ใครคือผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมรดก

ภาษีการรับมรดกช่วยสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยการลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ช่วยกระจายภาระภาษี หารายได้เข้ารัฐ และช่วยให้การใช้ทรัพยากรของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และโดยหลักการจะไม่กระทบต่อคนยากจน และคนที่มีฐานะปานกลาง

2. ภาษีกองมรดก กับ ภาษีการรับมรดก แตกต่างกันอย่างไร ?

“ภาษีกองมรดก” เป็นภาษีที่จัดเก็บจากกองมรดก ก่อนการแบ่งกองมรดกให้แก่ทายาท แต่ “ภาษีการรับมรดก” เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดก หลังการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทตามจำนวนทรัพย์มรดกที่แต่ละคนได้รับ

3. ภาษีการรับมรดกเก็บจากใคร ?

ผู้ได้รับมรดก ที่เป็นบุคคลสัญชาติไทย ไม่ว่าเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล คือทั้งตัวคนและบริษัท ห้างที่เป็นไทย หรือหากมิใช่สัญชาติไทยแต่ได้รับมรดกเป็นทรัพย์สินหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย จะถูกจัดว่าเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี

4. ภาษีการรับมรดกจัดเก็บในอัตราใด ?

ความรับผิดชอบในการเสียภาษีการรับมรดกเกิดขึ้นเมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีแต่ละราย (เป็นลูก)ได้รับมรดกจากเจ้ามรดก (เช่น คุณพ่อเสียชีวิต) ไม่ว่าในคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันเกิน 100 ล้านบาท ให้เสียภาษีในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทนั้น โดยจะเสียภาษีในอัตรา ดังนี้

  • ร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี สำหรับกรณีที่ผู้รับมรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก (ผู้สืบสันดานนี้ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม)
  • ร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี สำหรับกรณีอื่นๆ เช่น ผู้รับพินัยกรรม เป็นต้น
  • ร้อยละ 0 หรือไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก สำหรับคู่สมรส หรือกรณีที่ยกให้เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา กิจการสาธารณประโยชน์ หรือหน่วยงานรัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศที่ทำเรื่องเหล่านี้ (ได้รับยกเว้น)

5. ทรัพย์มรดกประเภทใด ที่จะต้องเสียภาษีการรับมรดก ?

มรดกที่ต้องเสียภาษี มีทรัพย์สินทั้งหมด 5 ประเภท คือ

  • อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย
  • หลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ เช่น หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ
  • เงินฝาก หรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
  • ยานพาหนะ ที่มีหลักฐานทางทะเบียน ได้แก่ รถ เรือ มอเตอร์ไซค์
  • ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นตามกฎหมายในอนาคต (ถ้ามี)

6. ราคาของทรัพย์มรดกจะใช้ราคาใด ?

การคำนวณมูลค่าของทรัพย์มรดก เวลาจะพิจารณาว่าถึง 100 ล้านบาทหรือไม่

  •  อสังหาริมทรัพย์ ใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน
  •  หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ให้ใช้ราคาปิด ณ สิ้นวัน ในวันที่ได้รับมรดก
  •  ทรัพย์สินอื่นให้เป็นไปตามกฎกระทรวงจะประกาศกำหนด
  • ถ้าต้องคำนวณเป็นเงินตราต่างประเทศ จะเป็นไปตามที่กรมสรรพากร ประกาศกำหนด

7. ผู้ที่ได้รับมรดกจะต้องเสียภาษีการรับมรดกเมื่อใด

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกต้องยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันได้รับมรดก ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ เจ้าพนักงานจะดำเนินการประเมินภาษี เพื่อดูว่าจะต้องเสียเท่าไหร่ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แต่หากมีเหตุจำเป็นและสมควร อาจจะเพิ่มเวลาได้ แต่ไม่เกิน 3 ปี ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกมีสิทธิ์ขอผ่อนชำระภาษีการรับมรดกได้เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี

8. จะเริ่มมีการจัดเก็บภาษีการรับมรดกเมื่อใด ?

เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 (โดยทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา)

9. จะเกิดอะไรขึ้นหากเสียภาษีการรับมรดกไม่ครบถ้วน หรือไม่ยื่นแบบเสียภาษีการรับมรดก ?

  • เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษี (1-3 ปี กรณียื่นแบบและ 10 ปี กรณีไม่ยื่นแบบ) และเรียกเก็บภาษีให้ครบถ้วน พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
  • หากไม่เสียภาษีตามกำหนด อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์มรดกโดยไม่ต้องขอศาล

10. การหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดกจะมีโทษหรือไม่ อย่างไร ?

การหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดก (เช่น จงใจยื่นข้อความเท็จ ใช้อุบายหลีกเลี่ยงภาษี) ถือเป็นความผิดอาญา จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวรวมถึงผู้แนะนำหรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นกระทำการเช่นว่านั้นด้วย

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับคำว่าภาษีมรดกกันดีกว่า บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่าภาษีมรดกคืออะไร และทำไมเราจึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มาดูกัน

อย่างที่ทราบกันว่าก่อนหน้ามีข้อถกเถียงกันเรื่องจัดเก็บภาษีมรดก จนหาข้อสรุปไม่ได้ และเกิดเสียงแตกกันไปมา มีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในสังคม จึงได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บมรดกภาษีขึ้น เพราะภาษีการรับมรดกเป็นอีกหนึ่งรายได้ที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เช่น คนที่มีฐานะยากจน เป็นต้น เป็นการช่วยกระจายภาระภาษี หารายได้เข้ารัฐ และช่วยให้การใช้ทรัพยากรของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลประกาศใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นมา ซึ่ง ภาษีมรดก เป็นภาษีที่เก็บจากผู้รับมรดกโดยตรง ซึ่งผู้รับมรดกในที่นี้คือ ทายาท ไม่ว่าจะเป็นทายาทตามพินัยกรรม หรือทายาทโดยธรรม ก็โดนหมดนะ (ลืมบอกไปว่า! ผู้ได้รับมรดก ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยด้วยนะ และแม้จะไม่ใช่บุคคลที่มีสัญชาติไทย แต่หากทรัพย์สินนั้นอยู่ในประเทศไทยก็ต้องเสียภาษี) ในเมื่อเราเป็นผู้เสียภาษีส่วนนี้ แล้วต้องจ่ายในอัตราเท่าไหร่กันล่ะ ลองมาคำนวนคร่าวๆ เลยคือ ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีทรัพย์สินที่เป็นมรดกรวมกันเกิน 100 ล้านบาท ให้เสียภาษีในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทนั้น โดยจะเสียภาษีในอัตรา ดังนี้

1. สำหรับผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน จะต้องเสียภาษีร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดก
2. สำหรับกรณีอื่นๆ เช่น ผู้รับพินัยกรรม จะต้องเสียภาษีร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดก

จะมีกรณียกเว้นสำหรับคู่สมรส หรือกรณีที่ยกให้เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา กิจการสาธารณประโยชน์ หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศที่ทำเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ไม่ต้องจ่ายภาษีดังกล่าว

ที่นี้เรามาดูกันว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้าง ที่เราได้รับมาแล้วต้องเสียภาษีการรับมรดก

1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย
2. หลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ เช่น หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ
3. เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
4. ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน ได้แก่ รถ เรือ มอเตอร์ไซค์
5. (ถ้ามี) ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นตามกฎหมายในอนาคต

ระยะเวลาที่ผู้ได้รับมรดกต้องไปชำระภาษีมรดกนี้คือ ภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันได้รับมรดกจากสำนักงานสรรพากรพื้นที่ โดยต้องทำเรื่องให้เสร็จภายใน 1 ปี หรือถ้ามีเรื่องให้ยืดเยื้อหรือมีเหตุไม่คาดคิด สามารถทำเรื่องต่อรองเพิ่มเวลาได้ไม่เกิน 3 ปี หากพบว่ามีการหลีกเลี่ยงไม่ไปจ่ายภาษีตามที่กำหนดไว้ จะถือว่าผิดกฏหมายมรดก เป็นความผิดอาญามีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และอธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึด อายัด หรือนำไปขายทอดตลาดทรัพย์มรดกโดยไม่ต้องขอศาลได้อีกด้วย โทษไม่เบาเลยใช่ไหมล่ะ

อันที่จริงภาษีการรับมรดกไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่สำหรับประเทศไทยซักเท่าไหร่ อีกทั้งหลายๆ ประเทศในโลกก็มีการบังคับใช้มาก่อนเราอีก ซึ่งประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีมรดกในอัตราที่สูงสุดคือ สวิสเซอร์แลนด์ เก็บสูงถึงร้อยละ 55 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น ร้อยละ 50 ของเราอาจจะดูเด็กไปเลยเมื่อไปเทียบกับประเทศเหล่านี้ สำหรับบ้านไหนที่มีมรดกเยอะหน่อย แนะนำให้เริ่มวางแผนการแบ่งมรดกจัดการสัดส่วนของพินัยกรรมทางทรัพย์สินให้ดีและละเอียดรอบคอบตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและครอบครัวในภายหลัง จะได้ไม่ลำบากหรือเกิดข้อพิพาทกันเองของทายาทในบ้าน เมื่อถึงคราวต้องเสียภาษีมรดกกันนะ