ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร

          รำวงมาตรฐาน หมายถึง ศิลปะแห่งการฟ้อนรำให้เข้ากับจังหวะหน้าทับ ใช้ท่ารำที่เป็นแบบฉบับมาตรฐานโดยรำเป็นวงกลม หันหน้าทวนเข็มนาฬิกา
การรำวงมาตรฐานเป็นการรำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยการดูแลของกรมศิลปากรร่วมกับ กรมประชาสัมพันธ์ช่วยกันจัดทำขึ้น เพื่อให้เป็นแบบแผนในการใช้ท่ารำให้งดงามถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์ไทย


ความเป็นมาของรำวงมาตรฐาน

รำวง มาตรฐาน มีกำเนิดมาจากการรำโทน แต่เดิมการรำโทนเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยทั่วไป ใช้เล่นกันในฤดูเทศกาลเฉพาะท้องถิ่นบางจังหวัด ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนในพระนครและธนบุรีนิยมรำโทนกันทั่วไป เพราะรำง่าย และรำได้ทุกเพศทุกวัย จึงใช้เป็นเครื่องปลอบใจได้เป็นอย่างดี


รำ โทน หรือ รำวงพื้นบ้านได้รับความนิยม จึงทำให้แพร่หลายอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นานนัก จอมพล ป.พิบูลสงคราม ท่านให้ความสนใจและสนับสนุนรำวงอย่างจริงจัง จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรจัดการปรับปรุงการรำ และบทร้องให้มีแบบแผนที่แน่นอน เพื่อเชิดชูศิลปวัฒนธรรมไทยการละเล่นพื้นบ้านให้ทีระเบียบ แบบแผนเป็นแบบฉบับต่อคนรุ่นหลัง กรมศิลปากร ประพันธ์ 4 บทเพลง คืองามแสงเดือน,ชาวไทย ,รำซิมารำและ คืนเดือนหงาย ท่านผู้หญิงละเมียด พิบูลสงคราม ประพันธ์ 6 บทเพลง คือ ดอกไม้ของชาติ , ดวงจันทร์-วันเพ็ญ ,หญิงไทยใจงาม ,ยอดชายใจหาญ ,ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ,บูชานักรบ


กรม ศิลปากรได้นำท่ารำจาก ท่าแม่บทของนาฏศิลป์ไทย มากำหนดเป็นท่ารำของแต่ ละบท เพื่อให้เป็นต้นฉบับ จึงเรียกว่า รำวงมาตรฐานแม้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว รำวงมาตรฐานก็ยังคงไม่รับความนิยม ต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้มีผู้นำเอาไปสลับกับการเต้นลีลาศ ซึ่งชาวต่างชาติก็นิยมนำรำวงมาตรฐานไปเล่นกันอย่างแพร่หลายจนเป็นศิลปะที่ นิยมกันไปนานาประเทศ มีนักประพันธ์ชาวอเมริกันบางท่านที่ชอบ


รำวง มาตรฐานจึงนำไปเขียนกล่าวขวัญไว้ในหนังสือ Theatre In The East โดยเขาเป็นผู้แต่งแต่เรียก รำวงเพี้ยนไปเป็น รำบวง”  สำหรับผู้ประดิษฐ์ท่ารำวงมาตรฐานคือ หม่วมต่วน (ศุภลักษณ์  ภัทรนาวิก) นางมัลลี คงประภัศร์ และคุณครูละมุล ยมะคุปต์

องค์ประกอบการแสดง

ผู้แสดง

        รำวงมาตรฐานผู้ร่ายรำเป็นชาย หญิง รำคู่กันไม่จำกัดจำนวน

วิธีแสดง

           เป็นการรำวงในงานรื่นเริงต่าง ๆ โดยการร่ายรำตามท่ารำที่กำหนดไว้ 10 เพลง 14 ท่า มีการเคลื่อนไหวให้มือและเท้าสัมพันธ์กับจังหวะและบทร้องของแต่ละเพลง โดยเดินเป็นวงกลม อย่างไรก็ดี ท่ารำเหล่านี้เพียงแต่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานเท่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงท่าไปได้ สุดแล้วแต่จะเห็นว่าสวยงาม เพียงแต่รักจังหวะมือและเท้าให้เข้ากับเพลง


สถานที่แสดง

           ไม่จำกัดขอบเขต เนื่องจากให้รำได้ในโอกาสรื่นเริงต่าง ๆ จึงรำได้โดยทั่วไป

        เครื่องดนตรี

                    ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม  มีระนาด  ฆ้องวง  ปีใน ตะโพน  กลองทัด  ฉิ่ง  ฉาบ กรับและโทน

เครื่องแต่งกาย

           รำวงมาตรฐานเป็นศิลปะที่ต้องศึกษาและควรรำให้เป็น สำหรับการแต่งกายนั้นผู้แสดงรำวงมาตรฐานสามารถแยกได้

4 แบบ(ตามกรมศิลปากร) ดังนี้

ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร

การแต่งกายแบบชาวบ้าน

  • แบบที่ ๑ แบบชาวบ้าน

ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอพวงมาลัย เอวคาดผ้าห้อยชายด้านหน้า

หญิง นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบอัดจีบ ปล่อยผม ประดับดอกไม้ที่ผมด้านซ้าย คาดเข็มขัด ใส่เครื่องประดับ

  • แบบที่ ๒ แบบรัชกาลที่ ๕

ชาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตน ใส่ถุงเท้า ร้องเท้า

หญิง นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้ สไบพาดบ่าผูกเป็นโบว์ ทิ้งชายไว้ข้างลำตัวด้านซ้าย ใส่เครื่องประดับมุก

  • แบบที่ ๓ แบบสากลนิยม

ชาย นุ่งกางเกง สวมสูท ผูกไท้

หญิง นุ่งกระโปรงป้ายข้าง ยาวกรอมเท้า ใส่เสื้อคอกลม แขนกระบอก

  • แบบที่ ๔ แบบราตรีสโมสร

ชาย  นุ่งกางเกง สวมเสื้อพระราชทาน ผ้าคาดเอวห้อยชายด้านหน้า

หญิง  นุ่งกระโปรงยาวจีบหน้านาง ใส่เสื้อจับเดรป ชายผ้าห้อยจากบ่าลงไปทางด้านหลัง เปิดไหล่ขวา ศีรษะทำผมเกล้าเป็นมวยสูงใส่เกี้ยวและเครื่องประดับ

การแต่งกายแบบรำวงมาตรฐาน (จากกรมศิลปากร)

ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร

เพลงและท่ารำที่ใช้ในการรำวงมาตรฐาน

ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
 
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร

ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร
ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร

ผู้ประดิษฐ์ท่ารําวงมาตรฐาน คือใคร

ที่มา… http://www.skoolbuz.com/library/content/245

        http://www.finearts.go.th/node/342 (กรมศิลปากร)

ผู้คิดท่ารําวงมาตรฐานคือใคร

จากการสัมภาษณ์นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ สาชาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ อธิบายว่า “ท่ารำเพลงรำวงมาตรฐานประดิษฐ์ท่ารำโดย นางลมุล ยมะคุปต์ นางมัลลี คงประภัศร์ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป ส่วนผู้คิดประดิษฐ์จังหวะเท้าของเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ...

ใครเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

ผลงานของ ลมุล ยมะคุปต์ ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งครู ครูพิเศษ และตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ประจำวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากรนั้น ท่านได้ถ่ายทอดท่ารำสำคัญ และในขณะเดียวกัน ได้ประดิษฐ์คิดค้นท่ารำที่งดงามยิ่งไว้มากมายเกินกว่าที่จะนำมากล่าวได้ครบถ้วน หากจะนำมาเฉพาะเรื่องสำคัญและเป็นสารัตถประโยชน์ ดังนี้ ประเภท “รำ

รัชกาลใด เกิดรำวงมาตรฐานขึ้น

Q. รำวงมาตรฐาน เกิดขึ้นในสมัยใด รัชกาลที่5.

ผู้ที่ประดิษฐ์ท่ารำระบำมิตรไมตรีเกาหลี

การทำงาน รับราชการที่กรมศิลปากรเป็นผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ผู้อำนวยการฝึกซ้อมการแสดงนาฏศิลป์ไทย สอน และเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย ระบำมิตรสัมพันธ์มั่นใจ ไทย-เกาหลี ประดิษฐ์ท่ารำ โดยท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี