กลไกราคา
•  การวางแผนหรือกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ เอกชนจะเป็นผู้วางแผนแก้ปัญหาเศรษฐกิจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร การลงทุน การผลิต

•  ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) บางประเทศเรียกระบบสังคมนิยมบังคับ หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้

•  เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของในทรัพย์สิน 
•  เอกชนไม่มีแม้เสรีภาพในการประกอบอาชีพ
•  รัฐจะผูกขาดตลาด เอกชนทำการแข่งขันไม่ได้
•  รัฐเป็นผู้กำหนดราคาสินค้านั่นคือกลไกราคาไม่มีบทบาทในตลาด
•  รัฐเป็นผู้วางแผนและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ

•  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมีอิสระเสรีภาพมากเกินไป ในขณะที่ระบบคอมมิวนิสต์ขาดเสรีภาพ ดังนั้นในหลายประเทศจึงพอใจเลือกเดินทางสายกลาง ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งมีลักษณะดังนี้

•  เอกชนมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้
•  เอกชนมีสิทธิ์ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เสรี แต่บางกิจกรรมที่รัฐจะต้องเข้ามาควบคุม เช่น ในกิจกรรมที่ให้คุณให้โทษแก่สังคมโดยส่วนรวม การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
•  ระบบราคา ได้ใช้กลไกราคาควบคู่กับการวางแผน หมายถึง ราคาจะถูกกำหนดโดย อุปสงค์และอุปทาน ยกเว้นบางกิจกรรมที่รัฐจะเข้ามาควบคุม เช่น การรถไฟ การไฟฟ้า การประปา การเงินการธนาคารและอุตสาหกรรมบางประเภท เป็นต้น

ในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจแบบรัฐวางแผนกันแบบทุนนิยมร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่มี ความจริงทุกประเทศในโลกต่างใช้ลักษณะระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งสิ้น เพียงแต่ผสมผสานเข้มแค่ไหนที่เราเรียกกันว่า ระบบเศรษฐกิจเอียงซ้ายหรือเอียงขวา เพื่อให้เข้าใจง่าย

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

•  สินค้ามีหลากหลายชนิดให้เลือกได้ตามอำนาจซื้อและตามความพอใจของผู้บริโภค
•  สินค้ามีความประณีต สวยงาม เต็มไปด้วยงานสร้างสรรค์
•  สินค้าราคาถูก เพราะเป็นตลาดแข่งขัน กลไกราคามีบทบาทมากที่สุด
•  เทคนิคในการผลิตได้รับการพัฒนาเนื่องจากภาวะที่ต้องแข่งขันกัน
•  ทรัพยากรถูกนำมาจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ปัจจัยการผลิต

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

  • การทำลายสิ่งแวดล้อม
  • การเอารัดเอาเปรียบ
  • รายได้เหลื้อมล้ำมาก

 ที่มา  http://reg.ksu.ac.th/teacher/sakkasam/lession2.html

หน่วยใดที่เป็นทั้งผู้บริโภคและเจ้าของปัจจัยการผลิต

1. หน่วยครัวเรือน ทำหน้าที่ เป็นผู้บริโภคสินค้า เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และขายปัจจัยการผลิตให้หน่วยธุรกิจ ซึ่งได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน เป็นผู้ประกอบการ

เป้าหมายสูงสุดของหน่วยธุรกิจ คือ อะไร

เป้าหมายที่สำคัญของหน่วยธุรกิจก็คือ การแสวงหากำไรสูงสุดจากการประกอบการของตนหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน่วยธุรกิจต้องการได้รับผลตอบแทนในอัตราสูงสุดจากการลงทุน ในกิจการใดกิจการหนึ่ง ซึ่งการแสวงหากำไรสูงสุดนี้อาจกระทำได้หลายวิธี เช่น การพยายามขายให้ได้มากที่สุด การขยายส่วนแบ่งของตลาด (Market Share) ให้มากขึ้น ตลอดจนการกระทำใดๆ

เป้าหมายสูงสุดของผู้ผลิตคืออะไร

หน่วยธุรกิจ หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่เอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ มาผสมผสานผลิตเป็นสินค้าหรือบริการแล้วนำไปขายให้แก่ผู้บริโภค หน่วยธุรกิจประกอบด้วยสมาชิก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ผู้ผลิตและผู้ขาย ซึ่งหน่วยธุรกิจบางหน่วย ทำหน้าที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ขาย หรือทำหน้าที่เพียงอย่างเดียว เป้าหมายของผู้ผลิต คือ แสวงหากำไรสูงสุด ...

หน่วยครัวเรือนมีอะไรบ้าง

หน่วยครัวเรือน หมายถึง หน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป มีการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือ ปัจจัยทางด้านการเงิน เพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ตนหรือกลุ่มตนมากที่สุด มีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเบื้องต้น เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ครัวเรือนเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมการผลิตและการบริโภค โดยผลิตสิ่ง ...